สุขภาพและความงาม (Health & Beauty)  |   วันที่ : 31 มีนาคม 2566

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

ฤดูร้อนไม่ใช่เรื่องเล่น ภัยร้ายหน้าร้อน ที่ทุกคนต้องรู้จักให้มากขึ้น นับวันยิ่งร้อนมากขึ้นทุกปี โดยโรคที่มาพร้อมหน้าร้อนคือ โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด สาเหตุคือ เกิดจากร่างกายอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง จนร่างกายรับความร้อนมากเกินไป จนร่างกายสะสมความร้อน เพราะไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน ส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส จนทำให้ระบบการทำงานในร่างกายเข้าขั้นอันตราย

อาการของโรคฮีทสโตรก สังเกตได้อย่างไร

เริ่มแรกของสัญญาณที่สังเกตได้ คือ ตัวร้อนจัดแต่ไม่มีเหงื่อออก กระหายน้ำมากผิดปกติ ถ้ามีอาการดังกล่าวควรหยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ และหยุดพักทันที

หากยังมีอาการต่อเนื่อง จะมีอาการหน้ามืด, เวียนหัว, อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หากหนักมากขึ้น และไม่ดีขึ้น จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หายใจไม่สะดวก อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจนผิดปกติ ถ้าเป็นขั้นที่อันตรายมากแล้ว คือตัวจะร้อน ผิวแดงจัด มีอาการสับสน พูดจาไม่รู้เรื่อง จนถึงขั้นหมดสติ

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคฮีทสโตรก ?

โรคนี้ไม่ได้เป็นง่ายๆ เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยว่า โรคนี้ต้องตากแดดเป็นเวลานาน ถึงจะเป็นได้ แต่สภาวะอากาศร้อนไม่ใช่แค่กลางแจ้ง แม้ในร่มก็ต้องสังเกตตนเอง โดยเฉพาะผู้สูงอายุกับผู้ที่มีโรคเสี่ยงก็สุ่มเสี่ยงต่อการเป็นได้ เพราะมีความร้อนสะสมในร่างกาย รวมถึงเด็ก, ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ, ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจก็เสี่ยงง่ายยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง หรือทำงานกลางแดดร้อนจัดๆ ถ้าต้องอยู่กลางแดดนานๆ หรืออยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนจัด ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี อย่าลืมหลบในที่ร่มบ่อยครั้ง ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ทางที่ดีหากรู้ตัวเองว่าจะต้องทำงานกลางแจ้ง ควรงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนอยู่กลางแจ้งประมาณ 8 ชั่วโมง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ควรทำอย่างไร

  • นำตัวผู้ป่วยโรคลมแดดเข้ามาในที่ร่ม และอย่ามุงใกล้ผู้ป่วย ให้มีอากาศระบาย
  • ให้ผู้ป่วยนอนราบ หาอะไรมาหนุนเท้าเพื่อยกเท้าสูงทั้งสองข้าง คลายเสื้อผ้าให้หลวม
  • ลดอุณหภูมิร่างกายต่ำลงโดยเร็วที่สุด เช่น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งเช็ดตามตัว ห้ามเทราดเด็ดขาด ใช้วิธีเช็ดซอกคอ รักแร้ และศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน
  • ไม่ควรใช้ผ้าเปียกคลุมตัวเพราะจะขัดขวางการระเหยของน้ำออกจากร่างกาย
  • หากยังไม่ฟื้น หมดสติ ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโทรสายด่วน 1669

ถ้าจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้ง เราทำอย่างไรได้บ้างในการป้องกัน

  • ตรวจอุณหภูมิผ่านแอปพลิเคชั่น ตรวจสอบสภาพอากาศ หรือเมนูสภาพอากาศบนสมาร์ทโฟนได้เลย หากเกิน 38 องศาเซลเซียล ควรพิจารณาและหาวิธีป้องกัน
  • สวมใส่สมาร์ทวอช เพื่อตั้งค่าแจ้งเตือน หากอุณหภูมิร่างกายสูงจนเกินไป

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่