แก็ดเจ็ต (Gadget)  |   วันที่ : 27 พฤศจิกายน 2563

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

 ในปัจจุบัน สมาร์ทโฟนนั้นถือได้ว่าเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ซึ่งจะเห็นได้จากกิจกรรมต่างๆ มักจะมีสมาร์ทโฟนเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามเมื่อมีการใช้งานอยู่บ่อยๆ ก็จะพบกับปัญหาแบตฯ ไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงมีอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า แบตเตอรี่สำรอง ออกมาวางจำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย ในส่วนการเลือกซื้อแบตฯ สำรอง มาใช้งานนั้น มีข้อแนะนำ 8 อย่างที่ควรคำนึงถึง เพื่อการนำมาใช้ให้มีคุณภาพ และปลอดภัยมากที่สุด กับ 9 ขั้นตอนตามภาพอินโฟกราฟิกด้านล่างที่เป็นขั้นตอนง่ายๆ นำไปปรับใช้เป็นเหตุผลในการเลือกซื้อได้เลย พร้อมวิธีดูแลรักษา

1. ไม่ควรซื้อแบตฯ สำรองที่มีความจุมาก แต่ราคาถูก ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าแบตฯ ที่เก็บสะสมไฟฟ้านั้น ผลิตจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจทำให้เกิดอันตรายเมื่อใช้งานได้ ดังนั้นหากต้องการซื้อแบตฯ สำรองควรพิจารณาเรื่องความจุให้สัมพันธ์กับราคา และเลือกซื้อร้านที่มีใบอนุญาตจำหน่ายอย่างถูกต้อง

2.ไม่ควรเลือกซื้อแบตฯ สำรองด้วยความจุ เหตุผลหลักๆ ที่ผู้คนส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อ ก็คือ ต้องมีความจุที่มาก แต่ความจริงแล้ว ถึงแม้มีความจุที่มาก แต่ก็อาจเกิดการคายประจุ พลังงานไฟฟ้าออกมาได้เรื่อยๆ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าพบว่าแบตฯ สำรองที่ชาร์จไฟเต็ม แต่เวลาผ่านไปทั้งๆ ที่ไม่ได้ใช้งาน พลังงานไฟฟ้ากับลดลง หรือไม่เหลือเลย ดังนั้นทางที่ดี ควรเลือกแบตฯ สำรอง ให้เหมาะสมกับ การใช้งานสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตในแต่ละวัน 

3. ไม่คำนึงถึงประเภทของแบตฯ และอายุการใช้งานของแบตฯ โดยทั่วไปประเภทของแบตฯ มีด้วยกัน 3 อย่างคือ

  • Nickel Metal Hydride (นิเกิล เมทัลไฮไดรต์ ) ซึ่งเป็นแบตฯ ที่มีประสิทธิภาพตํ่า ราคาถูก ทุกครั้งที่ชาร์จ ความจุจะน้อยลงเรื่อยๆ แต่จุดเด่นคือ มีความจุไฟที่สูง ไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นแบตฯ สำรอง
  • Lithium-ion  (ลิเธียมไอออน) โดยเป็นแบตฯ ที่อัตราการคายประจุตัวเองตํ่า ไม่ต่องดูแลรักษามาก และสามารถใช้งานได้อีก แม้เก็บเป็นระยะเวลานาน แต่ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟได้ในอัตราที่สูง ต่อการนำมาเป็นอุปกรณ์ที่จะนำมาชาร์จสมาร์ทโฟน จึงไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นแบตฯ สำรอง
  • Lithium Polymer (ลิเธียมโพลิเมอร์) เป็นแบตฯ ที่จ่ายกระแสไฟได้สูง แต่ปลอดภัยจากการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า นํ้าหนักเบา และมีอุณหภูมิความร้อนที่น้อยจากการใช้งานกว่าแบตฯ อื่นอยู่มาก จึงเหมาะสมที่จะนำมาทำเป็นแบตฯ สำรอง

4. แบตฯ สำรองบางรุ่น มีพอรต์ USB หลายพอร์ต จึงทำให้สามารถชาร์จพร้อมกันได้หลายเครื่อง แต่อย่าลืมว่าถ้าแบตฯ จ่ายไฟในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ และจะทำให้ความเสถียรในการชาร์จมีประสิทธิภาพน้อยลง ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงการใช้งานแบตฯ สำรองให้เหมาะสม

5. ควรเลือกซื้อแบตฯ สำรองให้มีคุณสมบัติหลายอย่าง อาทิ การป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร, การตัดกระแสไฟในการชาร์จ เมื่อชาร์จแบตฯ เต็มแล้ว, การป้องกันอุณหภูมิของแบตฯ สำรอง, การรับประกัน, บริการหลังการขาย, เป็นต้น

6. เลือกซื้อแบตฯ สำรองให้ตรงกับ Output แบตฯ ของสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ยกตัวอย่างเช่น แบตฯ สำรอง ที่สามารถจ่ายไฟได้ 2.1 แอมป์ แต่แบตฯ ของสมาร์ทโฟนรับได้แค่ 1 แอมป์แน่นอนว่า อาจทำให้ชาร์จไฟได้เร็วกว่า แต่ก็อาจจะทำให้แบตฯ ร้อนขึ้น และเสื่อมได้เร็วขึ้นเช่นกัน ดังนั้นทางที่ดีเลือกซื้อแบตฯ สำรองตามปริมาณ กระแสไฟที่ต้องใช้ และสำหรับ Output ของสมาร์ทโฟนที่เหมาะสมคือ 1 แอมป์ และแท็บเล็ตคือ 2 หรือ 2.1 แอมป์ 

7. ไม่ควรเลือกซื้อแบตฯ สำรองที่ไม่มีการรับประกันคุณภาพ การเลือกซื้อที่ปลอดภัยไม่ว่าจะสินค้าใดๆ ควรสังเกตการรับประกันสินค้านั้นๆ เช่นเดียวกับแบตฯ สำรอง ก็ควรที่จะสังเกตการรับประกันมาตราฐานการผลิต จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ก่อนการซื้อทุกครั้ง เช่น Rosh, CE และ FCC 

8. เลือกซื้อแบตเตอรี่สำรองที่มีเครื่องหมาย มอก. รับรองแล้ว หมายถึงการกำหนดให้แบตเตอรี่สำรองเป็นสินค้าควบคุม หมายเลข 2879-2560 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ดังนั้นต่อไปนี้การเลือกซื้อจะต้องมองหาสัญลักษณ์นี้ด้วย เพื่อความปลอดภัย หากมีการฝ่าฝืน ผู้ผลิตหรือนำเข้าสินค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจะโดนระวางโทษตามกฎหมายจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนร้านค้าที่ขายสินค้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ไม่มีเครื่องหมายมอก.รับรอง มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การเลือกซื้อแบตฯ สำรอง ควรที่จะเลือกใช้ประเภทของแบตฯ ให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับการใช้งานของเราเอง ดังนั้นควรที่จะตรวจสอบข้อมูล ต่างๆ ของแบตฯ สำรองให้ละเอียด ก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่