สมาร์ทโฟน (Smartphone)  |   วันที่ : 10 มกราคม 2560

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

Huawei ชี้โอกาสทางธุรกิจใหม่ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ อันได้แก่ วิดีโอ ตลาดภาคครัวเรือน และอุตสาหกรรมแนวดิ่ง แนะโอเปอเรเตอร์สร้างเครือข่ายที่เน้นรองรับการใช้งานแอพพลิเคชั่นเป็นหลัก รวมถึงสร้างระบบนิเวศแบบเปิด และเพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาดังกล่าว มร. เคน หู รองประธานและซีอีโอหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย ได้ประกาศเดินหน้าโครงการ X Labs แพลตฟอร์มใหม่เพื่อการวิจัย ที่จะเปิดโอกาสให้ทั้งโอเปอเรเตอร์ ผู้จัดหาเทคโนโลยี พันธมิตรต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมแนวดิ่ง ได้ทดลองศึกษาลักษณะการใช้งานโมบายล์แอพพลิเคชั่นในอนาคตร่วมกัน รวมถึงคิดค้นหานวัตกรรมเพื่อธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ ๆ และส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศแบบเปิด

มร. เคน หู ซีอีโอหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย ขณะกล่าวสุนทรพจน์ในงานโมบาย บรอดแบนด์ ฟอรั่ม ครั้งที่ 7 ในงานโมบาย บรอดแบนด์ ฟอรั่ม ประจำปี (Mobile Broadband Forum: MBBF) ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมมาคุฮาริ เมสเสะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มร. หู ได้กล่าวถึง “โลกแห่งโมบายแอพพลิเคชั่นที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือด” ว่าจะพลิกโฉมทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ตั้งแต่ชีวิตประจำวันไปจนถึงรูปแบบการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตในสังคม ปัจจัยสำคัญหลายอย่างที่ทำให้แอพพลิเคชั่นเหล่านี้เติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งก็คือ เทคโนโลยีหลัก ๆ อันได้แก่ เครือข่ายบรอดแบนด์เคลื่อนที่ เซ็นเซอร์ การติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรกล คลาวด์คอมพิวติ้ง บิ๊กดาต้าและ AI ซึ่งเทคโนโลยีทั้งหมดนี้ก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และจะผนวกรวมเข้าด้วยกันในลักษณะเดียวกับปฏิริยาทางเคมี อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์แอพพลิชั่นใหม่ๆ เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ และเปิดประตูสู่ยุคดิจิทัลในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม

“โอกาสแรกที่เราเห็นก็คือ วิดีโอ ที่กลายมาเป็นรูปแบบการส่งคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการสื่อสารในกลุ่มสื่อ สังคม และโลกธุรกิจ เช่น ใช้ทำการตลาด” มร. หู กล่าว “ปัจจุบัน การรับส่งวิดีโอและภาพมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของปริมาณข้อมูลที่รับส่งกันบนเครือข่ายไร้สาย การใช้งานวิดีโอเพื่อความบันเทิงมีอัตราส่วนสูงสุด แต่ก็ยังมีช่องว่างให้โอเปอเรเตอร์ได้เข้าไปพัฒนาอยู่อีกมาก สำหรับแอพพลิเคชั่นเชิงอุตสาหกรรม โซลูชั่นโมบายวิดีโอเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ การตรวจสอบการจราจร และระบบโลจิสติกส์ยังมีโอกาสให้ต่อยอดพัฒนาต่อไปได้อีก ส่วนในแง่การสื่อสารผ่านวิดีโอ การถ่ายทอดวิดีโอสด (Live VDO) ได้กลายมาเป็นปรากฎการณ์อันยิ่งใหญ่ของโลก”

นอกเหนือจากวิดีโอแล้ว ตลาดภาคครัวเรือนก็เป็นอีกโอกาสสำคัญสำหรับผู้ให้บริการเครือข่าย ปัจจุบัน ทั่วโลกมีประมาณสองพันล้านครัวเรือน ในจำนวนนี้ มี 1.3 พันล้านครัวเรือนที่ไม่มีบรอดแบนด์ใช้ ขณะที่อีก 300 ล้านครัวเรือนมีอินเทอร์เน็ตที่ช้ากว่า 10 Mbps เรียกได้ว่าตลาด 1.6 พันล้านครัวเรือนเป็นตลาดขนาดใหญ่สำหรับบรอดแบนด์ไร้สาย ปัจจุบันนี้ มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมกว่า 100 รายที่ใช้งานโซลูชั่น Wireless-to-the-x (WTTx) ของหัวเว่ย ครอบคลุม 30 ล้านครัวเรือน และได้มีข้อพิสูจน์ให้เห็นแล้วด้วยว่า ใช้ระยะเวลาคืนทุนสั้นกว่าเครือข่ายฟิกซ์บรอดแบนด์

สำหรับโอกาสที่สามที่มร. หู ได้กล่าวถึงก็คือ ตลาดแนวดิ่ง ซึ่งเดินมาถึงจุดที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เครือข่ายไร้สายได้กลายเป็นตัวจักรสำคัญที่ทำให้ยุคดิจิทัลเกิดขึ้นได้ และเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มร. หู ได้กระตุ้นให้โอเปอเรเตอร์แสวงหาโอกาสที่เหมาะสม ที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดขีดความสามารถของการสื่อสารไร้สายได้ดีที่สุด และใช้แนวคิดใหม่ๆ เมื่อทำงานร่วมกัน เขาย้ำว่าผู้ให้บริการและผู้มีบทบาทในวงการจำเป็นต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับตัวให้เข้ากับโมเดลทางธุรกิจใหม่ที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อเตรียมคว้าโอกาสทางธุรกิจในตลาดทั้งสาม เครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาจากเครือข่ายที่เน้นรองรับเทคโนโลยีเป็นหลักไปสู่เครือข่ายที่รองรับการใช้แอพพลิเคชั่นเป็นหลัก มร. หูกล่าวว่า การพัฒนาดังกล่าวนี้ต้องอาศัยสามปัจจัยหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีการเชื่อมต่อ สถาปัตยกรรม และแพลตฟอร์มที่เอื้อต่อการใช้งานแอพพลิเคชั่น

1) การเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง
เพื่อให้ผู้คนและสิ่งต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ นับล้านแอพได้ เครือข่ายในอนาคตจำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีใหม่เพื่อรองรับบริการใหม่ ๆ ตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่นที่ใช้วิดีโอแบบ HD ต้องมีการเชื่อมต่อเครือข่ายด้วยความเร็ว 10 Mbps ที่มีดีเลย์ในการรับส่งข้อมูลน้อยกว่า 50 มิลลิวินาที นอกเหนือจากการรองรับบริการวิดีโอที่ดีขึ้นแล้ว เน็ตเวิร์คยังต้องมีส่วนช่วยในการแนะนำเทคโนโลยี IoT ให้แพร่หลาย เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยี Cellular-V2X สำหรับสมาร์ทคาร์ด้วย

2) สถาปัตยกรรมคลาวด์แบบครบวงจร
เครือข่ายที่เน้นรองรับแอพพลิเคชั่นจำเป็นต้องมีสถาปัตยกรรมคลาวด์แบบครบวงจรเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้งานจริง นวัตกรรมของหัวเว่ยจะเน้นการใช้งานระบบคลาวด์บนเครือข่ายเคลื่อนที่อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ายและลดภาระค่าใช้จ่ายโดยรวมลงได้

3) แพลตฟอร์มเพื่อรองรับการใช้งานแอพลิเคชั่น (PaaS)
เครือข่ายที่เน้นการใช้งานแอพพลิเคชั่นเป็นหลักจำเป็นต้องมีแพลตฟอร์ม application-enablement ที่แกร่ง ต้องมี API การจัดเก็บข้อมูล ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนบริการจัดการข้อมูลบนคลาวด์ เพื่อต่อยอดประสิทธิภาพของเครือข่ายและยกระดับการพัฒนาแอพพลิเคชั่น

“ที่หัวเว่ย เรามุ่งหวังที่จะสนับสนุนและขับเคลื่อนไปสู่ระบบนิเวศเพื่อการสื่อสารไร้สาย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราได้สร้างความก้าวหน้าให้เกิดขึ้นและจะไม่หยุดเพียงเท่านี้” มร. หู กล่าวสรุป ก่อนแนะนำโครงการ X Labs

โครงการ X Labs คือแพลตฟอร์มการวิจัย ที่ออกแบบมาเพื่อศึกษาการสื่อสารไร้สายใน 3 ด้าน คือ ผู้ใช้ ตลาดแนวดิ่ง และภาคครัวเรือน โดย mLab (ย่อมาจาก Mobile User Experience Lab) จะเน้นถึงวิธีการสร้างประสบการณ์เหมือนจริงในแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เช่น วิดีโอ, ไลฟ์สตรีมมิ่ง, เทคโนโลยี VR และ AR ส่วน vLab จะเน้นแอพลิเคชั่นแนวดิ่ง ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถขับเคลื่อนทุกอุตสาหกรรมแนวดิ่งให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล สุดท้ายคือ hLab ซึ่งเป็นแล็บลำดับที่สามในโครงการ X Labs จะเน้นพัฒนาการเชื่อมต่อในภาคครัวเรือนให้มากยิ่งขึ้น และใช้การเชื่อมโยงบรอดแบนด์เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฮม

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com 

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่