www.siamphone.com
เทคโนโลยี (Technology) | วันที่ : 10 เมษายน 2561
โมเดลไทยแลนด์ 4.0 ที่ภาครัฐพยายามผลักดันเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับธุรกิจในประเทศไทยให้กลายเป็นเขตเศรษฐกิจระดับโลก ซึ่งภาคอุตสาหกรรมทางการแพทย์นั้นเป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมใหม่ หรือ New S-curve ที่จะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ เนื่องจากประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และธุรกิจการรักษาพยาบาลที่แข็งแกร่ง การต่อยอดและก้าวเข้าไปสู่การเป็นศูนย์กลางการแพทย์อย่างครบวงจร (Medical Hub) โดยการเพิ่มมูลค่าธุรกิจด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วยการนำนวัตกรรมและประยุกต์ให้เข้ากับหุ่นยนต์อัจฉริยะ จึงเป็นการคาดการณ์ที่แม่นยำและถูกต้องของ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาหุ่นยนต์ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ผ่านการประกวด สุดยอดหุ่นยนต์ทางการแพทย์เพื่อสุขภาพ i-MEDBOT Innovation Contest ครั้งที่ 1 และ 2 ในปี 2557-2559 ที่ผ่านมา และครั้งที่ 3 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2561 นี้
ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ เปิดเผยถึงรายละเอียดการจัดประกวดในปีนี้ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ในระดับสากล ได้รุดหน้าไปถึงระดับการทดลองและ นำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการวินิจฉัย และช่วยผ่าตัดอย่างแพร่หลาย โดยหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่รู้จักกันดี อาทิ หุ่นยนต์ผ่าตัด (Surgical Robot) เพื่อช่วยแพทย์ในการทำผ่าตัดที่ซับซ้อนหรือต้องการความละเอียดสูง หรือแม้กระทั่งการผ่าตัดทางไกล ,หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อ (Disinfection Robot) ที่ใช้รังสี UV ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในโรงพยาบาล สามารถฆ่าเชื้อได้ถึงร้อยละ 99 ,หุ่นยนต์กายภาพบำบัด (Renhabilitation Robot) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเติบโตของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ในประเทศไทย กลับอยู่ในอัตราเพียง 5 – 10% ต่อปี
ดังนั้น เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้นักศึกษาตลอดจนประชาชน เห็นความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์ทางการแพทย์ และการแสวงหานวัตกรรมการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ได้ดำเนินโครงการเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ชั้นสูง จึงจัด “การประกวดสุดยอดหุ่นยนต์ทางการแพทย์เพื่อสุขภาพ i-MEDBOT Innovation Contest 2018” ขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 หลังจากประสบความสำเร็จ จากการจัด การประกวดสุดยอดไอเดียหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2557 และครั้งที่ 2 ในปี 2559 ที่ผ่านมา โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมประกวดอย่างคับคั่ง ทั้งบุคคลธรรมดา และนิสิตนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจากสถาบันชั้นนำที่ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดฯ ซึ่งหลายๆ ผลงาน TCELS ได้ดูแลโครงการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการทำโมเดลธุรกิจ หรือสนับสนุนให้มีการพัฒนาผลงานเพื่อตอบโจทย์ในเชิงอุตสาหกรรมทางการแพทย์ และได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากภาคธุรกิจ มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย อาทิ SensibleTAB หุ่นยนต์ฟื้นฟูการเคลื่อนไหวแขน หรือหุ่นยนต์เสริมพัฒนาการทางการพูด เป็นต้น
“การประกวดหุ่นยนต์ทางการแพทย์ในปีนี้ ความพิเศษคือเราต้องการแสวงหานวัตกรรมการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้งาน บนฐานของเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ซึ่งเราไม่ได้จำกัดสัญชาติ อายุ และเพศของผู้สมัคร อีกทั้งยังสามารถสมัครได้ทั้งรายบุคคลและทีมโดยไม่จำกัดจำนวนสมาชิกในทีมอีกด้วย นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างยิ่ง ซึ่งผลงานที่นำเสนอต้องเป็นไอเดียของผู้สมัครโดยไม่ลอกเลียนแบบผู้อื่นหรือนำผลงานมาแอบอ้าง”
สำหรับผลงานที่เข้าประกวด แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อการตรวจคัดกรอง การวินิจฉัย การรักษา การผ่าตัด , การฟื้นฟูทางการแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ และ การบริการทางการแพทย์หรือสุขภาพและการติดตามเฝ้าระวัง ซึ่งเกณฑ์การพิจารณาผลงานนั้น นอกจากจะตอบโจทย์เบื้องต้นแล้ว ยังต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีในปัจจุบัน และยังต้องมีศักยภาพในการนำผลงานพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงได้อีกด้วย โดยผู้ชนะเลิศ จะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ และเงินรางวัล 150,000 บาท รองชนะเลิศ จะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ และเงินรางวัล 100,000 บาท และรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง จะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ และเงินรางวัล 50,000 บาท ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งสามอันดับ จะได้รับการสนับสนุนจาก TCELS และหน่วยงานอื่นๆ ต่อไป
“การประกวดทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา TCELS ได้ดูแลผลงานที่ชนะเลิศอย่างต่อเนื่อง อาทิ การให้สิทธิในการเข้าร่วมกิจกรรม หรือการอบรมพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ พร้อมช่วยจัดทำแผนธุรกิจ และหาพาร์ทเนอร์เพื่อพัฒนาผลงานให้สามารถนำไปใช้งานได้จริงในโรงพยาบาล ซึ่งเรามีปัจจัยสนับสนุนมากมาย ทั้งจากทางภาครัฐ การวิจัย มหาวิทยาลัย รวมถึงผู้ประกอบการ ผมอยากให้เวที i-MEDBOT Innovation Contest เป็นก้าวแรกที่มั่นคงของการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการแพทย์ของไทยให้ก้าวหน้า เราคาดการณ์ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ หุ่นยนต์ทางการแพทย์จะเข้ามามีบทบาทและเป็นที่ต้องการอย่างมาก เพราะนอกจากจะส่งผลด้านเศรษฐกิจ ที่จะทำให้โรงพยาบาลสามารถลดต้นทุนได้แล้ว ในภาพรวมของประเทศไทยที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งอาจต้องนำเข้าเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันสัดส่วนการนำเข้าอยู่ที่ประมาณ 1 แสนล้านบาท และมีการอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 10% ทุกปี ซึ่งถ้าหากคนไทยสามารผลิตได้เองเพื่อทดแทนการนำเข้า ก็จะช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศได้มาก”
“ทั้งนี้ การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในโรงพยาบาล นอกจากจะสามารถลดระยะเวลาและอำนวยความสะดวกให้ผู้มาเข้ารับบริการแล้ว อีกมุมหนึ่งยังเป็นการลดภาระงานให้บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์เหล่านั้น ได้ใช้เวลาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและให้บริการผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่”
“การเตรียมความพร้อมในด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้วยสมาร์ทโรโบติกส์ ไม่เพียงจะสร้างสมาร์ทไลฟ์ให้คนไทยเท่านั้น แต่จะเป็นโอกาสที่ดีทางเศรษฐกิจ ที่จะทำให้เราสามารถก้าวไปยังการเป็นผู้นำด้านการแพทย์และสาธารณสุขของโลก ไปพร้อมๆ กับการก้าวครั้งสำคัญที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยในอนาคต” ดร.นเรศกล่าว
สามารถดูรายละเอียด การประกวดสุดยอดหุ่นยนต์ทางการแพทย์เพื่อสุขภาพ i-MEDBOT Innovation Contest 2018 เพิ่มเติมได้ที่ www.tcels.or.th/robot หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร 02 644 – 5499 ต่อ 115 , 128
ที่มา : www.tcels.or.th วันที่ : 10 เมษายน 2561
Blackview BL7000 เตรียมเปิดตัวสมาร์ทโฟนเรือธงพันธุ์แกร่ง 5G ขับเคลื่อนด้วยขุมพลัง AI ระดับโลก49 นาทีที่แล้ว
OPPO Find N5 สมาร์ทโฟนจอพับที่บางที่สุด ยกระดับความทรงพลังในทุกมิติ ในราคา 6x,xxx2 ชั่วโมงที่แล้ว
Infinix NOTE 50 Series ชิปเซ็ต MediaTek D8350 พร้อมเทคโนโลยีชาร์จเร็ว เปิดราคา 25 เมษายนนี้8 ชั่วโมงที่แล้ว
Moto pad 60 PRO หน้าจอ 12.7 นิ้ว คมชัด 3K 144Hz พร้อมลำโพง JBL 4 ตัว10 ชั่วโมงที่แล้ว
vivo X200s สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ หน้าจอ 6.67 นิ้ว ชิปฯ Dimensity 9400+ พร้อมกล้องหลัง 3 ตัว 50MP12 ชั่วโมงที่แล้ว
พาชมโรงงานฐานการผลิตระดับโลก เบื้องหลังความสำเร็จของ OPPO ที่ฉงชิ่ง
vivo เผยโฉมแรก Vision เฮดเซต MR ต้นแบบ ดีไซน์เพรียวบาง เน้นใช้งาน Mixed Reality เตรียมเปิดตัวภายใ...
5 ข้อดีระบบจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มกำไร
RTB เปิดตัว AT-LP8X เอาใจนักเล่นแผ่นเสียงและผู้ที่หลงใหลเสน่ห์ของเสียงอนาล็อก
พาชมโรงงานฐานการผลิตระดับโลก เบื้องหลังความสำเร็จของ OPPO ที่ฉงชิ่ง
CMF ยัน CMF Phone 2 Pro มาแน่ พร้อมปล่อยทีเซอร์ฝาหลังเก็บขอบ!
Amazfit Bip 6 อัปเกรดหน้าจอ AMOLED กว้างขึ้น 1.97 นิ้ว เตรียมขายไทย 3 เม.ย. 68
Redmi Buds 7S หูฟัง TWS รุ่นใหม่ ดีไซน์พรีเมียม รองรับ ANC พร้อมเสียงรอบทิศทาง 360°
Samsung จดสิทธิบัตรนวัตกรรมจอพับ 360 องศา พับได้ทั้งด้านในและด้านนอก