หูฟัง Earbuds (Earbuds)  |   วันที่ : 26 พฤษภาคม 2560

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดทำการศึกษาเพื่อวัดระดับความถูกต้องของข้อมูลที่บันทึกได้จากอุปกรณ์สวมใส่ในท้องตลาดซึ่งสามารถนับก้าวเดิน วัดอัตราการเต้นหัวใจ วัดระดับพลังงานแคลอรี่ที่ถูกเผาผลาญ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคซื้ออุปกรณ์มาไว้ในครอบครอง

การวิจัยของสแตนฟอร์ดมีการนำอุปกรณ์สวมใส่ 7 รุ่นจากยี่ห้อที่แตกต่างกัน ได้แก่ Apple Watch, Basis Peak, Fitbit Surge, Microsoft Band, Mio Alpha 2, PulseOn และ Samsung Galaxy Gear S2 โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมทดสอบจำนวน 60 ราย แต่ละรายมีอายุ สีผิวและดัชนีมวลกายแตกต่างกัน หลักการของการศึกษาครั้งนี้คือจะมีการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ควบคู่ไปกับอุปกรณ์สวมใส่ยี่ห้อข้างต้นเพื่อวัดระดับอัตราการเต้นหัวใจ การใช้พลังงานแคลอรี่ ความเข้มข้นของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจตามความเป็นจริง โดยอาสาสมัครทุกคนจะเข้าสู่การทดสอบทั้งในแบบลู่วิ่งและจักรยานฟิตเนส

ภาพรวมของการทดลอง อุปกรณ์สวมใส่มีความถูกต้องในส่วนของการวัดอัตราการเต้นหัวใจมีความคลาดเคลื่อนเพียง 5% เท่านั้นแต่เมื่อกล่าวถึงการวัดปริมาณแคลอรี่ที่ถูกเผาผลาญนั้นมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะวัดปริมาณแคลอรี่ที่ถูกเผาผลาญที่แท้จริงได้จากข้อมือเพียงจุดเดียวแม้จะการป้อนข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับมวลกายและความสูงก็ตาม

อุปกรณ์สวมใส่ที่อ่านค่าปริมาณแคลอรี่ที่ถูกเผาผลาญไปได้แม่นยำใกล้เคียงของจริงที่สุดมีความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 27% ขณะที่อุปกรณ์ที่อ่านค่าผิดพลาดไปจากของจริงที่สุดมีความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 97% โดย Apple Watch และ FitBit Surge เป็นอุปกรณ์ที่มีความแม่นยำที่สุดในส่วนนี้ขณะที่ PulseOn ทำได้แย่ที่สุด

ผลการศึกษานี้สรุปได้ว่าผู้บริโภคที่ใช้งานอุปกรณ์สวมใส่สามารถเชื่อถือค่าตัวเลขที่ออกมาสำหรับการวัดอัตราการเต้นหัวใจได้ แต่ในส่วนของการวัดปริมาณแคลอรี่นั้นผู้บริโภคไม่ควรเชื่อถือค่าที่วัดได้จากอุปกรณ์เหล่านี้เนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนสูง

ที่มา : GSMArena

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่