แก็ดเจ็ต (Gadget)  |   วันที่ : 25 ธันวาคม 2555

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

ไอบีเอ็มเปิดตัวบริการคลาวด์ Platform as a Service (PaaS) ภายใต้ชื่อ “IBM SmartCloud Application Services” ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างและปรับใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ของตนเองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้แพลตฟอร์มคลาวด์คอมพิวติ้ง PaaS ของไอบีเอ็ม ซึ่งครอบคลุมทั้งในส่วนของมิดเดิลแวร์ ระบบตรวจสอบ เครือข่าย เซิร์ฟเวอร์ และสตอเรจอย่างครบวงจร เพื่อให้องค์กรพร้อมรับมือ กับโลกที่เกิดความยุ่งยากซับซ้อนจากการถาโถมด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล และการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างรวดเร็วมากขึ้น ทำให้องค์กรมีความจำเป็นในการเพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ซึ่งต้องอาศัยระบบคลาวด์คอมพิวติ้งในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า แพลตฟอร์มในรูปแบบของบริการ Platform as a Service

ภายใต้ SmartCloud Application Services ไอบีเอ็มได้รวมความเชี่ยวชาญไว้ในชุดบริการร่วมและแพทเทิร์นที่ผนวกรวมไว้แล้ว ซึ่งจะช่วยเร่งการพัฒนาและส่งมอบแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ พร้อมทั้งขจัดข้อผิดพลาดที่เกิดจากบุคลากร และช่วยให้ได้รับผลลัพธ์ที่สอดคล้องกัน แพทเทิร์นของแอพพลิเคชั่นเหล่านี้สามารถปรับใช้กับระบบคลาวด์สาธารณะ ด้วย IBM SmartCloud Enterprise หรือใช้กับระบบคลาวด์ภายในองค์กร ด้วย IBM PureApplication System หรือผ่านทาง IBM Workload Deployer เนื่องจากความต้องการของแต่ละแอพพลิเคชั่นย่อมแตกต่างกัน แพทเทิร์นที่ปรับแต่งได้และรองรับหลายแพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการปรับใช้แอพพลิเคชั่นได้อย่างยืดหยุ่นและครบถ้วนสมบูรณ์    

ผลการศึกษาชุดใหม่ของไอบีเอ็ม Center for Applied Insights จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารฝ่ายไอทีกว่า 1,500 คนจาก 18 ประเทศ พบว่าผู้บริหารฝ่ายไอทีที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลพร้อมที่จะปรับใช้ PaaS ในทันทีเพื่อเพิ่มความได้เปรียบทางด้านธุรกิจ พร้อมทั้งระบุว่าข้อมูลจำนวนมหาศาล หรือบิ๊กดาต้า (Big Data) คือเหตุผลสำคัญอันดับ 1 ในบรรดาโครงการสำคัญๆ ที่องค์กรตั้งเป้าหมายเอาไว้ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ว่า เกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามกำลังใช้ PaaS อยู่ในปัจจุบัน และกว่าครึ่งหนึ่งรับทราบเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่นี้

ผู้บริหารในส่วนงานธุรกิจและเทคโนโลยีเริ่มที่จะมองหาระบบคลาวด์คอมพิวติ้งรูปแบบใหม่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการประมวลผล และเร่งการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ทั้งนี้ PaaS แตกต่างจากบริการคลาวด์คอมพิวติ้งอื่นๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบของบริการ (Infrastructure as a Service) และซอฟต์แวร์ในรูปแบบของบริการ (Software as a Service) โดย PaaS นำเสนอรากฐานของบริการแอพพลิเคชั่น เครื่องมือ และเทมเพลต สำหรับให้องค์กรต่างๆ เช่าและสร้างโปรแกรมซอฟต์แวร์ของตนเองได้อย่างรวดเร็ว และปรับใช้บนสภาพแวดล้อมได้อัตโนมัติ

ผลการศึกษาระบุว่า 49 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารฝ่ายไอทีตระหนักถึงความสำคัญของ PaaS ซึ่งเป็นหนทางที่จะช่วยผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรมและปรับปรุงอายุการใช้งานแอพพลิเคชั่นทั้งหมดทั่วทั้งองค์กร ปัจจุบันผู้บริหารเหล่านี้กำลังพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ PaaS เป็นแนวทางในทางปฏิบัติสำหรับการขยายระบบในอนาคต ผู้บริหารฝ่ายไอทีเชื่อว่า PaaS จะสร้างความแตกต่างและก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจอย่างมาก เพราะจะสร้างมาตรฐานสำหรับการพัฒนา ปรับใช้ ผลิต และบำรุงรักษา

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจบริการ บริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “เช่นเดียวกับที่ผู้ผลิตรถยนต์ใช้แพลตฟอร์มหรือแชสซีร่วมกันเพื่อผลิตรถยนต์หลากหลายรุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ PaaS จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถกำหนดมาตรฐานสำหรับแพลตฟอร์มไอทีของตนเอง และนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้อย่างเหนือชั้น โดยไอบีเอ็มมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนแพลตฟอร์มคลาวด์ให้รองรับการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม เพื่อผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจบนแอพพลิเคชั่นหลักๆ ขององค์กร หนึ่งในคุณประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของ PaaS ก็คือ ความสามารถในการใช้แพทเทิร์น ซึ่งช่วยให้มีเทมเพลตที่ผ่านการทดสอบแล้วสำหรับเริ่มต้นการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เฉพาะเจาะจงได้ทันทีภายในเวลาอันรวดเร็ว ด้วยคุณสมบัติที่ดีของระบบคลาวด์ ถ้าคุณเป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านการเงิน และคุณต้องการโมบายล์แอพพลิเคชั่นสำหรับลูกค้าที่ต้องการค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับการออมเงินในรูปแบบต่างๆ คุณก็คงไม่อยากเริ่มต้นตั้งแต่ศูนย์ แพทเทิร์นของ PaaS จะช่วยให้คุณมีชุดเครื่องมือที่พร้อมสรรพสำหรับการสร้างโมบายล์แอพพลิเคชั่นได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากสำหรับเทคโนโลยี”

ดูรายงานวิจัยเกี่ยวกับ PaaS ของไอบีเอ็มได้ที่ www.ibm.com/cai/paas

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่