หมวดอื่นๆ (Other)  |   วันที่ : 19 กันยายน 2559

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสยาม วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันอาศรมศิลป์ จัดกิจกรรมสนับสนุนการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล ภายใต้โครงการประกวดหนังสั้น “มหาวิทยาลัยโปร่งใส บัณฑิตไทยไม่โกง” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของนิสิต นักศึกษา ให้ยึดมั่นในการมีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ตลอดจนนำไปเผยแพร่แนวคิดการสร้างค่านิยมสู่ประชาชนทั่วไป


โครงการประกวดหนังสั้น “มหาวิทยาลัยโปร่งใส บัณฑิตไทยไม่โกง” เปิดรับผลงานระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2559 มีทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกทั้งสิ้นจำนวน 13 ทีม และมีการนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาคัดเลือกทีมที่ได้รับรางวัล ในวันที่ 15 กันยายน 2559
ผลการตัดสินทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทีม "Insign Film" ผลงาน "เพื่อน" ได้แก่ นางสาวตรัชนันท์ พงษ์พานิช และนายซามี่ย์ หนุนอนันต์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มหาวิทยาลัยสยาม ทีม “กยศ.ต่อลมหายใจ” ผลงาน "โตไม่โกง" ได้แก่ นายวิภาวี พลธนะ นายธิชานนท์ เมืองโคตร นางสาวณัฐวดี เอื้อจารุพร นางสาวบุษราภรณ์ แสงคำ และนางสาวสิรีธร รามนาถ์ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 มหาวิทยาลัยสยาม ทีม “Behind the Film” ผลงาน "New Folder" ได้แก่ นายนครินทร์ รุ่งทองคำกุล นายพิสิฐพงศ์ กระสินธุ์ นายณรงค์เดช ใบมณี นายรัชดนัย จันทร์ศรีหิรัณย์ นายพงษ์ระพี ชงสกุล มี่-ซามี่ย์ หนุนอนันต์ ปี 4 คณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ทีม "Insign Film" เล่าว่าคอนเส็ปต์ของหนังสั้น มีการคุยกันในทีมว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่เข้าข่ายการโกงในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะเรื่องที่นักศึกษามองว่าโกงเล็กน้อยไม่เป็นไร เช่น การจ้างเพื่อนทำรายงาน หรือการโกงข้อสอบ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นการสร้างความไม่ซื่อสัตย์ แต่สุดท้ายเชื่อว่ามนุษย์มีความดีในตัวเอง ถ้าอยากอยู่ในสังคม ต้องมีความละอายต่อบาป

“การโกงเกือบจะกลายเป็นวัฒนธรรมในสังคมไทย คนอาจมองการโกงเป็นเรื่องปกติ การรณรงค์เพื่อให้วัฒนธรรมเหล่านี้หมดไป ต้องเสริมสร้างการละอายต่อตัวเอง เมื่อทำผิดควรมีบทลงโทษ โกงแล้วต้องได้รับโทษ”

มิว-ตรัชนันท์ พงษ์พานิช สมาชิกอีกหนึ่งคนของทีม อยากให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพตัวเองว่าจะก้าวหน้าได้ และความหมายของมหาวิทยาลัยโปร่งใส น่าจะเป็นมหาวิทยาลัยที่คนไม่ต้องพึ่งการโกงในความก้าวหน้า ไม่ต้องพึ่งการโกงในการเรียนรู้


“หนังสั้นเรื่องนี้ใช้เวลาถ่ายทำสองวัน ทีมมีสองคน ช่วยกันทั้งเรื่องการเขียนบท กำกับและทุกกระบวนการทำงานค่ะ คิดไว้หลายพล็อตเรื่องกว่าจะเป็นเรื่องนี้ ด้วยเวลาจำกัด 5 นาที สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการประกวดหนังสั้น อาทิ ขั้นตอนการคิด การตีโจทย์ เราได้คิดอะไรคือการโกงในมหาวิทยาลัย จะแก้ไขอย่างไร จะสื่อถึงคนดูอย่างไร และการได้ตั้งคำถามกลับไปที่สังคมว่าดูแล้วคิดอย่างไรกับการโกง จุดที่ยากที่สุดคือนักแสดง เป็นตัวละครที่จะสื่อสารสิ่งที่เราคิดไปสู่ผู้ชม”

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มือถือออกใหม่