สมาร์ทโฟน (Smartphone)  |   วันที่ : 10 มีนาคม 2557

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

ควันหลงจากงาน Mobile World Congress 2014 ที่ผ่านพ้นไปแล้ว ลองย้อนกลับมาอ่านบทความรำลึกภาพวันเก่าๆ ที่เคยผ่านมาของงาน MWC ในช่วงห้าปีก่อน แม้ว่าจะเป็นเวลาที่ไม่นานเท่าไร แต่ก็นับเป็นช่วงเวลาของสหัสวรรษแห่งเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนด้วยเช่นกัน

สงครามกล้องบนสมาร์ทโฟน

HTC ได้ประกาศเปิดตัว One X และ One S ที่งาน MWC 2012 พร้อมกับโชว์โฉมหน้าเซ็นเซอร์กล้องเทคโนโลยี ImageSense รุ่นใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้เซ็นเซอร์กล้องความละเอียด 8 ล้านพิกเซลแบบธรรมดา ส่วนเทคโนโลยี UltraPixel ถูกนำเสนอในปีต่อไป (2013)

ในขณะที่อีกฟากฝั่งหนึ่งอย่าง Nokia ได้เปิดตัว 808 PureView สมาร์ทโฟนพร้อมกล้อง 41 ล้านพิกเซล รันแพลตฟอร์ม Symbian แทนที่จะเลือกแพลตฟอร์ม Windows Phone ซึ่งในตอนนั้นข่าวลือออกมามากมายว่าจะมีสมาร์ทโฟน PureView Lumia กล้อง 41 ล้านพิกเซลเกิดขึ้น แต่กว่าจะมาถึงวันที่รอคอยก็กินเวลาถึงช่วงกลางปีที่ผ่านมา Nokia Lumia 1020 เพิ่งได้เปิดตัวออกมา

ทั้งสองบริษัทดำเนินไปในทิศทางที่แตกต่างกันอย่างมาก เอชทีซีเลือกที่จะถอยห่างจากกล้องความละเอียด 8 ล้านพิกเซลมาเป็น 4 ล้านพิกเซล และเพิ่มขนาดของจุดพิกเซลแทน (UltraPixel technology) ในขณะที่ Nokia มุ่งมั่นที่จะใช้เซ็นเซอร์ความละเอียดสูงซึ่งในความเป็นจริง Nokia Lumia 1020 มีขนาดเซ็นเซอร์กล้องเล็กกว่าใน Nokia 808 PureView (1/1.5 นิ้ว กับ 1/1.2 นิ้ว) และรุ่นใหม่อย่าง Lumia 1520 ก็มีขนาดเซ็นเซอร์ที่เล็กลงอีก (1/2.5 นิ้ว) ความละเอียด 20 ล้านพิกเซล

ค่ายอื่นที่ร่วมแจมการแข่งขันพัฒนากล้องถ่ายรูปบนสมาร์ทโฟนก็คือ Sony ซึ่งส่ง Xperia Z2, Xperia Z1 และ Xperia Z1 Compact ซึ่งมีขนาดเซ็นเซอร์ 1/2.3 นิ้ว ความละเอียด 20.7 ล้านพิกเซล

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวในอดีตที่ยังคงดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงขณะนี้ โดยการแข่งขันเรื่องกล้องบนสมาร์ทโฟนไม่ได้จำกัดเพียงแค่ภาพถ่าย แต่รวมถึงความละเอียดในการบันทึกวิดีโอด้วยเช่นกัน เมื่อย้อนกลับไปสองปีก่อนที่จะมีงาน MWC 2012 ทาง Sony Ericsson ได้เปิดตัว Satio cameraphone ซึ่งรองรับการบันทึกวิดีโอความละเอียด WVGA (854x480 พิกเซล) ซึ่งในเวลานั้นถือว่าเป็นความละเอียดที่สูงมากแล้วสำหรับการบันทึกวิดีโอบนสมาร์ทโฟน

สำหรับการบันทึกวิดีโอบนสมาร์ทโฟนรุ่นปัจจุบันได้ก้าวเข้ามาถึงมาตรฐาน 1080p ซึ่งมากกว่า WVGA ถึง 80% และหากเทียบกับอุปกรณ์รุ่นท๊อปตัวใหม่ๆ ที่สามารถบันทึกวิดีโอความละเอียด 4K 2160p นั้นความละเอียดต่างกันราวๆ 20 เท่า

แอนดรอยด์เติบโตอย่างรวดเร็ว

แม้ว่า ปี 2013 เพิ่งจะผ่านมาไม่นาน แต่แพลตฟอร์มแอนดรอยด์ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดย Android 4.2 Jelly Bean ยังเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดในเดือนมีนาคมของปีก่อน ขณะที่เวอร์ชั่น 4.3 Jelly Bean ยังไม่ได้รับการเปิดตัวในช่วงเวลาดังกล่าว หากย้อนกลับไปไกลกว่านั้นหน่อยก็มี  Android 2.3 Gingerbread ซึ่งเคยขับเคลื่อนอยู่บนอุปกรณ์แอนดรอยด์เกือบครึ่งหนึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา (เปิดตัวเมื่อต้นปี 2011) 

แอนดรอยด์ถูกคาดหมายว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ก่อนที่ Android 2.3 Gingerbread จะเปิดตัวในเดือนมีนาคม 2011 ซึ่งในตอนนั้น ComScore ให้ตัวเลขที่บอกชัดเจนว่าแพลตฟอร์มของค่าย Google ก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งตัวสำคัญของแพลตฟอร์ม BlackBerry ซึ่งขณะนั้นครองตลาดอยู่ในลำดับที่หนึ่งและทิ้งแพลตฟอร์ม iOS ของ Apple ซึ่งตกอยู่ในลำดับที่สาม

อีกก้าวสำคัญของแอนดรอยด์เริ่มขึ้นในเมื่อเดือนมีนาคม 2012 โดย Google ประกาศว่า Android Market จะไม่มีอีกต่อไป และจะถูกแทนที่ด้วย Google Play Store ซึ่งรวมเอาทั้งแอพพลิเคชั่น เพลง วิดีโอ หนังสือ ไว้เป็นหมวดหมู่หลัก ซึ่งเป็นการตอบโต้อย่างทันควันใส่ Amazon ที่เปิดตัวแท็บเล็ต Kindle Fire รุ่นแรกโดยพยายามผลักดันคอนเทนต์ต่างๆ ให้เข้าถึงผู้บริโภคอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นาน

iOS ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ขณะที่แพลตฟอร์มแอนดรอยด์ยังอยู่กับเวอร์ชั่น 2.3 Gingerbread ฝั่งตรงข้ามอย่าง Apple ได้ออกมาเปิดตัวแท็บเล็ต new iPad (2012) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อของ "iPad with Retina display" ซึ่งเป็นแท็บเล็ตหน้าจอใหญ่ที่มีความละเอียดมากที่สุดในเวลานั้น

Apple ยังคงใช้จุดขายในเรื่องของความละเอียดหน้าจอ iPad อย่างต่อเนื่องจนถึงรุ่นปัจจุบัน โดย iPad รุ่นล่าสุด หรือ iPad Air (2013) มีความละเอียดสูงถึง 2048x1536 พิกเซล และยังได้รับความไว้วางใจให้เป็นแท็บเล็ตที่มีจอแสดงผลสวยงามที่สุด

ก่อนที่งาน MWC 2014 จะเริ่มขึ้น มีข่าวว่าสมาร์ทโฟนขนาด 5.x นิ้ว ความละเอียดหน้าจอสูงถึงระดับ 2K QHD จะเปิดตัวออกมา แต่ก็ยังไม่เห็นวี่แววและยังคงต้องรอต่อไป ซึ่งถ้าหากมีสมาร์ทโฟนที่มีขนาดหน้าจอไม่เกิน 5.5 นิ้ว ความละเอียด QHD 2560x1440 พิกเซล เกิดขึ้นจริง อุปกรณ์สมาร์ทโฟนรุ่นนั้นจะมีความละเอียดพิกเซลมากกว่าหน้าจอ Ratina ของ Apple ถึง 17% เลยทีเดียว

ข่าวลือที่ยาวนานของอุปกรณ์ตระกูล Galaxy

หากกลับไปดูข่าวลือก่อนหน้าที่งาน MWC 2014 จะมีขึ้น มีข่าวอันมากมายของ Galaxy S5 ว่าจะออกมาเป็นแบบนั้น แบบนี้ โดยเมื่อปีก่อนที่มีการเปิดตัว Galaxy S4 ก็มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเช่นกัน

สิ่งหนึ่งที่เป็นประเด็นสำหรับปี 2013 คือ Samsung ได้ตัดสินใจใช้งานชิปเซ็ตที่ต่างกันในอุปกรณ์สมาร์ทโฟนรุ่นท๊อปรุ่นเดียวกัน และยังมีผลต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดย Samsung ใช้ชิป Qualcomm Snapdragon สำหรับอุปกรณ์ที่รองรับการเชื่อมต่อ LTE และใช้ชิป Exynos ของตัวเองสำหรับอุปกรณ์ที่รองรับ 3G/Wi-Fi ซึ่งเกิดผลกระทบตามมาคือความหลากหลายของอุปกรณ์ตระกูล Galaxy นั้นมากเกินไป และเกิดกระแสการเปรียบเทียบเกิดขึ้นมา

Going on sale

หากย้อนเวลากลับไป Toshiba TG01 (2009) และ HTC Magic ต่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระแสการตื่นตัวของอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟน โดย Toshiba TG01 เป็นต้นแบบของสมาร์ทโฟนดีไซน์เพรียวบาง มีประสิทธิภาพ และมีหน้าจอใหญ่ (ในเวลานั้น) แต่น่าเสียดายที่ยอดขายของ Toshiba ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

HTC Magic นับเป็นการเริ่มต้นก้าวที่สองของอุปกรณ์แอนดรอยด์ค่าย HTC ซึ่งตัดเอาคีย์บอร์ด QWERTY ในต้นตระกูลแอนดรอยด์ตัวแรกของโลกอย่าง HTC Dream ออกไปและเหลือไว้เพียงหน้าจอสัมผัสกับปุ่มกดเพียงบางปุ่มเท่านั้น

แป้นพิมพ์แบบปุ่มกดคีย์บอร์ด QWERTY เกิดขึ้นอีกเพียงสองสามครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ของแอนดรอยด์ แต่ขนาดหน้าจอและเซ็นเซอร์ระบบสัมผัสต่างได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น และในที่สุดแป้นพิมพ์บนหน้าจอสัมผัสก็กลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แป้นพิมพ์ปุ่มกดคีย์บอร์ด QWERTY ของสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์จึงสูญพันธุ์ไปในที่สุด...

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่