หมวดอื่นๆ (Other) | วันที่ : 16 พฤษภาคม 2558
หากนึกถึงบริษัทเทคโนโลยีในประเทศสหรัฐอเมริกา สองบริษัทที่มีตำนานมาอย่างยาวนาน และมีชื่อเสียงเรียงนามไปทั่วโลก ก็คงหนีไม่พ้นบริษัท Apple และ Microsoft ซึ่งทั้งสองมีจุดเริ่มต้นการดำเนินธุรกิจคล้ายกัน โดยบริษัทผลไม้เติบโตมาจากธุรกิจเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนไมโครซอฟท์เดินทางมาด้วยระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์
และในปัจจุบันการทำธุรกิจของบริษัททั้งสอง ก็ถือได้ว่าไม่แตกต่างกันเท่าไรนัก โดยมีทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว (Personal Computer), สมาร์ทโฟน (Smartphone), อุปกรณ์เสริมทั้งหลาย ทว่าวิสัยทัศน์ หรือ Visions กลับกลายเป็นสิ่งที่สวนทางกัน ว่าแต่จะเป็นอย่างไรบ้าง มาดูกัน...?
ก่อนจะไปดูในเรื่องราวของวิสัยทัศน์ เรามารู้จักกับ CEO ของบริษัททั้งสองกันก่อนว่าเขาคือใคร เป็นใครมาจากไหน และมีหน้าตาเป็นอย่างไร
บริษัท "Apple" มีตำแหน่ง Chief Executive Officer หรือ CEO คนที่สองแล้ว โดยคนแรกอย่างที่เรารู้จักกันก็คือ Steven Paul Jobs และคนที่สองก็คือ Timothy Donald Cook ซึ่งเขา (ทิม) ได้เข้ามาเริ่มงานในบริษัทแอปเปิ้ลปีค.ศ. 1998 หรือพ.ศ. 2541 เป็นระยะเวลากว่า 17 ปีแล้วที่เขาได้ทำงานอยู่ในบริษัท
หนึ่งในไฮไลท์ของการทำงานของเขาคือ "การปฏิรูประบบการผลิตที่ไร้ประสิทธิภาพ" ซึ่งช่วงเวลานั้นแอปเปิ้ลมีผลประกอบการติดลบ ทำให้บริษัทเกิดวิกฤตด้วยการที่มีสินค้าคงคลังอยู่มาก ประกอบกับโรงงานมีมากกว่า จำนวนสินค้าที่ขายได้ จึงทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่สมดุลกัน
ดังนั้นทิมจึงตัดสินใจประกาศปิดโรงงาน รวมถึงโกดังทั่วโลก แล้วหันไปจ้างบริษัทในทวีปเอเชียให้ทำการผลิตแทน พร้อมทั้งดำเนินการจัดการสินค้าคงคลังให้ด้วยเช่นกัน และการตัดสินใจครั้งนั้น ทำให้บริษัทกลับมามีผลกำไรมากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
ส่วน Microsoft ณ ตอนนี้ก็ได้มีการผลัดเปลี่ยน CEO เจนเนอเรชั่นที่ 3 แล้ว โดยคนแรกก็คือ Bill Gates ลำดับต่อมาคือ Steve Ballmer และผู้บริหารคนปัจจุบันมีนามว่า "Satya Nadella" โดยเขานั้นเริ่มทำงานกับไมโครซอฟท์ตั้งแต่เรียนปริญญาโทปีค.ศ. 1992 หรือพ.ศ. 2535 เป็นระยะเวลากว่า 23 ปีเลยทีเดียว
ซึ่งนาเดลลาก่อนจะมาเป็น CEO เขาได้เริ่มทำงานระดับเล็ก จนเติบโตมาเป็นผู้บริหาร โดยได้คุมงานส่วนสำคัญในบริษัทมากมาย ทำให้เขานั้นมีความรู้ความเข้าใจในองค์กร พร้อมทั้งสามารถมองโลกอนาคตออกว่า "วันข้างหน้าไมโครซอฟท์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกเทคโนโลยีอย่างไร"
หลังจากรู้จักกับผู้บริหารทั้ง 2 บริษัทแล้ว ลำดับไปเรามาดูในส่วนของวิสัยทัศน์กันบ้าง ว่าทำไมเส้นทางเดินของทั้งสองถึงแตกต่างกัน และเป้าหมายของ Apple กับ Microsoft จะเป็นอย่างไร...?
1. บริการของแต่ละบริษัท เช่นแอปฯ, อุปกรณ์เสริม สามารถใช้งานได้ทุกแพลตฟอร์ม เสมือนเป็นส่วนเติมเต็มกันและกัน กล่าวคือ ถึงแม้แต่ละฝ่ายมีระบบปฏิบัติการเป็นของตัวเอง ทว่าก็ไม่ได้ปิดโอกาสให้มีแค่การบริการของตนเองเท่านั้น แต่จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงการใช้งานผลิตภัณฑ์ของตนเองให้ได้มากที่สุด
แต่สำหรับวิสัยทัศน์ดังกล่าวยังคงต้องติดตามกันต่อไปว่าทาง Apple จะยอมให้อุปกรณ์ของตนเอง ใช้ในระบบของ Microsoft ได้หรือไม่ ดังเช่นที่ไมโครซอฟท์เลือกให้อุปกรณ์ของตนเองใช้งานกับ iOS ได้
และในส่วนของแอปฯ ก็เช่นกันที่ทางไมโครซอทฟ์มองว่าสิ่งสำคัญของผลิตภัณฑ์ หรือการบริการ คือสามารถเข้าถึงการใช้งานรูปแบบต่างๆ จากผู้ใช้งานได้ทุกแพลตฟอร์ม เช่น แอปฯ Microsoft Office
2. Apple ยังคงเดินพัฒนาในสิ่งที่ตนเองทำสำเร็จมาแล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ในขณะที่ Microsoft เลือกทำสิ่งที่แตกต่าง
อย่างที่เราได้ทราบกันบริษัท Apple ยังคงเดินหน้าผลิตสินค้าต่างๆ ในรูปแบบเดิม แต่เลือกทำให้มันมีประสิทธิภาพ รวมถึงประสิทธิผลมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง อีกทั้งยังมีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาให้ได้ยลโฉมกันอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังต้องการให้ซอฟ์ตแวร์ และการบริการ อาทิ iPhone, iPad หรือ Mac เข้ากับได้เป็นอย่างดีกับ iTunes หรือผลิตภัณฑ์ต่างในอนาคตที่จะเกิดขึ้น เสมือนว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน
ในขณะที่ Microsoft มีเป้าหมายการดำเนินธุรกิจด้วยความแตกต่าง ซึ่งพื้นฐานของบริษัทไมโครซอทฟ์ คือ ต้องการให้ผู้ใช้งานสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ หรือบริการของตนเองได้มากที่สุด ดังเช่นปณิธานการก่อตั้งบริษัทที่ว่า "จะทำให้โต๊ะทำงานทุกตัว และในทุกบ้านต้องมีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งาน"
3. ระบบปฏิบัติการเหมือนจะไม่เป็นปัจจัยสำคัญของ Microsoft แต่สำหรับ Apple มันคือสิ่งสำคัญ
ในโลกของเทคโนโลยีสำหรับแพลตฟอร์ม ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก เพราะมันทำให้บริษัทที่เป็นเจ้าของสามารถจะดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการของตนเอง ดังนั้นถ้าหากสามารถทำให้ระบบปฏิบัติการครองส่วนแบ่งทางการตลาด ครองใจผู้ใช้งานด้วยประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของ OS ได้มาก บางทีการกำหนดทิศทางตลาดอาจไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ดังเช่นที่ Apple ได้เลือกการพัฒนา OS ของตนเองให้เป็นระบบปฏิบัติการปิด ผู้ที่จะใช้งานได้ต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการของแอปเปิ้ลเท่านั้น แต่กลับกลายเป็นทาง Microsoft ที่เลือกให้ระบบปฏิบัติการของตนเอง หรือ Windows Phone จะสามารถใช้งานได้ทุกแพลตฟอร์ม (One Platform for All The Devices)
เรียกได้ว่าทั้งสองบริษัทนอกจากจะมีประวัติมาอย่างยาวนานแล้ว การดำเนินธุรกิจของทั้งคู่ก็ยังมีความคล้ายคลึงกัน สุดท้ายอนาคตบริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริการะหว่าง Apple กับ Microsoft จะร่วมมือกันได้หรือไม่ พร้อมทั้งจะสามารถสร้างเส้นทางการเดินทางในโลกของเทคโนโลยีได้ขนาดไหน เราคงต้องติดตามกันต่อไป
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
วันที่ : 16 พฤษภาคม 2558
ทำความรู้จัก OPPO A3 หน้าจอ 90Hz ดีไซน์สวย ทนน้ำ IP54 มีมาตรฐานทางทหาร ได้ RAM มากขึ้น จ่ายราคาถูกลง
สรุปจุดเด่นและสเปค TECNO POVA 6 NEO แบตฯ 7000mAh หน้าจอ 120Hz ลำโพง Dolby ATMOS ฟรีลำโพงบูลทูธ!!
POCO M7 Pro 5G ชิปเซ็ต Dimensity 7025 Ultra กล้อง Sony LYT-600 ชัด 50MP
เปิดรายชื่อรุ่นสมาร์ทโฟน Xiaomi, POCO และ Redmi ที่จะได้รับอัปเดต HyperOS 2
ชี้เป้า! สมาร์ทโฟน HONOR ลดราคาสูงสุด 5,000 บาท ฟรี HONORxENGFA Gift Box Limited Edition
สรุปจุดเด่นและสเปค realme 14X 5G หน้าจอ 120Hz กันน้ำ IP69 แบตฯ 6000mAh ชาร์จเร็ว 45W อัปเดต OS นา...
Redmi Watch 5 สมาร์ทวอทช์รุ่นแรกรันบน HyperOS 2 หน้าจอสี่เหลี่ยม AMOLED กว้าง 2.07 นิ้ว
Blackview Active 10 Pro มาแล้ว! แท็บเล็ต 5G แบตฯ อึด กล้องเทพ ลดแรงแค่ 7 วันเท่านั้น!
สรุปจุดเด่นและสเปค TECNO POVA 6 NEO แบตฯ 7000mAh หน้าจอ 120Hz ลำโพง Dolby ATMOS ฟรีลำโพงบูลทูธ!!
Redmi Buds 6 Pro อัปเกรดการตัดเสียงรบกวน 55 เดซิเบล เทคโนโลยีเสียงมาครบ
ทำความรู้จัก OPPO A3 หน้าจอ 90Hz ดีไซน์สวย ทนน้ำ IP54 มีมาตรฐานทางทหาร ได้ RAM มากขึ้น จ่ายราคาถูกลง
เตรียมช้อปปิ้ง! Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีในปี 2568 สูงสุด 50,000 บาท23 ชั่วโมงที่แล้ว