หมวดอื่นๆ (Other) | วันที่ : 26 มีนาคม 2556
การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่บางครั้งอะไรที่มากเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดี จากผลการสำรวจพบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของคนหนุ่มสาวมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างน้อย 10 ชั่วโมงต่อวัน และ1 ใน 4 เป็นพวกที่ไวต่อการสื่อสารในทุกๆ ทาง ไม่ว่าจะเป็น เช็คอีเมล์, ส่งข้อความ, แชท ฯลฯ โดยพวกเขาหรือเธอจะทราบทุกการติดต่อสื่อสารภายใน 5 นาทีหลังจากตื่นนอน การทำแบบนี้หลายคนอาจสงสัยว่ามันมีผลต่อความเครียดบ้างหรือไม่ ?
ผลการศึกษาพบว่าเมื่อห้ามคนหนุ่มสาวไม่ให้ใช้เทคโนโลยีสื่อสารเช่นโทรศัพท์หรือสมาร์ทโฟนเพียงระยะเวลา 24 ชั่วโมง คนส่วนใหญ่ในกลุ่มนั้นจะเริ่มแสดงออกทางร่างกายและเกิดความเศร้าซึมขึ้นโดยไม่รู้ตัว! ฟังดูอาจเป็นเรื่องตลกร้ายของบางคน เพราะไม่ทราบว่าตัวเองกำลัง "เสพติด" โทรศัพท์หรือสมาร์ทโฟน ซึ่งการเสพติดเทคโนโลยีอาจกลายเป็นการเพิ่มความเครียดโดยไม่ได้ตั้งใจ
6 อาการที่บ่งชี้ว่าสมาร์ทโฟนอาจจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คุณเครียด
1. รู้สึกว่าต้องตอบ..โดยด่วน หรือโดยทันที
บางคนที่ทำงานหรือเรียนอยู่ มักจะวางโทรศัพท์ไว้ใกล้ตัว และแม้ขณะที่กำลังทำอะไรบางอย่าง หากมีเสียงการแจ้งเตือนดังขึ้น คุณจะทิ้งทุกอย่างที่ทำอยู่และหันไปสนใจกับโทรศัพท์ทันทีแม้ไม่ได้ตั้งใจก็ตาม การวิจัยพบว่าการกระทำดังกล่าวมีส่วนไปกระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดแรงขึ้นแบบไม่ตั้งใจ วิธีการแก้ไขทำได้ไม่ยาก เพียงแค่ใช้สติและเวลาสักครู่ในการทบทวนและเตือนตัวเองว่ามันอาจจะไม่ใช่เรื่องด่วนอะไรขนาดนั้น และจากการศึกษาพบว่าการวางโทรศัพท์ห่างจากเตียงนอนสักหน่อย หรือการเก็บโทรศัพท์ไว้ในกระเป๋าสะพายแทนกระเป๋ากางเกงก็ช่วยลดอาการเสพติดโทรศัพท์ได้
2. คิดไปเองว่าโทรศัพท์ดังหรือมีเสียงเตือน/สั่น
เมื่อคุณรู้สึกว่าโทรศัพท์ที่ใส่ในกระเป๋ากางเกงสั่นหรือดังขึ้น แต่พอหยิบออกมาดู ความจริงกลับไม่มีการแจ้งเตือนใดๆ เลย อาการแบบนี้ฟ้องว่าคุณกำลังเสพติดเทคโนโลยี ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Indiana University-Purdue University Fort Wayne พบว่าร้อยละ 89 ของวัยรุ่นเคยเจอประสบการณ์แบบนี้กับตัวเอง
3. กลัวถูกเพื่อนลืม (FOMO หรือ Fear to miss out)
เมื่อโพสต์ภาพหรือสถานะบน Facebook แล้วหลังจากนั้นไม่กี่นาทีก็เช็คว่ามีใครเห็นหรือกดไลค์บ้าง แต่กลับไม่มีคนกดไลค์ให้เลย ถ้าคุณเป็นคนที่กังวลกับเรื่องแนวๆ นี้แล้วละก็แสดงว่านี่คืออาการของโรค FOMO (Fear to miss out) หรืออาการกลัวถูกทิ้งหรือถูกลืมโดยเพื่อน สังคม โซเชียลเน็ตเวิร์คทั้งหลาย ซึ่งวิธีการรักษาคือให้ลดการใช้ชีวิตออนไลน์และหันมาใส่ใจกับสิ่งรอบตัวและสังคมแห่งความจริงมากขึ้น การนั่งคุย ทานข้าว ออกกำลังกายกับครอบครัวหรือเพื่อนๆ เป็นวิธีรักษาโรค FOMO ได้เป็นอย่างดี
4. เล่นโทรศัพท์โดยไม่สนใจคนรอบข้างพูด
ในการทานอาหารร่วมกับเพื่อนหรือครอบครัว ถ้าคุณเล่นโทรศัพท์มากจนไม่ทราบว่าพวกเขาคุยอะไรกัน หรือบางทีก็เงยหน้าแล้วพยักหน้ารับเพื่อบอกว่าคุณก็ฟังอยู่ แล้วก็กลับไปใส่ใจกับหน้าจอโทรศัพท์ต่อ พฤติกรรมแบบนี้ไม่ดีทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต นอกจากจะทำให้กระเพาะอาหารทำงานแย่ลงอาจทำให้สรีระส่วนหลังโค้งงอโดยไม่ตั้งใจ ที่สำคัญยังทำให้สูญเสียบรรยากาศในการทานอาหาร บางคนถึงขั้นเลิกกับแฟนก็มีมาให้เห็นแล้ว
5. รู้สึกร้อนรุ่มกังวลเมื่อห่างจากโทรศัพท์
หากคุณรู้สึกกระสับกระส่ายเมื่อห่างจากโทรศัพท์และพยายามจะนำโทรศัพท์วางให้อยู่ใกล้มือตลอดเวลา แม้กระทั่งยามนอนก็วางใต้หมอน, หยิบติดมือไปด้วยแม้เข้าห้องน้ำ, วางบนโต๊ะทานข้าว เหล่านี้เป็นต้น วิธีแก้คือเปลี่ยนนิสัยการใช้งาน และหันไปออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมผ่อนคลายจิตใจบ้างเพื่อไม่ให้กังวลเรื่องโทรศัพท์จนเกินไป
6. ผลการเรียนดรอปลง
ย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว นักเรียนทั้งหลายอาจจะแหกกฏได้มากที่สุดคือการแอบคุยโทรศัพท์ในห้องเรียน แต่มาวันนี้เมื่อมองไปแทบทุกห้องเรียนในเมือง มีนักเรียนนักศึกษาที่ใช้สมาร์ทโฟน iPhone, Samsung Galaxy, HTC , Sony, .... และใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คเอย แชทเอย ฯลฯ ทำให้ไขว้เขวกันไปข้างหนึ่ง แม้จะมีการศึกษาที่แย้งว่าการไม่มีโทรศัพท์มือถือจะส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ก็ตาม แต่มองในมุมกลับกัน เราจะฟังครูหรืออาจารย์อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจถี่ถ้วนอย่างไรหากไม่ตั้งใจฟัง คำแนะนำในการแก้ปัญหาข้อนี้ง่ายมากคือเก็บโทรศัพท์ใส่กระเป๋าและทุ่มเทให้กับการเรียน โทรศัพท์สามารถเล่นในเวลาอื่นก็ได้ที่ไม่ใช่ห้องเรียน
คุณมีอาการใน 6 ข้อนี้บ้างหรือเปล่า แล้วคิดจะหาทางแก้หรือยัง อย่าให้เทคโนโลยีพาคุณไปผิดทาง เพราะว่าเวลาไม่สามารถย้อนกลับมาได้ บางทีการรู้ตัววันนี้ ยังดีกว่ารู้ตัวช้า เมื่อวันที่คนรอบข้างไม่สนใจคุณ เพราะว่าคุณเองเอาแต่ "เล่นมือถือ ไม่สนใจใคร" อยู่อย่างนั้น..
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.huffingtonpost.com วันที่ : 26 มีนาคม 2556
Samsung Galaxy M36 5G ใช้ชิปเซ็ต Exynos 1380 กลับมาใช้ดีไซน์โมดูลกล้องแบบนูนขึ้น
Ai+ แบรนด์สมาร์ทโฟนใหม่ จ่อเปิดตัว 8 ก.ค. นี้ ชูจุดเด่นผลิตในอินเดีย ราคาเริ่มต้นไม่ถึง 2,xxx บาท
vivo X Fold5 สมาร์ทโฟนจอพับ ใช้ชิปเก่าแต่เบาบาง แถมมีแบตเตอรี่ใหญ่ถึง 6000mAh
vivo X200 FE เปิดตัวในไทย เครื่องเล็กน่าจับใช้งาน พร้อมกล้อง ZEISS ทุกตัว
รีวิว vivo X200 FE สมาร์ตโฟนไซส์กะทัดรัด ประสิทธิภาพระดับโปร
POCO F7 สมาร์ทโฟนพลังเหนือชั้นในดีไซน์ล้ำสมัย ในราคาพิเศษเริ่มต้น 13,xxx
HONOR Watch 5 Ultra สมาร์ทวอทช์ขอบ 8 เหลี่ยม บอดี้ไทเทเนียม มีโหมด Free Diving ลึก 40 เมตร
vivo T4 Lite 5G สมาร์ทโฟน 5G ราคาประหยัด หน้าจอ 6.74 นิ้ว 90Hz แบตฯ 6000mAh
iQOO Z10 Lite สมาร์ทโฟน 5G รุ่นเล็ก ชิปเซ็ต Dimensity 6300 ได้แบตเตอรี่ 6000mAh
TCL เปิดตัว NXTPAPER 11 Plus แท็บเล็ตจอใหญ่ 11 นิ้ว ถนอมสายตา ในราคาต่ำหมื่น
HUAWEI Pura 80 น้องเล็กในซีรี่ย์ กล้องยังมีดีแม้เซนเซอร์ไม่ใหญ่เท่ารุ่นพี่
POCO F7 เปิดตัวพร้อมปล่อยโปร Early-Bird ตัวแรงชิป Snapdragon 8s Gen 4 ในราคาเอื้อมถึง