เทคโนโลยี (Technology)  |   วันที่ : 16 สิงหาคม 2561

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

ความเป็นส่วนตัวกลายเป็นสิ่งที่หาได้ยากมากขึ้นในสังคมที่ผู้คนส่วนใหญ่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลส่วนตัวของคุณนั้นเป็นสิ่งที่มีค่า บริษัทต่างๆ ต้องการรู้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้ขายสินค้าและบริการให้ แต่ถ้าข้อมูลของคุณไปตกอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดี ก็อาจจะนำพาความวุ่นวายมาสู่ชีวิตของคุณได้ ดังนั้นวิธีการต่อไปนี้จะช่วย ปกป้องความเป็นส่วนตัวของคุณได้มากขึ้น

1. อย่ากรอกข้อมูลส่วนตัวลงใน Social Media

การแชร์ข้อมูลของคุณลงในสื่อออนไลน์ ถือเป็นการเปิดเผยข้อมูลลงในระบบอินเทอร์เน็ต และหากข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลส่วนตัวที่มีความสำคัญ ก็ยิ่งเป็นเรื่องง่ายที่ใครจะมาเอาข้อมูลเหล่านั้นไปใช้

2. เพิ่มความรอบคอบในการเปิดเผยหมายเลขบัตรประชาชน

คิดให้ดีก่อนที่จะเปิดเผยหมายเลขบัตรประชาชนให้กับใคร นอกเสียจากธนาคาร, เครดิตบูโร หรือองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติของคุณ เพราะคุณอาจจะถูกขโมยตัวตนของคุณ แล้วนำไปใช้ก่อหนี้ในชื่อของคุณได้

3. ล็อคอุปกรณ์ต่างๆ ของคุณซะ

ควรตั้งรหัสให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ เช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือ ไม่เพียงแค่ตั้งรหัสพาสโค้ด แต่ควรเปิดการใช้งานแอพพลิเคชั่นเพื่อระบุตำแหน่งของอุปกรณ์เมื่อคุณทำหาย และลบข้อมูลของคุณออกจากอุปกรณ์นั้นไม่ให้ใครสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของคุณได้

4. เปิดใช้งานโหมดส่วนตัวเมื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต

ควรเปิดใช้งานโหมดส่วนตัว (Private Browsing) โดยเปิดใช้งานที่ Setting ใน Browser ที่คุณใช้งาน ซึ่งจะช่วยลบ Cooky, Temp File, Browsing History ออกเมื่อคุณปิดการใช้งาน

5. ใช้โปรแกรมจัดการรหัสผ่าน

คนส่วนใหญ่รู้ว่าไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันบนเว็ปไซต์หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ แต่ในความเป็นจริงมันเป็นเรื่องยากที่จะจำรหัสผ่านได้ทั้งหมด จึงควรใช้โปรแกรมที่ช่วยจัดการรหัสผ่าน ซึ่งนอกจากจะช่วยคุณจำรหัสผ่านแล้ว ยังช่วยสร้างรหัสผ่านที่ดีให้กับคุณด้วย เช่น www.lasspass.com

6. ใช้การยืนยันตัวตนสองระดับ (Two-Factor Authentication)

คุณสามารถใช้งานการยืนยันตัวตนสองระดับได้ทั้ง Facebook, Google, Dropbox, Apple ID, Microsoft, Twitter หรือ Social Media ต่างๆ เมื่อคุณทำการเข้าระบบ คุณจะต้องใส่รหัสพิเศษที่ส่งมายังโทรศัพท์ของคุณอีกขั้นหนึ่งเพื่อเข้าใช้งาน

7. ใช้ Google Alert กับชื่อของคุณ

วิธีง่ายๆ ที่สามารถเช็คได้ว่ามีใครกำลังค้นหาข้อมูลของคุณอยู่หรือไม่ เพียงแค่ใช้งาน Google Alert ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้วิธีการใช้งาน Google Alert ได้จากที่นี่

8. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบน Social Media

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบน Social Media เช่น Facebook ให้เฉพาะเพื่อนของคุณเท่านั้นที่เห็นว่าคุณทำอะไรอยู่

9. เมื่อทำการซื้อของออนไลน์ด้วยบัตรเครดิต

อย่าให้รหัสไปรษณีย์ ร้านค้าออนไลน์ต่างๆ มักจะให้คุณกรอกรหัสไปรษณีย์เมื่อทำการชำระเงินเสร็จแล้ว อย่าให้ไป นอกเสียจากคุณอยากให้ข้อมูลการใช้จ่ายของคุณไปอยู่ในฐานข้อมูลของร้านค้านั้นๆ เพียงแค่ใช้ชื่อและรหัสไปรษณีย์ บริษัทก็สามารถค้นหาข้อมูลของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น อีเมล หรือที่อยู่ของคุณ

10. โกหก เมื่อตั้งคำถามเพื่อใช้กู้คืนรหัสผ่าน

คำถาม เช่น “เมืองที่คุณเกิด” หรือ “สัตว์เลี้ยงตัวแรกของคุณ” มักเป็นคำถามที่พบได้บ่อยเวลาต้องการกู้คืนรหัสผ่าน การที่ใครสักคนต้องการเข้าใช้งานบัญชีของคุณ พวกเขาย่อมทำการค้นหาข้อมูลส่วนตัวของคุณมาก่อน ดังนั้นคำตอบของคำถามเหล่านี้คุณไม่ควรตอยตามความเป็นจริง เพราะจะทำให้บัญชีของคุณถูกแฮ็คได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

 

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

วันที่ : 16 สิงหาคม 2561

มือถือออกใหม่