www.siamphone.com
หมวดอื่นๆ (Other) | วันที่ : 7 มีนาคม 2562
การใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ยังคงพบได้ทั่วไปในองค์กรธุรกิจ รวมถึงส่วนงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดจากการละเลย เพิกเฉย หรือมีเจตนาก็ตาม การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในลักษณะดังกล่าวทำให้องค์กรเหล่านี้มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความเสี่ยงด้านการดำเนินธุรกิจ และความเสี่ยงด้านกฎหมาย ดังนั้น องค์กรธุรกิจที่ยังขาดความตระหนักรู้เรื่องความเสี่ยงเหล่านี้ และยังขาดการบริหารจัดการซอฟต์แวร์อย่างเหมาะสม ล้วนตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการสูญเสียอย่างมากมาย
เพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องความเสี่ยงดังกล่าว รวมถึงส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจมีการบริหารจัดการซอฟต์แวร์อย่างเหมาะสม บีเอสเอ พันธมิตรซอฟต์แวร์ จึงเปิดตัวโครงการ “Legalize & Protect” ในภูมิภาคอาเซียน
บีเอสเอทำงานร่วมกับรัฐบาลและพันธมิตรต่างๆ ในการให้ความรู้แก่องค์กรธุรกิจเกี่ยวกับความเสี่ยง ที่พวกเขาต้องเผชิญ เมื่อใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยบริษัทที่เป็นสมาชิกของบีเอสเอนั้นเป็นซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิต ไอที การเงิน การบริการ การก่อสร้าง การดูแลสุขภาพ สินค้าอุปโภคบริโภค วิศวกรรม สถาปัตยกรรมและการออกแบบ และอุตสาหกรรมอื่นๆ
กิจกรรมส่วนหนึ่งของโครงการ คือการสื่อสารไปยังองค์กรธุรกิจหลายพันแห่งในประเทศไทย เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงและผลที่จะตามมาจากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการที่เหมาะสมเพียงพอสำหรับป้องกันการสูญเสีย โดยบีเอสเอจะทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐบาลไทยในอีกหลายเดือนข้างหน้านับจากวันนี้
“การปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วน จะช่วยปกป้องความปลอดภัยของข้อมูลขององค์กรธุรกิจ ปกป้องความสามารถในการแข่งขัน ปกป้องชื่อเสียงทางธุรกิจ และป้องกันความเสี่ยงที่เป็นผลทางกฎหมายที่จะตามมา” นายดรุณ ซอว์เนย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บีเอสเอ พันธมิตรซอฟต์แวร์ ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค กล่าว “ยิ่งองค์กรธุรกิจปรับเปลี่ยนมาใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วนได้เร็วมากเท่าใด พวกเขาจะสามารถปกป้องธุรกิจและผลประกอบการของพวกเขาได้เร็วขึ้นเท่านั้น”
ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค มีอัตราการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) สูงที่สุดในโลกถึงร้อยละ 57 วิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวที่ดีที่สุด จึงเป็นการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม เน้นส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจทำการตรวจสอบภายในองค์กรด้วยตนเอง และสมัครใจปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ให้ถูกต้อง ภายใต้โครงการนี้ บีเอสเอจะรณรงค์ให้องค์กรธุรกิจเริ่มต้นโดยการหยุดติดตั้งและใช้งานซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ไม่ใช่เพียงเพื่อป้องกันการทำผิดกฎหมาย แต่เพื่อประโยชน์ที่ดีสุดสำหรับองค์กรธุรกิจเอง
การใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ส่งผลเสียต่อธุรกิจ
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ซีไอโอ (CIO) ต่างพบว่าซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) มีความเสี่ยงมากและส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามมา นอกจากนี้ ยังพบว่าองค์กรธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรให้เพิ่มขึ้นได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ไอดีซี (IDC) ประเมินว่าหากองค์กรธุรกิจมีการบริหารจัดการซอฟต์แวร์ที่ดีแล้ว ผลกำไรอาจเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11
ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจจำนวนมากมีความเสี่ยงสูงถึงหนึ่งในสามที่จะเผชิญกับการจู่โจมของมัลแวร์ ในเวลาที่ใช้งานหรือติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) รวมถึงใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) มาพร้อมกัน การจู่โจมของมัลแวร์ในแต่ละครั้งสามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรธุรกิจ โดยเฉลี่ยถึง 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอาจใช้เวลาในการแก้ปัญหาดังกล่าวนานถึง 50 วัน
นอกจากนี้ หากการจู่โจมของมัลแวร์ดังกล่าวทำให้องค์กรธุรกิจไม่สามารถให้บริการหรือดำเนินงานได้ หรือสูญเสียข้อมูลทางธุรกิจ ย่อมส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงด้วยเช่นกัน
ค่าใช้จ่ายในการจัดการกับปัญหามัลแวร์อันเนื่องมาจากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) นั้นเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันนี้องค์กรธุรกิจอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องที่ถูกจู่โจมโดยมัลแวร์ และทำให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายกว่า 359,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีอีกด้วย
ปัจจุบัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ซีไอโอ (CIO) ต้องการความแน่ใจว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กรของพวกเขา มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วน และเหตุผลอันดับหนึ่ง คือเพื่อหลีกเลี่ยงภัยคุกคามจากมัลแวร์ การตรวจสอบภายในองค์กรเพื่อทำให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งและใช้งานอยู่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วน และการใช้ซอฟต์แวร์เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อองค์กรธุรกิจ ทั้งในด้านผลประกอบการและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัญหามัลแวร์ ทำให้องค์กรธุรกิจต่างหันมาใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งทำให้องค์กรธุรกิจมีสิทธิได้รับบริการสนับสนุนด้านความปลอดภัยจากบริษัทซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
องค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการตามขั้นตอนที่สำคัญได้ทันที เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการซอฟต์แวร์และเพื่อประโยชน์ต่างๆ ที่จะตามมา รวมถึงประโยชน์สูงสุดจากการใช้งานซอฟต์แวร์ โดยปฏิบัติตามแนวทางของการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานสากล ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยทำให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่บนเครือข่ายเป็นซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วน แต่ยังจะช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดปัญหาจากการใช้งานซอฟต์แวร์ ช่วยรวมศูนย์การจัดการสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) เพื่อความสะดวก และลดต้นทุนอีกด้วย
ผลการศึกษาจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนสำหรับซอฟต์แวร์ต่อปี ได้สูงถึงร้อยละ 30 โดยปฏิบัติตามแนวทางของการบริหารจัดการซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานสากล รวมถึงวางแผนการจัดหาและใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ
บีเอสเอเชื่อมั่นว่า ด้วยความร่วมมือกับรัฐบาลของประเทศในกลุ่มอาเซียน จะทำให้โครงการ “Legalize & Protect” ประสบความสำเร็จ ไม่เพียงแต่ยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของซอฟต์แวร์ แต่ยังช่วยให้องค์กรธุรกิจในอาเซียนมีความแข็งแกร่งและมีพลังมากยิ่งขึ้น ในการแข่งขันทางการค้าในระดับโลก
ที่มา : www.bsa.org วันที่ : 7 มีนาคม 2562
OPPO เตรียมเปิดตัว OPPO Pad 3 รุ่น Matte Display แท็บเล็ตตอบโจทย์ทุกการทำงานด้วย AI4 ชั่วโมงที่แล้ว
สรุปจุดเด่นและสเปค nubia Music 2 หน้าจอ 120Hz ลำโพง 3 ช่อง พลังเสียง 2.1 Channel เสียงดัง 95dB 6 ชั่วโมงที่แล้ว
กว่าจะเป็น HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนพับได้ที่ดีที่สุดในตอนนี้!!6 ชั่วโมงที่แล้ว
รีวิว POCO X7 หน้าจอ 120Hz กันน้ำ IP68 ได้กล้องหลัง 3 เลนส์ และกระจกหน้าจอ Gorilla Glass Victus 27 ชั่วโมงที่แล้ว
สรุปจุดเด่นและสเปค HONOR X9c Smart 5G คุ้มค่านะ กล้อง 108MP มี OIS หน้าจอ 120Hz ได้ RAM 24GB ราคาไม่ถึงหมื่นบาท8 ชั่วโมงที่แล้ว
ทำความรู้จัก TCL 505 vs TCL 505s หน้าจอ NXTVISION-90Hz ราคาต่างกัน 600 บาท
สรุปจุดเด่นและสเปค HUAWEI nova 13i หน้าจอ 90Hz กล้องความละเอียดสูงสุด 108MP ชาร์จเร็ว 40 วัตต์
รีวิว iQOO 13 5G สมาร์ทโฟนตัวแรง ดีไซน์สวย ที่มาพร้อมลูกเล่นไฟ Monster Halo
HONOR MagicBook X16 Plus และ X14 Plus พลังแห่งประสิทธิภาพในดีไซน์สุดบางเบา