www.siamphone.com
แก็ดเจ็ต (Gadget) | วันที่ : 16 มีนาคม 2558
เทคโนโลยีได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับหลายสิ่ง ตั้งแต่เศรษฐกิจไปจนถึงการดำเนินชีวิตของผู้คนบนโลกใบนี้ เทคโนโลยียังได้สร้างงานและอาชีพ รวมถึงทักษะที่นายจ้างต้องการจากแรงงานอีกด้วย ดังนั้น เพื่อเตรียมให้กับเยาวชนของไทยได้มีทักษะการทำงานเพื่อเป็นที่ต้องการของตลาดในอนาคต วิธีการเรียนการสอนจำเป็นเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน นั่นคือ บทสรุปของผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา
จากการเสวนาในหัวข้อ “เสริมสร้างทักษะแห่งอนาคต – ทักษะการแก้ปัญหาในชีวิตจริง” (Building skills for the future – Real Word Problem Solving Skills) ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประเทศไทย โดยบริติช เคานซิล และไมโครซอฟท์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เชิงลึกและเตรียมนักเรียนให้พร้อมสู่ความท้าทายในศตวรรษที่ 21 โดย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ที่ให้เกียรติเข้าร่วมการเสวนาในครั้งนี้ ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ นราพร จันทร์โอชา รองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ดร. กุศลิน มุสิกุล ผู้อำนวยการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร. มาร์ก วินเดล อาจารย์จากศูนย์การศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ ฮัลลัม และนางสาวเฟลิเซีย บราวน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัทไมโครซอฟท์
ความต้องการทักษะแห่งอนาคต
การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้เปลี่ยนโฉมหน้าของเศรษฐกิจโลกและธุรกิจ ส่งผลให้ตลาดแรงงานและทักษะที่นายจ้างต้องการจากแรงงานเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน ดร. กุศลิน ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนามาตรฐานหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษา กล่าวว่า “เทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง เทคโนโลยีได้สร้างงานใหม่ ๆ ที่ต้องการทักษะที่แตกต่างไปจากเดิม หากเราพิจารณาอาชีพยอดนิยมสิบอันดับแรกในตลาดแรงงานปัจจุบัน เราจะพบว่าเมื่อทศวรรษที่แล้ว หลาย ๆ อาชีพยังไม่มีด้วยซ้ำ เช่น อาชีพขายของทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาชีพใหม่ ๆ เหล่านี้ต้องอาศัยทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) เป็นพื้นฐานสำคัญ”
ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญแห่งศตวรรษที่ 21และทวีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก ตำแหน่งงาน อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นของแรงงานที่มีทักษะในเรื่องนี้กลับช้ากว่าความต้องการของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านไอที นางสาวเฟลิเซีย ซึ่งทำงานร่วมกับนักการศึกษา ครู และผู้กำหนดนโยบาย ผ่านโครงการด้านการศึกษาของไมโครซอฟท์ มาเป็นเวลานาน กล่าวว่า “ตลาดแรงงานโลกต้องการคนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยปัจจุบันตำแหน่งงานมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ต้องการทักษะทางเทคโนโลยี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 77 เปอร์เซ็นต์ในอีก 10 ปีข้างหน้า ส่วนในสาขาอาชีพทางไอที ได้เกิดปัญหาจำนวนแรงงานไม่เพียงพอต่อความต้องการขึ้นแล้ว และช่องว่างแรงงานจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ในระยะเวลา 5 ถึง 10 ปีต่อจากนี้”
ผลการวิจัยล่าสุดของ International Data Corporation (IDC) เกี่ยวกับทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพในอนาคต ได้เปิดเผยทักษะ 20 ด้าน ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงานที่มีการเติบโตและผลตอบแทนสูง และเป็นที่ต้องการของบริษัทชั้นนำ เช่น งานในสาขาการแพทย์และการพยาบาล สาขาการตลาดและการขาย และสาขาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยทักษะที่องค์การต่าง ๆ ต้องการ เป็นลำดับต้น ๆ คือ ทักษะการสื่อสารด้วยการพูดและการเขียน ทักษะการแก้ปัญหา และความเชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรม ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ (Microsoft Office)นอกจากนั้น ผลการศึกษานี้ยังเสนอว่า บริษัทต่าง ๆ ไม่ได้มองหาพนักงานที่มีทักษะที่จำเป็นเท่านั้น แต่ยังต้องมีความสามารถในการผสมผสานทักษะต่าง ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละสถานการณ์อีกด้วย
ดร. กุศลิน กล่าวว่า “เทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็วและไม่หยุดนิ่ง นักเรียนของเราจึงกำลังเผชิญกับบริบทด้านอาชีพที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยในอนาคตจะมีอาชีพใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ดังนั้น คำถามที่นักการศึกษาและครูจะต้องช่วยกันขบคิดคือ เราจะพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับชีวิตและการทำงานในอนาคตได้อย่างไร”
การเรียนการสอนต้องเปลี่ยนแปลง
เทคโนโลยีทำให้นักการศึกษาและครูไม่เพียง ต้องคิดว่าทักษะใดบ้างที่จำเป็นสำหรับอาชีพงานในอนาคต แต่ยังต้องหาวิธีพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับทักษะ พรสวรรค์ และศักยภาพของนักเรียน ควบคู่ไปกับการเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับตลาดแรงงานในอนาคต ทั้งนี้ ผู้เสวนาทั้งสี่ท่านเห็นว่า ในการสอนนักเรียนให้สามารถรับมือกับการทำงานในอนาคต ครูไม่เพียงต้องสอนให้นักเรียนมีความรู้ แต่ยังต้องสอนให้นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้กับสถานการณ์จริง โดยเป้าหมายนี้จะสำเร็จได้ การเรียนการสอนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง
“เพื่อให้นักเรียนสามารถทำงานและใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างประสบความสำเร็จ เราจำเป็นต้องพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะดิจิทัล การคิดเชิงวิพากษ์ และการแก้ปัญหา เพื่อให้พวกเขาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆ นอกห้องเรียนได้ ซึ่งการที่จะพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะเหล่านี้ได้ จำเป็นต้องพัฒนา และปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน” รศ. นราพร กล่าว
เตรียมพร้อมรับความท้าทายในอนาคต
นางสาวเฟลิเซียมองว่าการเรียนการสอนแบบใหม่ เป็นมากกว่าการติดตั้งเทคโนโลยีสารสนเทศภายในห้องเรียนเท่านั้น แต่จะต้องเป็นการเปลี่ยนระบบการเรียนการสอนให้ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centred Learning) และเป็นการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา โดยมีเทคโนโลยีทำหน้าที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนี้
ครูจำนวนมากกำลังผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปในการเรียนการสอน เพื่อเตรียมพร้อมให้นักเรียนมีทักษะแห่งอนาคต อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย อุปสรรคที่สำคัญที่ครูพบนอกจากการขาดแคลนคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนแล้ว ก็คือการฝึกอบรมที่ไม่เพียงพอ โดยพวกเขาพบว่าชั้นเรียนของตนมีนักเรียนเพิ่มขึ้น แต่กลับมีเวลาและได้รับการสนับสนุนน้อยลง
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องเรียนเพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการดำรงชีวิตและการทำงานในศตวรรษที่ 21
“สำหรับการเรียนการสอนในชนบทและพื้นที่ห่างไกล ไมโครซอฟท์ มีเทคโนโลยีคลาวด์ อย่าง Office 365 for Education (ออฟฟิศ 365 เพื่อการศึกษา) ซึ่งจะช่วยพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เหล่านี้ได้โดยตรง ทั้งนี้ Office 365 for Education ช่วยเกื้อหนุนให้การสื่อสารระหว่างครูและนักเรียนในการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนั้น Office 365 for Education ยังช่วยให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการศึกษาทางไกลทำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” นางสาวเฟลิเซีย กล่าว
การฝึกอบรมเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ครูสามารถพัฒนารูปแบบการสอนในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ดร. มาร์ก ซึ่งทำงานในโครงการโปรแกรมการเรียนสอนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจทางวิทยาศาสตร์ หรือ Inspiring Science ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า “ครูต้องการการฝึกอบรมและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง โดยควรเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมมีส่วนร่วม มีเวลาในการคิดวิเคราะห์ และประยุกต์สิ่งที่เรียนเพื่อพัฒนาเป็นแผนการสอน และภายหลังการฝึกอบรม ครูต้องการระบบสนับสนุนเพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม เป็นวิธีการสอนในห้องเรียนของตน ซึ่งเทคโนโลยีช่วยให้เราสามารถสนับสนุนครูได้ด้วยฐานข้อมูล และชุมชนออนไลน์ที่ครูสามารถสอบถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนกับครูท่านอื่น ๆ ได้”
“ไมโครซอฟท์ได้ดำเนินโครงการ Partners in Learning เพื่อช่วยให้ครูได้ค้นพบและแลกเปลี่ยนวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างนวัตกรรมและช่วยให้นักเรียนเข้าถึงศักยภาพที่แท้จริงของพวกเขา โดยตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา โครงการนี้ได้อบรมครูมาแล้วกว่า 12 ล้านคน และเข้าถึงนักเรียนมากกว่า 200 ล้านคน ใน 119 ประเทศทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 39,000 แห่ง อบรมครูไปแล้วมากกว่า 164,000 คน และมีนักเรียนที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้เกินกว่า 8 ล้านคน” นางสาวเฟลิเซีย กล่าว
“หากเราต้องการให้นักเรียนมีทักษะอะไร เราก็ต้องเตรียมความพร้อมครูให้มีทักษะเหล่านั้นด้วย ทั้งทักษะด้านไอที การคิดเชิงวิเคราะห์และการแก้ปัญหา” รศ. นราพร สรุป
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.microsoft.com/thailand
ที่มา : www.microsoft.com วันที่ : 16 มีนาคม 2558
ศึกษาการลดหย่อนภาษีด้วยประกัน ลดภาระได้อย่างมีประสิทธิภาพ6 ชั่วโมงที่แล้ว
Samsung Galaxy S25 Series มาแล้ว! ประกาศวันเปิดตัว และลงทะเบียนจองล่วงหน้าได้ทันที8 ชั่วโมงที่แล้ว
5 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของบริการรับทำ Google Ads8 ชั่วโมงที่แล้ว
OPPO เตรียมเปิดตัว OPPO Reno13 Series 5G สมาร์ทโฟน AI รุ่นล่าสุด10 ชั่วโมงที่แล้ว
สรุปจุดเด่นและสเปค HUAWEI nova 13i หน้าจอ 90Hz กล้องความละเอียดสูงสุด 108MP ชาร์จเร็ว 40 วัตต์14 ชั่วโมงที่แล้ว
Hohem iSteady M7 ไม้กันสั่นสำหรับมือถือ พร้อมกล้อง AI Tracker ติดตามและจดจำเป้าหมายได้แม่นยำ
รีวิว TP-Link USB-C Hub เพิ่มพอร์ตเชื่อมต่อครบครัน รองรับการใช้งานหลากหลายทั้ง 6 in 1 และ 9 in 1
รีวิว Baseus Qpow2 Dual-Cable Digital Display Fast Charge Power Bank 10000mAh 22.5W ใช้งานสะดวก พ...
Redmi Buds 6 Pro อัปเกรดการตัดเสียงรบกวน 55 เดซิเบล เทคโนโลยีเสียงมาครบ
Sonos จัดเต็มส่งท้ายปีกับโปรโมชั่น 12.12 ให้คุณช้อปฟินด้วยส่วนลดสูงสุดกว่า 30%
DJI Mic Mini ไมโครโฟนไร้สายขนาดเล็กรุ่นใหม่ในตระกูล OsmoAudio
BenQ GV50 โปรเจคเตอร์พกพา ยกระดับประสบการณ์การชมภาพยนตร์ให้เหนือระดับไปอีกขั้น
ทำความรู้จัก OPPO A3x ปรับราคาลงอีก มือถือน่าใช้งาน 2025 เริ่มต้นแค่ 3,399 บาท
เผยข้อมูล POCO X7 5G ใช้ชิปเซ็ต MediaTek Dimensity 7300 Ultra หน้าจอ 120Hz รองรับชาร์จเร็ว 45W!
OPPO A5 Pro เน้นทนทาน IP69 จอ AMOLED 120Hz และชิปเซ็ต Dimensity 7300