แก็ดเจ็ต (Gadget)  |   วันที่ : 19 พฤศจิกายน 2556

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

CISCO คาดการณ์ว่า แทรฟฟิกคลาวด์ทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนที่เติบโตเร็วที่สุดของแทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์ จะเพิ่มขึ้น 4.5 เท่า หรือเติบโตเฉลี่ย 35 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จาก 1.2 เซตตาไบต์ต่อปีในช่วงปี 2555 เป็น 5.3 เซตตาไบต์ภายในปี 2560 แทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์โดยรวมทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 3 เท่า จนแตะระดับ 7.7 เซตตาไบต์ต่อปี ภายในปี 2560

"ผู้คนทั่วโลกยังคงต้องการเข้าถึงเนื้อหาคอนเทนต์ของบุคคล ธุรกิจ และเนื้อหาด้านความบันเทิงทุกที่บนทุกอุปกรณ์ ทรานแซคชั่นแต่ละรายการในระบบเวอร์ช่วลไลซ์และคลาวด์จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างต่อเนื่องบนเครือข่าย" ดั๊ก เมอร์ริท รองประธานอาวุโสฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของซิสโก้ กล่าว "เนื่องจากแนวโน้มที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ เราจึงคาดการณ์ว่าปริมาณแทรฟฟิกคลาวด์ทั้งภายใน, ระหว่าง และภายนอกดาต้าเซ็นเตอร์ จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในช่วง 4 ปีข้างหน้า"

นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนของซิสโก้ กล่าวว่า “ในประเทศไทย การปรับใช้คลาวด์เป็นไปอย่างรวดเร็วและแพร่หลายมาก ประเทศไทยงคงเป็นหนึ่งในตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ขณะที่รัฐบาลและผู้ให้บริการ (Service Providers) ยังคงมีบทบาทในการผลักดันในการปรับใช้คลาวด์ และใช้เป็นกลยุทธ์ในการลงทุนเพื่อส่งเสริมประเทศไทยให้เป็น “ศูนย์กลางการให้บริการคลาวด์” (Cloud Service Hub) ของภูมิภาคในอีกสามปี เพื่อสร้างรายได้และสร้างโอกาสในการทำงาน

จากผลการสำรวจของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ และศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยว่าตลาดคลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทยปีนี้คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 2.22 – 2.33 พันล้านบาท และอัตราการเติบโตจะเพิ่มเป็น 22.1 % จาก 16.7% เทียบกับปีที่ผ่านมา จากผลการวิจัยจะเห็นได้ว่าองค์กรธุรกิจขยายการเติบโตด้วยการปรับใช้การบริการคลาวด์ (Cloud-based Optimized Service) และคลาวด์ก็กำลังเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและการดำเนินงานของธุรกิจในปัจจุบัน

ประเทศไทยมีการใช้บริการคลาวด์ (Cloud-based service) ในอัตราทีสูงและถูกนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทุกระดับ รวมถึงธุรกิจเอสเอ็มบี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างแทรฟฟิกคลาวด์ ด้วยแทรฟฟิกของคลาวด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว องค์กรธุรกิจมีความจำเป็นที่จะต้องมีแพลตฟอร์มที่จะรองรับแทรฟฟิกคลาวด์ และทรานสฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีไปสู่ “คลาวด์คอมพิวติ้ง” และ “การทำงานร่วมกันผ่านคลาวด์” (Cloud-based collaboration) อีกทั้งองค์กรธุรกิจควรที่จะพัฒนาระบบเพื่อรองรับการทำงานกับแพลตฟอร์มคลาวด์โดยเฉพาะ”

จากมุมมองระดับภูมิภาค รายงานดัชนีคลาวด์ทั่วโลกของซิสโก้ (Cisco Global Cloud Index) คาดการณ์ว่าจากนี้จนถึงปี 2560 ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาจะมีอัตราการเติบโตของแทรฟฟิกคลาวด์สูงสุดโดยเฉลี่ย 57 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ตามมาด้วยภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกโดยเฉลี่ย 43 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก โดยเฉลี่ย 36 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

  • รายงานดัชนีคลาวด์ทั่วโลกของซิสโก้ (ปี 2555-2560) มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินแนวโน้มและการเติบโตของแทรฟฟิกอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล (ไอพี) บนดาต้าเซ็นเตอร์และระบบคลาวด์ รายงานดังกล่าวนับเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับแทรฟฟิกเครือข่ายที่มีอยู่ โดยมอบข้อมูลเชิงลึกและแนวโน้มใหม่ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ ข้อมูลคาดการณ์ดังกล่าวมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เพราะ “เน็ตเวิร์ก” และ “ดาต้าเซ็นเตอร์” มีการทำงานที่เชื่อมโยงกันมากขึ้นเพื่อให้บริการด้านคลาวด์
  • รายงานดัชนีคลาวด์ทั่วโลกของซิสโก้ประกอบด้วยข้อมูลคาดการณ์เกี่ยวกับ “การเปลี่ยนผ่านเวิร์กโหลด” (Workload Transition) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเวิร์กโหลดกำลังเปลี่ยนย้ายจาก “ดาต้าเซ็นเตอร์ในรูปแบบเดิมๆ” ไปสู่ “เซิร์ฟเวอร์คลาวด์แบบเวอร์ช่วลไลซ์” (Virtualized Cloud Servers) เพิ่มมากขึ้น
  • นอกจากนี้ ข้อมูลคาดการณ์ดังกล่าวยังประกอบด้วย รายละเอียดความพร้อมทางด้านคลาวด์ของแต่ละภูมิภาค ซึ่งตรวจสอบความสามารถของเครือข่ายพื้นฐานและเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของแต่ละภูมิภาคทั่วโลก จากเกือบ 150 ประเทศ เพื่อรองรับแอพพลิเคชั่นและบริการคลาวด์คอมพิวติ้งสำหรับองค์กรธุรกิจและผู้ใช้ทั่วไป
  • ดัชนีคลาวด์ทั่วโลกของซิสโก้สร้างขึ้นจากการสร้างแบบจำลองและการวิเคราะห์แหล่งข้อมูลหลักและแหล่งข้อมูลรองที่หลากหลาย รวมถึงแทรฟฟิก 40 เทราไบต์ต่อเดือนที่สุ่มตัวอย่างจากดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลกในช่วงปีที่ผ่านมา รวมถึงการทดสอบเครือข่ายกว่า 90 ล้านครั้ง และรายงานวิจัยตลาดขององค์กรอื่นๆ 

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://thenetwork.cisco.com

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่