แก็ดเจ็ต (Gadget)  |   วันที่ : 8 กันยายน 2557

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

เมื่อเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปีพ.ศ. 2554 ทำให้ทั้งนักเรียนและอาจารย์ไม่สามารถเดินทางไปโรงเรียนได้ตามปกติ แต่พวกเขายังมีการเรียนการสอนแบบเสมือนจริงได้จากบัญชี Google ของแต่ละคนผ่านแฮงเอาท์และไดรฟ์เพื่อแบ่งปันเอกสารตำราเรียนกัน ประสบการณ์ในครั้งนั้นทำให้เห็นว่าเครื่องมือบนเทคโนโลยีคลาวด์สนับสนุนการเรียนได้ ต่อมาในพ.ศ. 2555 โรงเรียนมัธยมวัดนายโรงจึงได้นำ Google Apps เพื่อการศึกษามาใช้กับทุกคนทั้งโรงเรียน

โรงเรียนมัธยมวัดนายโรงเป็นตัวอย่างหนึ่งของนักเรียนและครูอาจารย์ทั่วประเทศกว่าหนึ่งล้านคนที่เปลี่ยนมาใช้ Google Apps เพื่อนการศึกษาในช่วงสองปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 เรามีการทำงานร่วมกับบุคลากรด้านการศึกษาไทยในทุกจังหวัดเพื่อปลดพันธนาการและเพิ่มศักยภาพของเว็บสำหรับการเรียน วันนี้มีสถาบันการศึกษามากกว่า 500 แห่งทั่วประเทศที่ใช้ Google Apps แล้ว และนี่เป็นเพียงแค่การเริ่มต้นของเรา

เทคโนโลยีให้โอกาสในการเข้าถึงความรู้และช่องทางการสื่อสารที่ไม่เคยมีมาก่อนแก่เรา แต่การให้แค่แอพส์และอุปกรณ์แก่ครูและนักเรียนก็ยังไม่พอ เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับการเรียนการสอนเราจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกต้องและยังต้องมีการสนับสนุนและฝึกอบรมรองรับอีกด้วย

เราทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศเพื่อให้พวกเขามั่นใจว่ามีโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกต้อง ถูกที่ถูกทางเพื่อสนับสนุนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบดิจิตอล ซึ่งรวมถึงการจัดให้มีกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการทางเทคนิคและการให้คำปรึกษา การฝึกอบรมครูอาจารย์เพื่อนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับจัดทำแนวทางร่วมกันกับกระทรวงฯ เพื่อสนับสนุนสถาบันการศึกษาในประเทศไทยให้มีความพร้อมกับระบบคลาวด์

นักเรียนของโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร

สองปีที่ผ่านมาเราสร้างแรงจูงใจ และภูมิใจที่ได้เห็นพลังของเทคโนโลยีในการเปลี่ยนผ่านการศึกษา นักเรียนและครูที่โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ จังหวัดนครราชสีมาเป็นตัวอย่างที่ดีของการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน “พูดหน้าชั้นกับชอล์คและกระดานดำ” ไปสู่การเรียนรู้ที่ทุกคนสามารถแสดงและรับความเห็นได้ทันทีด้วย Google เอกสาร ในขณะที่ครูที่โรงเรียนโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีเปลี่ยนรูปแบบเนื้อหาวิชาจากกระดาษไปสู่การสร้างสรรค์เว็บไซต์เป็นรายวิชาด้วยการใช้ Google ไซต์ที่ทำให้นักเรียนเข้าถึงสิ่งที่พวกเขาจำเป็นได้ง่ายๆ และสำหรับคุณครูเองก็แบ่งปันองค์ความรู้ให้กับคุณครูท่านอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน

การเปลี่ยนไปสู่เครื่องมือการเรียนรู้แบบคลาวด์ยังช่วยสถาบันการศึกษาไทยหลายๆ แห่งประหยัดงบประมาณและยังรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ตัวอย่างเช่นมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามสามารถประหยัดงบประมาณได้ถึงปีละ 3,200,000 บาทจากค่าดูแลเซิร์ฟเวอร์และการพิมพ์เอกสารต่างๆ หลังจากย้ายการทำงานจากระบบเซิร์ฟเวอร์มาเป็น Gmail และ Google ไดรฟ์ ในขณะที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้นำ Google Form มาใช้ซึ่งช่วยให้ได้รับการตอบรับจากนักศึกษาได้ในทันทีแทนที่จะต้องแจกกระดาษแบบสอบถามหลายร้อยแผ่นเพื่อให้นักศึกษากรอกข้อมูลส่งกลับมา

เรายินดีสนับสนุนนักเรียนไทยทั่วประเทศด้วยทักษะที่พวกเขาจำเป็นต้องใช้ในศตวรรษที่ 21 และภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านระบบการศึกษาไทยให้ไปได้กว้างไกลยิ่งขึ้น เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google เพื่อการศึกษาได้ที่ www.google.com/edu/

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่