หมวดอื่นๆ (Other) | วันที่ : 13 มกราคม 2560
บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ร่วมกับภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดอบรมหลักสูตรโปรแกรม SAS Programming 1 : Essentials ให้ความรู้ทิศทางแนวโน้มในบทบาทของนักวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นอาชีพยอดนิยมที่วงการอุตสาหกรรมต้องการบุคลากรด้านนี้โดยเฉพาะ
นายณัฐพล อภิลักษณ์โตยานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจของแซสในปี 2017 จะมุ่งเข้าไปในภาคการศึกษาให้มากขึ้น เนื่องจากการพัฒนาบุคลากรด้านนักวิเคราะห์ข้อมูล มีส่วนสำคัญในการพัฒนาธุรกิจในทุก ๆ อุตสาหกรรมในยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่ Thailand 4.0 โดยผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมล้วนให้ความสำคัญกับช่องทางธุรกิจในโลกของออนไลน์ ขณะที่เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยทำงานในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มการทำงานอยู่บนคลาวด์ ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องปรับตัวให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าองค์กรหลายองค์กรที่เคยใช้คนมากในการทำงานเหมือนเช่นในอดีตได้ลดบุคลากรลงอย่างรวดเร็ว ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่และหันไปใช้โซลูชั่นเฉพาะกับธุรกิจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการกับลูกค้า
การเข้าไปในภาคการศึกษาของแซสต้องอาศัยพันธมิตรเข้ามาร่วมด้วยโดยล่าสุด แซส ร่วมกับ ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญฃี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการฝึกอบรม SAS Programming 1 : Essential ระหว่างวันที่ 6-8 มกราคม 2017 ณ ศูนย์คอมพิวเตอร์ อาคาร 9 ชั้น 3 ห้อง 301 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในยุคที่ข้อมูลมีปริมาณมหาศาล และองค์กรต่าง ๆ มีความต้องการนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
รศ.ดร.สุวาณี สุรเสียงสังข์ หัวหน้าภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โครงการอบรม SAS programming 1 : Essential ระหว่างวันที่ 6-8 มกราคม 2517 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาของแซสให้กับนิสิตระดับปริญญาตรี และปริญญาโทของภาควิชาฯ ผ่านการอบรมระยะเวลา 3 วัน ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาเข้าร่วมโปรแกรมดังกล่าวเช่นเคย โดยมีหลายหัวข้อที่น่าสนใจซึ่งล้วนให้ความรู้ด้านเทคนิค วิธีการใช้โปรแกรมแซส อย่างผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการอบรมไม่ใช่เพียงแค่รู้เทคโนโลยีแต่ต้องรู้เทคนิคด้วย ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนเข้าสู่ตลาดในการทำงานอย่างมืออาชีพ
ดร.สุวาณี กล่าวเพิ่มเติมว่า การเรียนรู้วิชาสถิติในปัจจุบันนิสิตทุกคนต้องรู้ว่าเรียนรู้เพื่ออะไร มีเป้าหมายอย่างไร เพื่อให้สามารถนำประสบการณ์ไปทำงานได้จริงในยุคปริมาณข้อมูลมีจำนวนมาก ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติจำเป็นต้องมีทักษะและมีกระบวนการคิด โดยเมื่อนิสิตผ่านอบรมหลักสูตรของแซส จะทำให้ได้รับประสบการณ์ที่ใช้ได้ในการทำงานจริง
ทั้งนี้อาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูลเป็นอาชีพ ที่มีโอกาสในการหางานทำและทำรายได้เนื่องจากบุคลากรด้านนี้ยังขาดแคลน ซึ่งในส่วนของผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านนี้ยังมีค่อนข้างน้อย ซึ่งสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องให้ความรู้ ให้ข้อคิด และให้คำแนะนำเกี่ยวกับความสำคัญของนักวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ผลสำรวจของไอดีซีใน 2558 ได้ระบุชัดด้วยว่า ทั่วโลกจะมีความต้องการบุคลากรด้านไอทีเกี่ยวกับคลาวด์ประมาณ 7 ล้านตำแหน่ง ซึ่งเฉพาะในเอเชียกว่า 2.3 ล้านตำแหน่ง ขณะที่ข้อมูลจากการ์ทเนอร์ระบุว่า บุคลากรไอดีด้านบิ๊กดาต้าทั่วโลกมีความต้องการกว่า 4.4 ล้านตำแหน่ง และในเอเชียกว่า 9.6 แสนตำแหน่ง
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.sas.com วันที่ : 13 มกราคม 2560
OnePlus Ace 5 และ OnePlus Ace 5 Pro สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่จาก Ace Series ชิปฯ เร็วแรง เอาใจสายเกมมิ่ง
HUAWEI FreeBuds SE 3 สัมผัสเสียงคมชัด ดีไซน์โดดเด่น ในราคาที่เข้าถึงได้
หลุดสเปค Pixel 9a มาพร้อมชิปเซ็ต Tensor G4 ความจุแบตเตอรี่ 5,100mAh
HMD Arc สมาร์ทโฟนรุ่นเล็ก ระบบปฏิบัติการ Android 14 Go แบตเตอรี่ 5,000mAh
OPPO เตรียมเปิดตัว OPPO Reno13 Series 5G สมาร์ทโฟน AI รุ่นล่าสุด18 ชั่วโมงที่แล้ว
ความสำคัญของไดชาร์จรถยนต์ แหล่งหล่อเลี้ยงระบบสำคัญในรถ24 ชั่วโมงที่แล้ว