หมวดอื่นๆ (Other)  |   วันที่ : 4 พฤศจิกายน 2558

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

ผลสำรวจล่าสุดของไอบีเอ็มพบเทรนด์ “อูเบอร์ไรเซชั่น (Uberization)” หรือการที่ธุรกิจต้องหยุดชะงักเพราะคู่แข่งที่คาดไม่ถึงหรือคู่แข่งนอกอุตสาหกรรม กำลังเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลสูงสุดให้แก่ผู้บริหารระดับสูง ขณะที่ร้อยละ 24 ของผู้บริหารจากบริษัทที่มีผลประกอบการดีที่สุด มองถึงการใช้เทคโนโลยีค็อกนิทิฟเป็นเครื่องมือหลักในการต่อกรกับเหตุชะงักทางธุรกิจที่ไม่คาดคิดและคาดการณ์แนวทางในการรับมือคู่แข่งที่มองไม่เห็น

การสำรวจในหัวข้อ “นิยามใหม่ของขอบเขต: มุมมองจากการศึกษาผู้บริหารระดับสูงทั่วโลก” จัดทำขึ้นโดยสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม โดยเป็นการศึกษามุมมองของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด (ซีเอ็มโอ) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (ซีเอฟโอ) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ซีไอโอ) รวมถึงผู้บริหารระดับสูงในสายงานอื่นๆ ในหน่วยงานรัฐและเอกชน รวมจำนวนกว่า 5,200 คน จาก 21 อุตสากรรม ใน 70 ประเทศทั่วโลก ผ่านการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวเป็นหลัก

ผลสำรวจนำสู่แนวคิดที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจ 3 ประเด็น ประกอบด้วย

1. องค์กรต้องเตรียมระวังแขกไม่ได้รับเชิญ
ในอดีต คู่แข่งหน้าใหม่ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าและถูกกว่าเคยเป็นปัญหาใหญ่ของธุรกิจ ทำให้องค์กรต้องปรับกลยุทธ์ซึ่งก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากเย็นนัก แต่ปัจจุบันบรรดาผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดกลับถูกคุกคามโดยผู้เล่นหน้าใหม่ที่มีโมเดลทางธุรกิจแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แถมมีขนาดเล็กกว่าและคล่องตัวกว่าเพราะไม่มีสารพันโครงสร้างพื้นฐานมาคอยเป็นภาระให้แบกรับ

 

“อุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือคู่แข่งหน้าใหม่ที่ยังไม่ทันได้ถูกจัดให้เป็นคู่แข่งด้วยซ้ำ” นายพิอ็อตร์ รัสโซวสกี้ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของมอนเดียล แอสซิสแทนซ์ กล่าว

ร้อยละ 48 ของผู้บริหารระดับสูงที่สำรวจ ยอมรับว่าการกระจายการอำนาจในการตัดสินใจจะเป็นเรื่องจำเป็น ร้อยละ 54 กำลังแสวงหานวัตกรรมจากภายนอกองค์กร ขณะที่ร้อยละ 70 มองถึงการขยายเครือข่ายพันธมิตร

2. องค์กรต้องนำฟีดแบ็คลูกค้ามาใช้จริง ไม่ใช่เอาแต่เก็บฟีดแบ็ค
ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป แต่เมื่อถึงเวลาสำรวจเทรนด์หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ กลับมีผู้บริหารเพียงครึ่งหนึ่งที่นำฟีดแบ็คจากลูกค้ามาศึกษาและปรับใช้ ปัญหานี้เป็นเรื่องที่ผู้บริหารต่างตระหนักถึงในการสำรวจครั้งที่ผ่านมาเมื่อปี 2556 อย่างไรก็ดี ปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขและยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้

ผลการสำรวจพบว่าผู้บริหารส่วนใหญ่มองถึงการปรับเปลี่ยนแนวทางในการเข้าถึงลูกค้า ร้อยละ 66 มองถึงการเข้าถึงลูกค้าแบบรายบุคคล ขณะที่ร้อยละ 81 มองถึงการเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ผ่านช่องทางดิจิทัล

“เรามองว่าองค์กรจะให้ความสำคัญกับการสร้างพันธมิตรและเครือข่ายผู้ใกล้ชิดที่มีแนวคิดคล้ายกันมากขึ้น และจะฟังเสียงลูกค้าหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ร่วมกับลูกค้า” นายเดวิด มิลส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ริโก้ ยุโรป สหราชอาณาจักร กล่าว

3. บทบาทและความเสี่ยงของเทคโนโลยี
เทคโนโลยีคือสิ่งที่ซีอีโอมองว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อองค์กรมากที่สุดตลอดการศึกษาในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่วันนี้ผู้บริหารระดับสูงไม่ว่าบทบาทไหนต่างเห็นพ้องว่าเทคโนโลยีคือปัจจัยภายนอกที่จะส่งผลกระทบต่อองค์กรมากที่สุด

ผู้บริหารระดับสูงมองว่าคลาวด์คอมพิวติ้ง โซลูชั่นส์ด้านโมบายล์ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ และค็อกนิทิฟคอมพิวติ้ง มีแนวโน้มที่จะนำสู่การปฏิวัติของธุรกิจ ขณะที่เมื่อพูดถึงเรื่องความเสี่ยง ผู้บริหารถึงร้อยละ 68 ต่างก็มองว่าความปลอดภัยด้านไอทีคือความเสี่ยงอันดับหนึ่งขององค์กรเช่นกัน

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มือถือออกใหม่