www.siamphone.com
หมวดอื่นๆ (Other) | วันที่ : 25 สิงหาคม 2559
SIPA ร่วม IMC สำรวจมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ปี 2558 ชี้เติบโตเล็กน้อย ปัจจัยจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ - Software-enable Service ทำให้อุตสาหกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลง คาดปี 2559 และ 2560 ยังเติบโตต่อเนื่องร้อยละ 4.4และ 4.3 ผลจากกระตุ้นการใช้ Promptpay และการขยายโครงสร้างพื้นฐาน
นางสุวิมล เทวะศิลชัยกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ กล่าวถึง การสำรวจมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ของประเทศไทย ประจำปี 2558 จัดขึ้นเพื่อติดตามความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในแต่ละปีของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการวางแผนนโยบายต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยการสำรวจในปีนี้ ได้ขยายประเภทการสำรวจเพิ่มขึ้น ในกลุ่มสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และสารสนเทศ พร้อมรวบรวมข้อมูลกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ด้านเทคโนโลยี (Tech Startup) ในประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐและทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์
สำหรับผลการสำรวจการผลิตซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ประจำปี 2558 มีมูลค่ารวม 52,561 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปี 2557 เพียงร้อยละ 1.2 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจทำให้การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ทั้งในภาครัฐและเอกชนชะลอตัวตาม แต่ทั้งนี้ในกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง ซึ่งมีรายได้ระหว่าง 100 - 500 ล้านบาทกลับมีอัตราการเติบโตทางธุรกิจเนื่องจากกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้พึ่งพิงกับโครงการขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดีในปี 2559 มูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์อัตราการเติบโตราวร้อยละ 4.4 มีมูลค่ากว่า 54,893 ล้านบาท ขณะที่ปี 2560 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 4.3 และมีมูลค่ากว่า 57,257 ล้านบาท
รองผู้อำนวยการฯ เผยว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ในปี 2559 มีอัตราเติบโต คือ 1. ภาคการเงิน ได้รับการกระตุ้นเชิงนโยบายจากโครงการพร้อมเพย์ (Promptpay) ผลักดันให้มีการลงทุนเพิ่มทั้งด้านซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์และด้านความปลอดภัยของข้อมูล 2. ภาคโทรคมนาคม เกิดจากโครงการขยายเครือข่ายสื่อสารไร้สาย เทคโนโลยี 4G ที่ได้รับใบอนุญาตไปแล้ว ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์จากระบบ 3G สู่ 4G และโครงการขยายโครงข่ายบริการบรอดแบนด์ทั่วประเทศ
นอกจากนี้ผลการสำรวจด้านซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัวประจำปี 2558 มีมูลค่ารวม 6,039 ล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 3.5 จากปีก่อน เกิดจากปัจจัยการขยายตัวของผู้ออกแบบและพัฒนาระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว โดยมีทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง(IP-based system designer) และผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว เพื่่อใช้กับสินค้าของบริษัท โดยมีฐานะเป็นหน่วยผลิตภายใน (In-house producer) อย่างไรก็ดีคาดการณ์ว่ามูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัวจะเติบโต กว่าร้อยละ 5 ในปี 2559 และร้อยละ 6.9 ในปี 2560 ส่วนมูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ ปี 2558 ของประเทศไทยมีมูลค่า 3,330 ล้านบาท โตขึ้นกว่าร้อยละ 0.3 ขณะที่การนำเข้าซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์จากต่างประเทศมีมูลค่า 32,944 ล้านบาท และซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์เพื่อการพัฒนาในองค์กร (In-House) มีมูลค่า 14,903 ล้านบาท
ทั้งนี้การดำเนินการปีนี้ได้ทำการสำรวจกลุ่มสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และสารสนเทศเป็นปีแรกพบว่า บัณฑิตสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปี 2556 มีจำนวน 12,619 คน ซึ่งมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ยังได้ทำการรวบรวมข้อมูลกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ด้านเทคโนโลยี (Tech Startup) พบว่ามีจำนวน 348 รายในประเทศไทย และมีมูลค่าการระดมทุนที่เปิดเผยได้กว่า 1,188 ล้านบาท (ข้อมูลจาก Google, Temasek และ TechSauce)
รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี กล่าวในฐานะผู้ดำเนินโครงการสำรวจข้อมูลตลาดซอฟต์แวร์ว่า ผลการสำรวจของปี 2558 พบข้อสังเกตที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดซอฟต์แวร์ 2 ประการ คือ ประการแรก ภาพรวมของการผลิตซอฟต์แวร์มีอัตราการเติบโตเพียงเล็กน้อย ทั้งซอฟต์แวร์สำเร็จรูป และบริการซอฟต์แวร์ โดยมี Software-enable Service หรือบริการที่เกิดจากการใช้ซอฟต์แวร์ เป็นตัวแปรการเปลี่ยนแปลง และมีแนวโน้มว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ในอนาคต ประการที่สอง เทคโนโลยีใหม่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ ได้แก่ Cloud Technology และ SaaS (Software as a Service) ทำให้พฤติกรรมการบริโภคซอฟต์แวร์เปลี่ยน โดยมีแนวโน้มที่จะย้ายไปสู่การใช้บริการซอฟต์แวร์บนเทคโนโลยีคลาวด์แทนการติดตั้งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปบนเครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่า ปี 2558 สถาบันหลายแห่งมีการเปิดการเรียนการสอนในวิชา Emerging Technologies เช่น Embedded System,Cloud Technology, Internet of Things (IoT) และ Big Data เป็นต้น นับเป็นทิศทางที่ดีต่อการผลิตบัณฑิตที่จะจบการศึกษาในอนาคตอันใกล้นี้
ที่มา : www.sipa.or.th วันที่ : 25 สิงหาคม 2559
ทำความรู้จัก TCL 501 และ TCL 503 มือถือราคาประหยัดราคาไม่เกิน 2,000 บาท2 ชั่วโมงที่แล้ว
HMD Arc มือถือระบบ Android 14 (Go edition) ดีไซน์สวย ทนทาน ทรงประสิทธิภาพ18 ชั่วโมงที่แล้ว
สรุปจุดเด่นและสเปค HONOR X9c แบตฯ 6600mAh ชาร์จเร็ว 66W กันน้ำ IP65M กล้องหลัง 108MP+OIS22 ชั่วโมงที่แล้ว
Hohem iSteady M7 ไม้กันสั่นสำหรับมือถือ พร้อมกล้อง AI Tracker ติดตามและจดจำเป้าหมายได้แม่นยำ5 ม.ค. 68 07:00
Samsung เดินหน้าขยายการใช้ AI Home ทั่วทุกมุมบ้าน ส่งจอสุดล้ำบุกเครื่องใช้ไฟฟ้า4 ม.ค. 68 15:00
HUAWEI FreeBuds SE 3 สัมผัสเสียงคมชัด ดีไซน์โดดเด่น ในราคาที่เข้าถึงได้
คนไทยค้นหาอะไรกันนะ! 10 หมวดค้นหาที่นิยมมากที่สุดในปี 2567 มีอะไรบ้าง?
Blackview BV8200 สมาร์ทโฟน AI สายถึก 4G รุ่นเรือธง เครื่องแรกของโลก พร้อมจอแสดงผลคู่และไฟฉายคู่!
ยืนยันแลัว! เตรียมพบกับ realme 14 Pro Series 5G เดือนมกราคมนี้
iQOO Z9 Turbo เวอร์ชั่นแบตฯ ความจุสูง 6400mAh ขุมพลัง Snapdragon 8s Gen 3 เตรียมเปิดตัวมกราคมนี้