แก็ดเจ็ต (Gadget)  |   วันที่ : 8 ธันวาคม 2560

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

วิศวกรจากมหาวิทยาลัย University of California San Diego ในสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาเคสมือถือและแอพพลิเคชั่นตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานเช็คค่าระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตัวเองไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม

ปัจจุบันการวัดระดับน้ำตาลในเลือดยังคงสร้างความยุ่งยากให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องหยิบชุดเครื่องมือตรวจสอบระดับน้ำตาลแบบพกพาติดตัวไปทุกครั้งที่ต้องเดินทาง

"การติดตั้งเครื่องมือวัดระดับน้ำตาลในเลือดไว้บนสมาร์ทโฟนช่วยลดความยุ่งยากและแก้ปัญหาการลืมพกพาอุปกรณ์ตรวจระดับน้ำตาลของผู้ป่วย" Patrick Mercier ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ที่ University of California San Diego กล่าว "ประโยชน์ที่ถูกเพิ่มเติมเข้าไปก็คือการมีแอพพลิเคชั่นบนมือถือที่สามารถจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเพื่อส่งต่อไปยังศูนย์การแพทย์หรือบริการคลาวด์

เคสมือถือที่พัฒนาขึ้นชิ้นนี้เรียกว่า "GPhone" ถูกวางตัวให้เป็นเครื่องมือตรวจจับระดับน้ำตาลแบบพกพาชิ้นใหม่ล่าสุดที่พัฒนาโดย Patrick Mercier, Joseph Wang ศาตราจารย์ด้านวิศวกรรมนาโนและเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้

GPhone ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือเคสที่ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติพิมพ์ออกมาซึ่งมีขนาดพอดีกับสมาร์ทโฟนและมีช่องเซ็นเซอร์บริเวณมุมขวาบนซึ่งสามารถใช้งานซ้ำ ๆ ได้ ส่วนที่สองคือกลุ่มเม็ดเอนไซม์กลุ่มเล็ก ๆ แบบใช้ครั้งเดียวซึ่งต้องวางให้แนบติดอยู่กับเซ็นเซอร์ โดยที่ตัวเคสจะมีช่องใส่ปากกาสไตลัสที่ออกแบบมาไว้สำหรับใช้เก็บเม็ดเอนไซม์ดังกล่าว

เมื่อต้องการตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ใช้งานจะต้องหยิบปากกาสไตลัสมาหยดเม็ดเอนไซม์ลงบนช่องเซ็นเซอร์เพื่อเปิดใช้งาน จากนั้นก็นำตัวอย่างเลือดมาป้ายติดไว้เพื่อให้เซ็นเซอร์วัดความเข้มข้นของระดับน้ำตาลในเลือดแล้วส่งข้อมูลที่ได้ผ่าน Bluetooth ไปยังแอพพลิเคชั่น Android ซึ่งจะแสดงตัวเลขที่วัดค่าได้ออกมาบนหน้าจอ การทดสอบจะใช้เวลาประมาณ 20 วินาที หลังจากนั้นเม็ดเอนไซม์ที่ใช้แล้วจะต้องถูกนำออกไปจากบริเวณเซ็นเซอร์จนกว่าจะใช้งานครั้งต่อไป ปากกาสไตลัสหนึ่งอันสามารถบรรจุเม็ดเอนไซม์ที่เพียงพอสำหรับการทดสอบประมาณ 30 ครั้งก่อนที่จะต้องเติมเข้าไปเพิ่ม ภายในเคสมีแผงวงจรไฟฟ้าที่ออกแบบให้ระบบสามารถใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ได้

เม็ดเอนไซม์ที่ใช้งานประกอบไปด้วย glucose oxidase ซึ่งทำปฏิกิริกากับน้ำตาลกลูโคสโดยสามารถสร้างสัญญาณไฟฟ้าที่วัดค่าได้ด้วยอิเล็กโทรดของเซ็นเซอร์ ยิ่งมีสัญญาณมากขึ้นแปลว่าความเข้มข้มของระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทีมงานผู้พัฒนาได้ทดสอบระบบเกี่ยวกับความแม่นยำของระดับน้ำตาลในตัวอย่างที่ถูกทดสอบจำนวนหลาย ๆ ครั้งซึ่งได้ผลการทดสอบที่ได้มีความแม่นยำถูกต้องมาโดยตลอด

นวัตกรรมที่สำคัญในการออกแบบนี้ก็คือเซ็นเซอร์ที่ใช้งานซ้ำได้ ในระหว่างการพัฒนาเคยมีการสร้างเอนไซม์อย่างถาวรไว้ที่ด้านบนของขั้วเซ็นเซอร์แต่พบปัญหาว่าเมื่อใช้งานซ้ำกันหลายครั้งเซ็นเซอร์จะไม่ทำงานในท้ายที่สุด ดังนั้นการเก็บเอนไซม์ในรูปแบบเม็ดที่แยกส่วนออกไปต่างหากจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องแลกมาก็คือค่าใช้จ่ายของการใช้เม็ดบรรจุเอนไซม์ซึ่งอาจจะมีราคาแพงกว่าชุดตรวจสอบระดับน้ำตาลที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน

ทีมงานผู้พัฒนาเห็นว่าในวันหนึ่งข้างหน้าอาจจะสามารถบูรณาการเครื่องมือตรวจระดับน้ำตาลในเลือดให้เข้าไปอยู่บนสมาร์ทโฟนโดยตรงแทนที่จะต้องใส่เคสเพิ่มเติม แต่ก็ยังเป็นเพียงแนวคิดที่ต้องรอการพิสูจน์ต่อไปว่าจะทำได้จริงหรือไม่

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่