หมวดอื่นๆ (Other) | วันที่ : 29 เมษายน 2558
การพัฒนาเศรษฐกิจของโลกอยู่บนพื้นฐานการใช้พลังงานที่เพียงพอและสมดุล รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและเหมาะสมเข้าด้วยกัน จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลให้เกิดการจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการนานาชาติ “โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2559” หรือ “SETA 2016” ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ขึ้น เพื่อเชื้อเชิญผู้บริหารภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ผลิต บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้า นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ บริษัทผู้ผลิตพลังงานทดแทน ธนาคาร นักลงทุน จากทุกภาคส่วนและผู้สนใจทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ ร่วมกันกำหนดนโยบายและการวางแผนด้านพลังงาน เทคโนโลยีระบบไฟฟ้า พลังงานเพื่อการคมนาคมขนส่งและพลังงานทางเลือก และพลังงานยั่งยืนและเทคโนโลยีสีเขียว หวังผลักดันและยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านพลังงานและเทคโนโลยีในระดับภูมิภาคเอเชีย
รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2559 กล่าวว่า งาน SETA 2016 เป็นก้าวย่างที่สำคัญในความร่วมมือกันอย่างจริงจังของหน่วยงานหลักของประเทศ โดยกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งองค์กรภาคเอกชน ผู้มีส่วนร่วมต่อการสร้างบทบาทและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียนอย่างแท้จริง
“งานนี้มีวัตถุประสงค์ในการสร้างเวทีพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมหาคำตอบและแนวทางแก้ปัญหา ตั้งแต่การหาแหล่งพลังงาน ตลอดจนการใช้ ระบบผลิตกระแสไฟฟ้า ภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคครัวเรือน โดยในงานประชุมครั้งนี้จะมุ่งเน้นในประเด็นที่ทั้งเอเชียและทั่วโลกล้วนให้ความสำคัญ ซึ่งในส่วนของไทย จะเน้นโชว์ผลงานวิจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาพลังงานและเทคโนโลยี โดยจุดเด่นของงาน คือการเชิญวิทยากรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกหลากแขนงมาให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้เข้าชมและร่วมงานตลอดทั้ง 3 วัน ตั้งเป้าไว้ที่จำนวน 5,000 คน จาก 15 ประเทศทั่วโลก ต่างเข้ามาแสวงหาโอกาสทางพลังงานและเทคโนโลยีที่งานนี้ และตั้งใจจะส่งเสริมโครงการนี้เกิดขึ้นเป็นประจำ เพื่อให้ทุกๆความเห็นและความร่วมมือมีความต่อเนื่องและบรรลุผลสำเร็จ”
เนื่องจากเป็นงานยิ่งใหญ่ระดับชาติ ภาครัฐจึงเข้ามามีบทบาทและเป็นแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นเฟืองจักรสำคัญสำหรับโครงการนี้ ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวสนับสนุนโครงการนี้ว่า “เพราะโลกกำลังเข้าสู่ยุคไฮบริด มีการเชื่อมโยงระหว่างกัน จึงจำเป็นต้องบูรณาการร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งกระทรวงพลังงานมีหน้าที่วางแผนนโยบายด้านพลังงานที่ดี เพื่อช่วยให้เกิดการปรับปรุงและนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และพร้อมกระตุ้นนโยบาย และพัฒนาด้านเทคโนโลยี รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างแท้จริงผ่านโครงการนี้”
เช่นเดียวกับ อลงกรณ์ เหล่างาม ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “โครงการ SETA2016 จะสามารถผลักดัน รวมถึงส่งเสริมนโยบายและการวางแผนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การคิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ของไทย หรืองานวิจัยและนวัตกรรมทางด้านพลังงานและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงการผลิตและการพาณิชย์ ตลอดจนการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมั่นคง”
นอกจากสององค์กรหลักในด้านการวางแผนด้านพลังงานและเทคโนโลยีแล้ว ทางกระทรวงคมนาคมยังเล็งเห็นความสำคัญของการใช้พลังงานและเทคโนโลยีเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์การขนส่งที่ยั่งยืนขององค์กร ซึ่ง สมศักดิ์ ห่มม่วง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางน้ำ กระทรวงคมนาคม ให้ความเห็นว่า “SETA2016 ถือเป็นเวทีพูดคุยทั้งในด้านการใช้พลังงานที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง เพราะภายในงานจะจัดแสดงเทคโนโลยี นวัตกรรม และสินค้าใหม่ๆ รวมทั้งยังสร้างโอกาสให้ทุกภาคส่วนร่วมกัน ผลักดันทั้งด้านนโยบายและการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ทั้งมีความครอบคลุม เข้าถึงง่าย ประหยัด และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม”
ทั้งนี้ ในด้านองค์กรรัฐวิสาหกิจและเอกชน ต่างก็ขานรับความน่าสนใจของ SETA2016 โดยเฉพาะ กฟผ. ซึ่ง สหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ไทยจำเป็นต้องพัฒนาและดำเนินงานด้านพลังงานอย่างยั่งยืน เพื่อสอดรับเป้าหมายดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลในปี 2563 โดยเน้นการวางแผนใช้พลังงาน ขับเคลื่อนนโยบายการลงทุนเทคโนโลยีสีเขียวระดับอาเซียน จึงร่วมสนับสนุนทั้งเงินทุน สรรหาวิทยากร และหัวข้อการบรรยายระดับนานาชาติ อาทิ Regional Connectivity and Grids Interconnection เป็นต้น”
ด้านเอกชนอย่าง สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย โดย รศ.พล.ต.ดร.ชัยณรงค์ เชิดชู นายกสมาคมนิวเคลียร์ฯ กล่าวว่า “งานนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของความท้าทายให้ชาวไทยและทั่วโลกตระหนักว่า เทคโนโลยีความปลอดภัย อย่างพลังงานนิวเคลียร์นั้นมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาด้านพลังงานของชาติ และเชื่อมั่นว่าภายในงานครั้งนี้จะช่วยแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และผลงานวิจัย เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ และสนับสนุนการผลิตและพัฒนาบุคคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ให้เพิ่มมากขึ้น”
และเพื่อให้งานนี้ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ ทางผู้จัดงานจึงมุ่งเน้นเชื้อเชิญให้ผู้สนใจร่วมแสดงศักยภาพทางพลังงานและเทคโนโลยี ตลอดจนร่วมรับฟังทัศนะและข้อมูลอันเป็นประโยชน์จากผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพภายในงานนี้ จึงได้เปิดพื้นที่จัดงานสำหรับทุกภาคส่วนเข้ามาจับจอง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน โดยมีหน่วยงานและองค์กรเข้าร่วม อาทิ APEC workshop, Energy Research Institute Network (ERIN) ตลอดจนองค์กรนานาชาติอีกมากมาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม และลงทะเบียนร่วมงานได้ในเว็บไซต์ www.SETA.Asia
งานประชุมวิชาการและนิทรรศการนานาชาติ “โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2559” หรือ “SETA 2016” พร้อมเปิดโลกใหม่ของพลังงานและเทคโนโลยีในระดับนานาชาติให้ผู้สนใจเข้าชมได้ ระหว่างวันที่ 23-25 มีนาคม 2559 เวลา 10.00-18.00 น. ณ ฮอลล์ 103 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.seta.asia วันที่ : 29 เมษายน 2558
ทำความรู้จัก Infinix HOT 50i หน้าจอ 120Hz เก็บข้อมูลจุใจ 256GB ราคาใหม่ พร้อมสีใหม่สดใส
คนไทยค้นหาอะไรกันนะ! 10 หมวดค้นหาที่นิยมมากที่สุดในปี 2567 มีอะไรบ้าง?
LAVA เปิดตัวสมาร์ทโฟน 5G รุ่นใหม่ LAVA Yuva 2 5G ราคาประหยัด พร้อมกล้องหลัก 50 ล้านพิกเซล
HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนแบบพับได้ระดับท็อปสุดแกร่ง ประกาศราคาไทยแล้ว
ทำความรู้จัก TCL 501 และ TCL 503 มือถือราคาประหยัดราคาไม่เกิน 2,000 บาท
OPPO เตรียมเปิดตัว OPPO Reno13 Series 5G สมาร์ทโฟน AI รุ่นล่าสุด7 ชั่วโมงที่แล้ว
ความสำคัญของไดชาร์จรถยนต์ แหล่งหล่อเลี้ยงระบบสำคัญในรถ13 ชั่วโมงที่แล้ว