แก็ดเจ็ต (Gadget) | วันที่ : 25 กันยายน 2555
ไอบีเอ็ม ชี้แนวโน้มทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกไปสู่ยุคที่เศรษฐกิจเชื่อมโยงถึงกันอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น (connected economy) กระแสของการทำธุรกิจแบบไร้พรมแดน หรือ globalisation และความก้าวหน้าทาง technology ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสื่อสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้คน และวิธีการทำงาน เรากำลังเข้าสู่ภาวะที่สังคม เศรษฐกิจ และ ธุรกิจเชื่อมโยงถึงกันได้หมด ทำให้โลกก้าวสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ รวมทั้ง AEC 2015 ที่กำลังเกิดขึ้นในอีก 3 ปี ข้างหน้าทำให้ธุรกิจไทยต้องปรับตัว หาแนวทางใหม่ เพื่อสร้างความความเติบโต และแข่งขันได้ ในตลาดโลก ในโอกาสครบ 60 ปี ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จึงได้นำเสนอ ผลการสำรวจความคิดเห็นครั้งสำคัญ ของซีอีโอทั่วโลก กว่า 1,700 คนจาก 64 ประเทศและ 18 กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งระบุว่าบรรดาผู้บริหารระดับซีอีโอกำลังเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำงานด้วยการเพิ่มความโปร่งใส การเปิดกว้าง และขยายขีดความสามารถของพนักงาน เพื่อปรับเปลี่ยนจากแนวทางการสั่งการและควบคุมแบบเดิมๆ ซึ่งเป็นรูปแบบการบริหารที่ถูกใช้ในองค์กรยุคใหม่มานานกว่าหนึ่งศตวรรษ การชี้ทิศทางธุรกิจดังกล่าวนี้ จะเป็นประโยชน์กับนักธุรกิจในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำพาองค์กรให้สามารถเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ดำเนินธุรกิจมาครบ 60 ปี ในปีนี้ จากการที่ไอบีเอ็มเป็นองค์กรของความก้าวหน้า และมีปณิธานที่แน่วแน่ในการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยที่คิดค้นสร้างสรรค์มาช่วยให้องค์กรธุรกิจ และโลกของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอด 60 ปีที่ผ่านมา ไอบีเอ็มได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลไทย องค์กร และภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้แก้ไขปัญหาที่ท้าทายและซับซ้อน พร้อมทั้งเสริมสร้างศักยภาพในด้านต่างๆ ด้วยหลักการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานและค่านิยมของเราในการสร้างความก้าวหน้าให้กับลูกค้า พันธมิตร และตอบแทนให้กับประเทศชาติ”
นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจแล้ว ไอบีเอ็มยังทำงานเคียงคู่ลูกค้าและพันธมิตร สิ่งหนึ่งที่ไอบีเอ็มภาคภูมิใจคือ การมอบองค์ความรู้ด้านการทำธุรกิจที่โดดเด่น จากสถาบันเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBM Institute for Business Value) ที่ประกอบไปด้วยทีมนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ กว่า 50 คน ทำการศึกษาวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อชี้ให้เห็นถึงสภาวะธุรกิจในอนาคต ความท้าทาย และวิธีการเตรียมความพร้อมและรับมือกับปรากฎการณ์ที่จะเกิดขึ้น ผลงานจากหน่วยงาน IBV นี้ช่วยให้ผู้บริหารได้มุมมองและข้อมูลใหม่ในการทำธุรกิจในอนาคต ช่วยให้ข้อมูลว่าธุรกิจต้องเผชิญกับอะไรบ้าง และควรที่จะรับมืออย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น
การนำเสนอแนวคิดของซีอีโอ ครั้งนี้เป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำของไอบีเอ็ม ด้านนวัตกรรมการทำธุรกิจ ที่นำมาถ่ายทอดให้กับนักธุรกิจไทย ผลการศึกษาของไอบีเอ็มเผยให้เห็นว่าเทคโนโลยีถูกมองว่าเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร โดยซีอีโอกว่าครึ่งหนึ่งทั้งจากทั่วโลกและในอาเซียน มีแผนที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสะดวกในการร่วมมือและประสานงานกับองค์กรภายนอก ในขณะที่ 47 เปอร์เซ็นต์ ของซีอีโอในอาเซียน กำลังปรับเปลี่ยนการมุ่งเน้นเพื่อส่งเสริมการประสานงานร่วมกันภายในองค์กรอย่างเหมาะสม
แนวโน้มดังกล่าวซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีข้อดีที่เห็นได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ ผลการสำรวจความคิดเห็นซีอีโอของไอบีเอ็ม (IBM CEO Study) ชี้ว่า บริษัทที่มีผลประกอบการดีกว่าบริษัทอื่นๆ มีแนวโน้มมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ที่จะระบุว่าการเปิดกว้าง (Openness) ซึ่งหมายถึงการใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือสำคัญในการประสานงานและสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกัน ถือเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อองค์กรของตน ปัจจุบัน ผู้บริหารซีอีโอกำลังปรับใช้รูปแบบใหม่ในการทำงาน โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกภายในองค์กรและเครือข่ายเพื่อคิดค้นแนวคิดและโซลูชั่นใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลกำไรและขยายธุรกิจให้เติบโต
ผลสำรวจพบว่า ซีอีโอจะเปลี่ยนจากการใช้อีเมลและโทรศัพท์ที่เดิมเป็นช่องทางหลักในการสื่อสาร เพื่อกระชับความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้า คู่ค้า และพนักงานรุ่นใหม่ในอนาคต โดยหันไปใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์หรือโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นช่องทางใหม่สำหรับการติดต่อสื่อสารโดยตรง ปัจจุบันมีซีอีโอเพียงแค่ 16 เปอร์เซ็นต์ที่ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลบิสซิเนส (Social Business) เพื่อเชื่อมต่อกับลูกค้าแต่ละราย แต่คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มเป็น 57 เปอร์เซ็นต์ภายในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า แนวโน้มนี้มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอาเซียน ทั้งนี้เพราะคาดว่าการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในอาเซียนจะเพิ่มเป็น 68 เปอร์เซ็นต์จากอัตราปัจจุบัน 25 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ผู้บริหารซีอีโอในอาเซียนมีแผนที่จะปรับเปลี่ยนจากการติดต่อสื่อสารรูปแบบเดิมๆ ไปสู่การใช้โซเชียลมีเดีย ควบคู่ไปกับการติดต่อพบปะกันเป็นการส่วนตัว
หลังจากที่องค์กรต่างๆ ใช้ระบบควบคุมจากระดับบนสู่ระดับล่างมานานหลายทศวรรษ การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะแตกแขนงครอบคลุมหลายๆ แง่มุม ไม่ใช่เพียงแค่ซีอีโอเท่านั้น แต่ครอบคลุมทั้งในส่วนขององค์กร ผู้จัดการ และพนักงาน รวมไปถึงมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาทางด้านธุรกิจ และผู้ผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้บริหารซีอีโอตระหนักว่าการควบคุมสั่งการอย่างเข้มงวดไม่ได้ช่วยส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการปรับปรุงผลประกอบการด้านการเงิน ผู้บริหารเหล่านี้พบว่าโซเชียลเน็ตเวิร์กซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาสามารถรองรับการประสานงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริหารซีอีโอในภูมิภาคอาเซียนสามารถใช้ประโยชน์จากโซเชียลเน็ตเวิร์กและมุ่งเน้นการประสานงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกองค์กรร่วมกับลูกค้าและคู่ค้า”
การเปิดกว้างที่เพิ่มขึ้นอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงตามมา และทำให้เกิดช่องโหว่เพิ่มมากขึ้น อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งโซเชียลเน็ตเวิร์ก สามารถรองรับการติดต่อสื่อสารของพนักงานทั่วโลก ไม่ว่าในแง่บวกหรือแง่ลบ ดังนั้นพนักงานจึงต้องผสานรวมค่านิยมและพันธกิจขององค์กรเข้าไว้ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว เพื่อให้องค์กรดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยเหตุนี้ องค์กรจะต้องจัดหาแนวทางให้แก่พนักงาน เพื่อให้พนักงานสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในแต่ละวัน
ผู้บริหารซีอีโอในภูมิภาคอาเซียน มองว่าทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ในการประสานงานร่วมกัน จากความเห็นซีอีโอทั่วโลก 75 เปอร์เซ็นต์ อาเซียน 87 เปอร์เซ็นต์ และความคิดสร้างสรรค์ เป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้พนักงานประสบความสำเร็จในการดำเนินงานในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและมีความเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น
นางพรรณสิรี กล่าวว่า “ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างมากขึ้น ผู้บริหารซีอีโอจึงพยายามมองหาพนักงานที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ โดยซีอีโอมุ่งเน้นการค้นหาพนักงานที่มีความสามารถในการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองและผู้อื่นในขณะที่ก้าวเดินไปข้างหน้า”
เพื่อสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ องค์กรต่างๆ จำเป็นที่จะต้องรับสมัครและว่าจ้างพนักงานที่สามารถทำงานเป็นทีมในสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้าง และขณะเดียวกัน ผู้บริหารจะต้องสร้างและสนับสนุนแนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยให้พนักงานประสบความสำเร็จ เช่น กระตุ้นให้มีการจัดตั้งทีมงานในลักษณะที่แปลกใหม่ ส่งเสริมเทคนิคการเรียนรู้จากประสบการณ์ และเสริมสร้างการใช้เครือข่ายพนักงานที่มีประสิทธิภาพสูง
แนวโน้มของการประสานงานร่วมกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นครอบคลุมทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นอยู่ในระดับสูงสุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งนี้ กว่าสองในสามของซีอีโอทั่วโลก ที่ตอบแบบสอบถามของไอบีเอ็มมีแผนที่จะขยายความร่วมมืออย่างกว้างขวาง ในอาเซียน ตัวเลขนี้อยู่ในระดับสูงกว่าที่ 79 เปอร์เซ็นต์ โดยซีอีโอในภูมิภาคนี้มีเป้าหมายที่จะร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ อย่างกว้างขวางภายใต้กลยุทธ์หลักในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
ข้อมูลอื่นๆ ที่พบจากการสำรวจ นับตั้งแต่ที่ไอบีเอ็มเริ่มต้นสำรวจความคิดเห็นของซีอีโอเป็นครั้งแรกเมื่อหลายปีที่แล้ว พบว่าซีอีโอหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบัน 71 เปอร์เซ็นต์ของซีอีโอทั่วโลกมองว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะส่งผลกระทบต่ออนาคตขององค์กรในช่วง 3 ปีข้างหน้า โดยนับเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญกว่าสภาพเศรษฐกิจและสภาพตลาด
ปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่ต้องรับมือกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้บริหารซีอีโอจึงตระหนักถึงความจำเป็นในการใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (Business Analytics) ที่ก้าวล้ำ เพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่ถูกตรวจสอบติดตามทางออนไลน์ บนสมาร์ทโฟน และบนไซต์โซเชียลมีเดีย เจ็ดในสิบของซีอีโอ กำลังดำเนินการลงทุนอย่างจริงจัง เพื่อกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้าจากข้อมูลดิบที่มีอยู่
แม้ว่าผู้บริหารซีอีโอในอาเซียน 68 เปอร์เซ็นต์เห็นพ้องต้องกันว่า เทคโนโลยี เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรของตน แต่ขณะเดียวกัน ผู้บริหารจากทั่วโลก: 69 เปอร์เซ็นต์ ผู้บริหารในอาเซียน 87 เปอร์เซ็นต์ก็มองว่าทักษะ เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยเกี่ยวกับตลาด ทักษะของบุคลากรยังคงอยู่ในอันดับที่สูงกว่าสำหรับประเทศต่างๆ ในอาเซียน ขณะที่ภูมิภาคนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มีทักษะความชำนาญ ผู้บริหารในภูมิภาคอาเซียน 72 เปอร์เซ็นต์ ยังระบุด้วยว่าทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนสำหรับองค์กร ดังนั้นจึงคาดการณ์ได้ว่าจะมีความต้องการที่สูงมากสำหรับบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในภูมิภาคอาเซียน
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.ibm.com วันที่ : 25 กันยายน 2555
Xiaomi Watch S4 41mm สมาร์ทวอทช์ดีไซน์เล็กเหมาะกับผุ้หญิง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วยชิป Xring T1
รีวิว HUAWEI FreeBuds 6 นิยามใหม่ของหูฟัง Open-Fit เสียงระดับไฮเอนด์ พร้อมที่สุดแห่งการตัดเสียงรบกวน
LG xboom Grab และ xboom Bounce ลำโพงพกพาสุดล้ำที่มาพร้อม AI และเสียงซิกเนเจอร์จาก will.i.am
HONOR Watch 5 Ultra สมาร์ทวอทช์ขอบ 8 เหลี่ยม บอดี้ไทเทเนียม มีโหมด Free Diving ลึก 40 เมตร
รีวิว Xiaomi 33W Magnetic Power Bank 10000 แบตสำรองคู่ใจในยุคดิจิทัล
HONOR CHOICE Earbuds Clip หูฟังไร้สายแบบคลิป แกนไทเทเนียม ใส่สบายใช้งานยาวๆ 36 ชม.
vivo X200 FE สมาร์ทโฟนไซต์ Compact สเปคแรง ได้กล้องสวยๆ แบบฉบับ ZEISS
Samsung Galaxy Z Fold 7 หลุดเครื่องดัมมี่ จับเทียบหนาบางกับ Galaxy Z Fold 6
Infinix Hot 60i เปิดตัวแล้ว จอ 120Hz ชิปฯ แรง กล้อง 50MP ในราคาที่ต้องว้าว
Trump Mobile T1 Phone สมาร์ทโฟนสัญลักษณ์ ของประธานาธิบดีคนที่ 47
Xiaomi Pad 7S Pro แท็บเล็ตขุมพลัง Xring O1 หน้าจอใหญ่ 12.5 นิ้ว รีเฟรช 144Hz
OPPO K13x สมาร์ทโฟนพันธุ์แกร่งเกรดกองทัพ กันน้ำ IP65 จอ 120Hz ในราคาที่ทุกคนเป็นเจ้าของได้