สมาร์ทโฟน (Smartphone)  |   วันที่ : 23 กันยายน 2560

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

มาทำตลาดในไทยอย่างเป็นทางการแล้ว พร้อมความตั้งใจเต็มที่ที่จะทำให้สมาร์ทโฟนของตนเองได้รับความนิยมและให้เป็นี่ประจักษ์ในอุตสาหกรรมดังกล่าว สำหรับแบรนด์ Xiaomi ผู้ที่มีฉายาจอมเขย่าบัลลังก์ราคากับยุทธศาตร์เน้นสเปกเน้นความคุ้มค่าให้ผู้ใช้งานแต่เราไม่เน้นราคาและยังคงเป็นเช่นนั้นมาโดยตลอด ทั้งนี้เมื่อดำเนินการตลาดอย่างเต็มตัวช่องทางจำหน่ายที่มากขึ้น อาทิ Lazada, IT City จึงทำให้น่าจับตามองว่าจะสามารถปั่นป่วนราคาสมาร์ทโฟนในบ้านเราได้หรือไม่ เหมือนกับเคยครองแชมป์ผู้ที่มียอดจัดจำหน่ายในประเทศสูงสุดมาแล้วครั้งหนึ่ง

 

Xiaomi จุดเริ่มต้นของคำว่าคุ้มค่า

ย้อนกลับไปเมื่อสามสี่ปีที่แล้ว ต้องบอกว่ายุคของสมาร์ทโฟนขณะนั้นก็เสมือนเป็นเค้กก้อนใหญ่ของใครที่กำลังตักตวงและได้ไม่คุ้มเสียกับราคาที่ต้องจ่ายไป และเชื่อว่าหลายคนเวลาเห็นเปิดตัวรุ่นใหม่มาต่างก็เอ่ยเป็นเสียงเดียวกันว่าทำไมต้องกั๊กสเปกด้วย ทว่าความรู้สึกเหล่านี้จะหมดไปเมื่อมีสองผู้เล่นหน้าใหม่ Oneplus แบรนด์ที่ได้รับฉายาว่า Flagship Killer กับ Xiaomi แบรนด์ที่เน้นคุ้มค่าแต่ว่าจับจองได้ยาก ทำไมถึงจับจองยากเพราะต้องได้รับการเชิญหรือไม่ก็ต้องลงทะเบียนจึงจะสามารถซื้อได้นั่นเอง เนื่องจากไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการ เพื่อป้องกันสาเหตุดังกล่าวจึงจำกัดการซื้อสมาร์ทโฟน รวมถึงอีกหนึ่งแบรนด์ผู้ที่ริเริ่มการตัดช่องหูฟัง 3.5 มม. ออกรวมถึงอัดสเปกแบบจัดหนัก แต่ราคาขายไม่กี่บาทอย่าง LeEco 

 

เรียกได้ว่า 3 แบรนด์ข้างต้น OnePlus, Xiaomi, LeEco สามารถเขย่าตลาดสมาร์ทโฟนได้มากเลยทีเดียวซึ่งส่งผลต่อหลายแบรนด์ไม่มากก็น้อยในอุตสาหกรรมแอนดรอยด์โฟน ข้อพิสูจน์คือช่วงสองปีหรือสามปีที่แล้ว น้อยมากที่เราจะได้เห็นรุ่นราคาตํ่ากว่าหมื่นแต่ในดีไซน์ Unibody หรือรุ่นที่มี RAM 3GB พื้นที่เก็บข้อมูลภายใน 16GB แต่แบรนด์ทั้งหมดข้างต้นทำให้เห็นได้ จนแบรนด์ที่คุ้นหูเริ่มมองตัวเองและปรับตัวในที่สุด ท้ายที่สุดก็เปลี่ยนเทรนด์สู่ยุคมาตรฐานใหม่ในและตามมาด้วยการซอยรุ่นมากขึ้น เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการขายสินค้า

สำหรับ Xiaomi เมื่อมีสมาร์ทโฟนร่นใดเปิดตัวจำได้ว่า มีแต่เหล่าสาวกชอบพูดประโยคเดิมๆ ว่าเมื่อไหร่จะเข้ามาวางจำหน่ายในไทยเสียที ปล่อยให้รอนานเหลือเกินจนต้องเลือกวิธีหิ้วเครื่องนอกมาเลย แน่นอนว่าความคุ้มค่าของราคากับสเปกค่อนข้างสวนทางกันเพราะไม่ต้องจ่ายแพงแต่ก็สามารถได้รับสเปกดีๆ มาใช้งานได้ และด้วยกลยุทธ์ดังกล่าวนี้จึงทำให้แบรนด์ได้รับความนิยมในเวลาอันรวดเร็ว

คำถามต่อไปคือเมื่อเสี่ยวมี่เยือนประเทศไทยแล้วจะทำให้ราคาสมาร์ทโฟนในบ้านเราปั่นป่วนหรือไม่ เหมือนดังที่เคยส่งผลกระทบในวงกว้าง

ต้องท้าวความก่อนเริ่มแรกทางแบรนด์ได้จับมือกับ i-mobile ส่งสมาร์ทโฟนสามรุ่นแรกลงสนามในช่วงเดือนเมษายน ได้แก่รุ่น Mi Note 2, Mi 5s Plus, Mi 5s (อ่านข่าวย้อนหลัง) ถัดมาอีกหนึ่งเดือนงาน TME 2017 ก็จัดเต็มอีก 2 รุ่นอาทิ Redmi 4A และ Redmi 4X (อ่านข่าวย้อนหลัง) รวมทั้งหมด 5 รุ่น ซึ่งราคาวางจำหน่ายก็ไม่ได้แพงเลยเหมาะสมกับสเปกมาก ทว่าทุกอย่างเมื่อเวลาผ่านไปกลับกลายเป็นเงียบไม่มีการโปรโมทเท่าใดนัก ทำให้สมาร์ทโฟนของแบรนด์ดังกล่าวยังไม่สามารถสร้างการรู้จักให้ผู้อื่นได้ สุดท้ายจึงมีการเปลี่ยนพันธมิตรดำเนินธุรกิจเป็นบริษัท "วีเอสที อีซีเอส" ตัวแทนด้านการจัดจำหน่าย

 

ทั้งนี้บริษัทวีเอสที อีซีเอสและ Xiaomi ตั้งเป้าสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ตลาดสมาร์ทโฟนไทยผ่านการจัดจำหน่าย ส่งเสริมการตลาด และก็สนับสนุนด้านบริการหลังการขายให้แก่ผลิตภัณฑ์ของเสี่ยวมี่ในประเทศไทย ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ของเสี่ยวมี่จะมีจัดจำหน่ายผ่านทั้งช่องทางออฟไลน์ ณ ร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ และช่องทางออนไลน์ร่วมมือกับลาซาด้า ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซชั้นนำในประเทศไทย

พร้อมกันยังได้เผยโฉมสมาร์ทโฟนสองรุ่น โดยหนึ่งในนั้นสามารถสร้างเซอร์ไพร์สได้พอสมควรนั่นคือ Mi 6 ส่วนอีกหนึ่งรุ่น Redmi Note 4 แน่นอนว่าราคายังคงตกตะลึงได้อีกเพราะถ้ารุ่นท็อปก็คาดการณ์ได้ว่าสองหมื่นบวก ทว่ากลับไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจาก...

 

จะเห็นได้ว่า Xiaomi ยังคงดำเนินกลยุทธ์เช่นเดิมจึงทำให้แบรนด์นี้น่าจับตามองโดยปริยาย และหลังจากเปิดตัวในไทยแล้ว ในเวลาต่อเมื่อเสี่ยวมี่ที่ประเทศอินเดียเผยโฉม Xiaomi Mi A1 แอนดรอยด์โฟนในโครงการ Android One ที่ชูจุดเด่นระบบปฏิบัติการกล้องคู่ เพียวแอนดรอยด์ หน้าจอ 5.5 นิ้ว FullHD ครอบทับกระจก Gorilla Glass 3 และชิปเซ็ตรุ่นประหยัดพลังงาน Snapdragon 625, RAM 4GB พิื้นที่เก็บข้อมูลภายใน 64GB แบตฯ 3,090mAh ที่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการว่าจะนำเข้ามาขายในบ้านเราด้วย ส่วนเวลาวงจำหน่ายจะรีบมาแจ้งให้ทราบ

 

ด้วยข้อมูลข้างต้นที่เล่ามาจึงอนุมานได้เลยว่าเสี่ยวมี่ดำเนินธุรกิจในไทยอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ทีนี้มาดูเรื่องราคากันบ้าง ส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่าสามารถสร้างผลกระทบได้ แต่อาจต้องใช้เวลา ส่วนรุ่นสมาร์ทโฟนที่จะเห็นผลลัพธ์ชัดเจนคือช่วง Low-Entry & Mid-Range เนื่องจากตลาดส่วนใหญ่มีสองตัวเลือกนี้ค่อนข้างมาก โดยตัวแบรนด์เองก็มีสมาร์ทโฟนครบทุกช่วง Segment ด้วย

ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่าในปัจจุบันผู้ใช้สมาร์ทโฟนคงสังเกตได้ว่าแทบจะหมดยุค RAM 2GB กับพื้นที่เก็บข้อมูลภายใน 16GB แล้ว ส่วนเลือกรุ่นซื้ออะไรก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ทว่าทุกรุ่นของแบรนด์นี้ที่เปิดตัวในปีนี้จะ RAM 3GB + ROM 32GB เป็นอย่างน้อยแล้ว พร้อมวางจำหน่ายในราคาไม่แพงเลย เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นเรียกได้ว่ากินขาด เพราะสเปกอื่นๆ ก็ไม่ด้อยกว่าด้วย ดังนั้นจึงมีผลกระทบแน่นอนในช่วงตลาดดังกล่าว และถ้าเสี่ยวมี่ตั้งราคารุ่นนี้ขายแค่หมื่นต้นๆ จะเป็นเช่นใด

 

ขณะที่รุ่น Hi-End อย่างที่เห็น Mi 6 สเปกเน้นๆ แต่ราคาหมื่นกลางๆ เท่านั้นดังนั้นเสี่ยวมี่จึงรู้ว่าตนเองยังไม่สามารถแข่งขันในส่วนนี้ได้อย่างแข็งแกร่ง เพราะเพิ่งเข้ามาทำตลาดและยังเป็นหน้าใหม่หากตั้งราคาสูงอาจจบไม่สวยสำหรับยอดขาย และตลาดสมาร์ทโฟนในไทยส่วนใหญ่ไม่ใช่รุ่น Hi-End พร้อมตัวเลือกที่มีอยู่มาก ดังนั้นจึงขอแหวกแนวสวนกระแสให้สำหรับลูกค้าที่อยากจับจองสมาร์ทโฟนสเปกดีงามทว่าราคาไม่สูงนั่นเอง สุดท้ายคงต้องจับตามองต่อไปว่ารุ่นนี้จะเข้ามาวางจำหน่ายหรือไม่ เพราะถ้ามาจริง เชื่อว่าเปรี้ยงปร้างแน่นอน

เสี่ยวมี่จะประสบความสำเร็จเหมือนแบรนด์จีนอื่นๆ ที่เข้ามาวางจำหน่ายในไทยจะต้องทลายกำแพงสูงไม่น้อยเลย

1. ภาพลักษณ์ : คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของสินค้าที่จะประสบความสำเร็จได้นั่นคือ ภาพลักษณ์ ซึ่งคงต้องจับตามองทางแบรนด์จะนำใครมาเป็นพรีเซ็นเตอร์และโฆษณาอย่างไรให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โจทย์ที่ยากที่สุดคือกลุ่มคนที่ไม่ได้ติดตามเทคโนโลยีที่จะเลือกซื้อสมาร์ทโฟนที่ตัดสินเพียงเพราะแบรนด์รวมถึงรู้จักอย่างกว้างขวาง และก็มีความจงรักภักดีสำหรับแบรนด์หลักๆ ไปแล้วจะสามารถตอบโจทย์พวกเขาเช่นใดเพื่อให้หันมามองทางเลือกใหม่

2. ความเชื่อมั่น : นอกจากภาพลักษณ์ที่ดีความเชื่อมั่นก็เป็นประเด็นที่สอดคล้องกันซึ่งสินค้าก็ส่วนหนึ่ง แต่การดำเนินธุรกิจในระยะยาวต่างหากที่ถือเป็นอีกหนึ่งตัวแปรต้องทำให้ลูกค้ารับรู้ 

3. ช่องทางจัดจำหน่าย : แม้ว่าเริ่มวางจำหน่ายให้เห็นมากขึ้น แต่ก็ยังไม่หลากหลายพอ ซึ่งทำให้สูญเสียโอกาสตรงนี้ไปพอสมควร ดังนั้นจึงควรรีบเร่งแผนขยายการนำสินค้าไปวางบนแผงขาย

4. บริการหลังการขาย : ตามที่ทราบกันว่าเพิ่งเข้ามาทำตลาดในไทย แต่ก็ต้องมีความพร้อมในการให้บริการลูกค้าอย่างทั่วถึงด้วย มิเช่นนั้นอาจทำให้ใครหลายคนมองข้ามไป

5. อุปกรณ์เสริม : ไม่ว่าจะเป็น เคส ฟิลม์กันรอยหรือกระจกกันรอย หูฟัง ลำโพง แบตฯ สำรอง ซึ่งรายหลังก็มีตัวเลือกทั่วไปอยู่แล้ว ทว่าสองอุปกรณ์ข้างต้นก็เป็นปัจจัยสำคัญเหมือนกันดังนั้นอาจต้องเพิ่งทางเลือกมากขึ้นแก่ผู้บริโภค

สุดท้ายนี้เราคงต้องจับตามองต่อไปว่า Xiaomi จะสามารถทำให้ราคาสมาร์ทโฟนในไทยปั่นป่วนได้หรือไม่ กับกลยุทธ์เน้นสเปกในราคาที่จับต้องได้ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาพิสูจน์ แต่หลังจากที่เปิดตัวรุ่นที่ผ่านมามีความเป็นไปได้สูงเลยทีเดียว หากเสี่ยวมี่เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่