แก็ดเจ็ต (Gadget) | วันที่ : 13 พฤษภาคม 2556
Software Park เปิดตัวผู้อำนวยการคนใหม่ ชูวิสัยทัศน์ปรับเปลี่ยนธุรกิจซอฟต์แวร์ยุคใหม่ กางแผน 3 ปีสร้างรายได้ซอฟต์แวร์ไทยกว่า 3 พันล้านบาท ขอเป็นประตูหรือ Gateway ซอฟต์แวร์ไทยสู่ตลาดระดับโลก ขยายฐานกลุ่มเป้าหมายดันเด็กมัธยม-นักศึกษาสร้างโปรแกรมยุคใหม่
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือสวทช. เปิดเผยว่า การแต่งตั้งคุณเฉลิมพล ตู้จินดา ขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์คคนใหม่ในครั้งนี้เป็นการที่สวทช.ซึ่งเป็นองค์กรแม่ต้องการให้ซอฟต์แวร์พาร์คเข้ามาตอบโจทย์ใหม่ให้กับประเทศไทย ภายใต้แนวคิด Software Park Gateway to Global โดยต้องสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ 3,000 ล้านบาทภายใน 3 ปี
ซอฟต์แวร์พาร์คจะต้องเป็นหน่วยงานที่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของประเทศ ในการที่จะผลักดันประเทศรอดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) เนื่องจากอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์สามารถสร้างรายได้ก้าวข้ามด้วยตัวเองและยังเป็นส่วนประกอบให้ภาคธุรกิจอื่นขยายตัว ได้มากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนั้นยังต้องนำพาประเทศไปสู่การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Growth) เนื่องจากพื้นฐานของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว และเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็เอื้อต่อการทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตามยุคใหม่ของซอฟต์แวร์พาร์คในครั้งนี้เกิดจากการที่เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงานอย่างมาก ตั้งแต่การหมดยุคของเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี ไปจนถึงการเติบโตของอินเทอร์เน็ตไปสูระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง และบิ๊กเดต้าในที่สุด รวมถึงการเติบโตอย่างยิ่งของโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ซึ่งบทบาทของซอฟต์แวร์พาร์คไม่เพียงแต่ชี้นำอุตสาหกรรมถึงการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่ต้องเข้าไปปรับแต่งลักษณะธุรกิจทั้งในส่วนของภาคซอฟต์แวร์และภาคธุรกิจทั่วไปให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้
นอกจากนั้นสิ่งที่ท้าทายซอฟต์แวร์พาร์คยุคใหม่ก็คือ การรองรับแนวคิดธุรกิจซอฟต์แวร์ไร้พรหมแดน ซอฟต์แวร์พาร์คจะต้องไม่มุ่งเน้นการส่งเสริมการตลาดซอฟต์แวร์เฉพาะในประเทศหรือภูมิภาคอาเซียนตามการเปิดเสรีทางการค้าในภูมิภาคนี้เหมือนเช่นอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่ต้องมองข้ามไปสู่ระดับโลก ต้องสร้างตลาดและเครือข่ายต่างๆ ให้รองรับ เนื่องจากการใช้ซอฟต์แวร์ปัจจุบันเป็นระบบสากลแล้ว กลุ่มเป้าหมายการทำงานของซอฟต์แวร์พาร์คในยุคใหม่จะมีความชัดเจนมากขึ้น สิ่งที่ท้าทายคือการต้องทำให้ Big Communities หรือกลุ่มสังคมขนาดใหญ่มีธุรกิจซอฟต์แวร์เข้าไปเกี่ยวข้องและใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ โดยในช่วงแรกนั้นสวทช.คาดหวังให้ซอฟต์แวร์พาร์คต้องเข้าไปเร่งนำเทคโนโลยีสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มสังคมของธุรกิจท่องเที่ยว medical และการเกษตร ให้มีการเติบโตอย่างเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันเป้าหมายในเชิงคุณภาพเพื่อความสามารถในการแข่งขันก็ต้องดำเนินการต่อไป โดยแผน 3 ปีของซอฟต์แวร์พาร์คตั้งเป้าหมายการสร้างมาตรฐาน CMMI ให้กับภาคธุรกิจซอฟต์แวร์ต้องมีการขยายตัวในระดับสูงมากขึ้นไม่น้อยกว่า 15 บริษัท ต้องสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านโมบายล์และคลาวด์คอมพิวติ้งไม่ต่ำกว่า 1,700 คน อีกทั้งต้องเร่งสร้างผู้บริหารระดับกลางของธุรกิจซอฟต์แวร์เพื่อรองรับ AEC จำนวนไม่ต่ำกว่า 150 คน ซึ่งถือเป็นเป้าหมายใหม่ที่ท้าทายอย่างมาก
สุดท้ายซอฟต์แวร์พาร์คต้องมีผลงานกับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์โดยตรงให้มากที่สุด ซึ่งเป้าหมายในช่วงสั้นนี้ซอฟต์แวร์พาร์คต้องเร่งสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มีศักยภาพให้เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันอย่างน้อย 200 ราย ซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่ม Startups เกิดขึ้นจำนวนมาก และที่สำคัญทั้งภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ต้องสร้างรายได้ให้กับประเทศ 3,000 ล้านบาทภายใน 3 ปีนี้ โดยซอฟต์แวร์พาร์คต้องดำเนินกลยุทธ์และสร้างแผนงานที่เอื้อกับภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด
นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค เปิดเผยว่า แนวคิด Software Park Gateway to Global เป็นความต้องการให้ซอฟต์แวร์พาร์คทำหน้าที่เป็นด่านแรกสำหรับธุรกิจซอฟต์แวร์ไทยในการรุกตลาดโลก ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงโครงข่ายระดับโลกที่จำเป็นกับวงการซอฟต์แวร์ไทยเข้ามา ซึ่งในช่วงปีแรกจะเน้นการสร้างระบบฐานข้อมูลในประเทศแบบเจาะลึก ซึ่งอาศัยความใกล้ชิดกับธุรกิจซอฟต์แวร์ของซอฟต์แวร์พาร์คเป็นจุดแข็ง และปีต่อไปจะทำให้ช่องทางของซอฟต์แวร์พาร์คนี้กลายเป็นระบบอัจฉริยะ หรือ Business Intelligence และนำไปสู่การเป็นช่องทางการค้าระบบซอฟต์แวร์ที่สมบูรณ์ขึ้นในปีที่ 3
แนวทางของซอฟต์แวร์พาร์คในยุคนี้จะเน้นใน 3 ประเด็นหลักๆคือ
1) การช่วย Shaping business หรือการปรับเปลี่ยนแนวทางธุรกิจของซอฟต์แวร์ใหม่ๆ
2) การเป็น Market Place หรือการสร้างตลาดแนวทางใหม่ให้แก่บริษัทซอฟต์แวร์
3) การสร้างตัวเร่งให้กับบริษัทซอฟต์แวร์ สำหรับจุดเด่นของซอฟต์แวร์คือกระบวนการในการพัฒนาผู้ประกอบการ การจัดหลักสูตรใหม่ๆ และ ความคิดและความตั้งใจของทีมงานซอฟต์แวร์พาร์คที่ต้องการให้ผู้ประกอบการหรือผู้เข้ามาใช้บริการของซอฟต์แวร์พาร์คทุกรายนั้นประสบความสำเร็จ
การปรับเปลี่ยนแนวทางธุรกิจของซอฟต์แวร์นั้นจะเน้นในด้านการคิดหารูปแบบธุรกิจใหม่ๆที่มีความแตกต่างสามารถขายได้ในตลาดทั้งในและต่างประเทศได้ ซอฟต์แวร์พาร์คจะเพิ่มการอบรมกลุ่มธุรกิจซอฟต์แวร์ในด้านการสร้างแบรนด์สินค้า การตลาดดิจิตอลแนวใหม่ การให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งซอฟต์แวร์พาร์คจะเข้าไปรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจซอฟต์แวร์ระดับ Enterprise หรือซอฟต์แวร์สำหรับภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่มักเป็นธุรกิจที่อยู่ในวงการมานาน และสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัทซอฟต์แวร์ยุคใหม่ที่ต้องเข้าสู่ระดับโลกให้มีประสบการณ์และตัวช่วยที่เหมาะสม
สำหรับกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่ซอฟต์แวร์พาร์คจะให้ความสำคัญมากขึ้นนอกจากกลุ่มซอฟต์แวร์เอ็นเตอร์ไพร์ซ ก็คือกลุ่มเล็กที่เริ่มตั้งแต่ระดับ Start-up ไปจนถึงเด็กนักเรียนที่มีความต้องการจะเข้าสู่ตลาดซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะด้านโมบายล์ และ Social หรือแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้บริโภค (Consumer application) มากขึ้น เนื่องจากกลุ่มนี้มีความต้องการการสนับสนุนที่แตกต่างออกไป โดยซอฟต์แวร์พาร์คได้จัดทั้งโครงการประกวด และแผนการฝึกอบรม และการให้คำปรึกษาที่เฉพาะทางกับกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้น และหากมีนักลงทุนหรือ Venture Capital ให้ความสนใจซอฟต์แวร์พาร์คก็สามารถเป็นองค์กรด่านแรกที่จัดส่งบุคลากรกลุ่มนี้ให้โดยทันที ซอฟต์แวร์พาร์ค คาดว่าจะสามารถสร้างการผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ได้ถึง 200 ราย และจะสามารถสร้างรายได้ถึง 1,000 ล้านบาทภายใน 3 ปี
การเป็น Market Place ให้แก่บริษัทซอฟต์แวร์คือการนำเอาใช้จุดแข็งของความเป็นพาร์คให้เป็นจุดกลางในการทำกิจกรรมให้เกิดการพบปะเชื่อมต่อธุรกิจซอฟต์แวร์ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงพันธมิตรในประเทศและต่างประเทศด้วย โดยเครื่องมือหลักคือการจัดระบบเครือข่าย หรือ Networking ใหม่ ให้มีความร่วมมือกันมากกว่าการจับคู่ธุรกิจ หรือ Business Matching ธรรมดา แต่เป็นโครงข่ายเชิงธุรกิจที่มีความถาวรยั่งยืนมากขึ้น โดยเครือข่ายต่างประเทศที่จะเข้ามาจะต้องเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล และมีการจัดระดับความต้องการเอาไว้ตลอดเวลาเพื่อทำให้การจับคู่ธุรกิจเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น มีการเชื่อมกับแหล่งทุนต่างๆ มีการทำ Co-Incubation ซึ่งทำให้ซอฟต์แวร์ไทยที่อยู่ในเครือข่ายของซอฟต์แวร์พาร์คไปใช้บริการ Incubation Center หรือศูนย์บ่มเพาะทางธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับซอฟต์แวร์พาร์คได้ทันที ในโครงการ ASEAN co-incubation (ASCIA) ซึ่งปัจจุบันตอนนี้ได้เริ่มก่อตั้งแล้ว 3 ประเทศ และซอฟต์แวร์พาร์คจะเป็นส่วนสำคัญในการขยายเข้าตลาดรัฐบาลอิเล็คโทรนิค โครงต่างๆในด้านนี้คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ได้ไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาทภายใน 3 ปี
การสร้างตัวเร่งให้กับบริษัทซอฟต์แวร์คือการเร่งการพัฒนาบุคลากรในด้าน การออกแบบการใช้งาน และการบริหารทีมงาน ควบคู่ไปกับการอบรมเชิงเทคนิคด้านต่างๆ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือทีมงานหรือบุคลากรทางเทคนิคที่ขึ้นมาเป็นผู้บริหารระดับกลางประมาณ 150 คนที่ต้องการให้มีความสามารถในด้านการจัดการแรงงานจากต่างประเทศ เพื่อทำให้ไทยสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนเองได้เร็วและมากขึ้นโดยสามารถบริหารงานและกระจายงานด้านซอฟต์แวร์ออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม AEC ได้ โดยกลุ่มนี้จะมาเรียนรู้เรื่อง Soft skill หรือการบริหารงานเชิงวัฒนธรรมระหว่างประเทศมากขึ้น และการพัฒนาความรู้และทักษะด้าน Cloud Computing ด้านการพัฒนาและการดูแลให้บริการระบบ รวมถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ Mobile ต่างๆอีก 1,500 คนในระยะเวลา 3 ปี นอกเหนือจากการพัฒนาความรู้ความสามารถในด้านเทคนิคอื่นๆของซอฟต์วร์พาร์คที่มีมีอยู่ก่อนนี้แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการยกระดับแรงงานทางด้านไอทีของไทยขึ้นมาอีกระดับ การเพิ่มทักษะด้านการออกแบบเพื่อให้ถูกรสนิยมของคนทั้งในและนอกประเทศได้มากขึ้น
เรื่องที่มีความสำคัญเร่งด่วนที่จะตอบนโยบายประเทศในด้านการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรมต่างๆ ขณะนี้ซอฟต์แวร์พาร์คและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดทำแพลตฟอร์มทางด้านเทคโนโลยีกลางของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อให้บริษัทซอฟต์แวร์ได้เข้ามาเชื่อมต่อและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของตนเอง เป็นการสร้างการตลาดแนวใหม่ของสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมในโครงการ Thailand One Click นอกจากนั้นจะมีการจัดการแพลตฟอร์มหรือ portal ทางด้านเทคโนโลยีด้านอื่นๆ เช่น กลุ่มแพลตฟอร์มทางด้านซอฟต์แวร์ภาคราชการ และอื่นๆ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศสูงสุด ส่วนบทบาทใหม่อีกบทบาทหนึ่งของซอฟต์แวร์พาร์คที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้คือ การเป็น Ecosystem Gateway หรือเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญในการสร้างระบบนิเวศน์ของ tech startup หรือ บริษัทเทคโนโลยีเกิดใหม่ โดยร่วมมือกับพันธมิตรในภาคเอกชนที่มีบทบาทในเมืองไทยให้เกิดการเชื่อมต่อของกิจกรรมระหว่างกันที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักๆ เช่น HUBBA, Launchpad, Microsoft, กลุ่มบริษัท Samart, Thumbup, Together VC และอื่นๆ เพื่อทำให้จิ๊กซอว์ในธุรกิจนี้เกิดความสมบูรณ์และอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลต่อธุรกิจซอฟต์แวร์ไทยและเศรษฐกิจไทยต่อไปในระยะยาว
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.swpark.or.th วันที่ : 13 พฤษภาคม 2556
Xiaomi Watch S4 41mm สมาร์ทวอทช์ดีไซน์เล็กเหมาะกับผุ้หญิง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วยชิป Xring T1
รีวิว HUAWEI FreeBuds 6 นิยามใหม่ของหูฟัง Open-Fit เสียงระดับไฮเอนด์ พร้อมที่สุดแห่งการตัดเสียงรบกวน
LG xboom Grab และ xboom Bounce ลำโพงพกพาสุดล้ำที่มาพร้อม AI และเสียงซิกเนเจอร์จาก will.i.am
HONOR Watch 5 Ultra สมาร์ทวอทช์ขอบ 8 เหลี่ยม บอดี้ไทเทเนียม มีโหมด Free Diving ลึก 40 เมตร
รีวิว Xiaomi 33W Magnetic Power Bank 10000 แบตสำรองคู่ใจในยุคดิจิทัล
HONOR CHOICE Earbuds Clip หูฟังไร้สายแบบคลิป แกนไทเทเนียม ใส่สบายใช้งานยาวๆ 36 ชม.
Infinix เผยภาพ GT DynaVue เตรียมพลิกโฉมเกมมิ่งโฟนสำหรับสายอีสปอร์ต
vivo X200 FE สมาร์ทโฟนกะทัดรัด กล้อง ZEISS ถ่ายสวยซูมชัด ประกาศวันเปิดตัวในไทย
POCO F7 เปิดตัวพร้อมปล่อยโปร Early-Bird ตัวแรงชิป Snapdragon 8s Gen 4 ในราคาเอื้อมถึง
vivo T4 Lite 5G สมาร์ทโฟน 5G ราคาประหยัด หน้าจอ 6.74 นิ้ว 90Hz แบตฯ 6000mAh
HUAWEI WATCH 5 กับ Multi-sensing X-TAP Technology นวัตกรรมตรวจสุขภาพรอบด้านด้วยปลายนิ้ว