สมาร์ทโฟน (Smartphone)  |   วันที่ : 23 มกราคม 2560

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

หลังจากรอการแถลงการณ์ของปัญหา Samsung Galaxy Note 7 อยู่นานล่าสุดซัมซุงก็ออกมาเฉลยสาเหตุของกรณีดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยหลักๆ เกิดจากการดีไซน์ภายในและแบตเตอรี่ที่เป็นปัญหาเอง แบ่งไว้สองกรณี ได้แก่ Battery A ที่ผลิตภัณฑ์รอบแรก และก็ Battery B สินค้ารอบสองที่อ้างว่าแก้ไขปัญหาแล้ว (Note7s) ซึ่งทั้งคู่ต่างเกิดปัญหาคนละอย่างกัน และในการทดสอบครั้งนี้ทางซัมซุงใช้ทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นวิศวกรทั้งหมด 700 คน, Note 7 กว่า 200,000 เครื่องเช่นเดียวกับแบตเตอรี่อีกกว่า 30,000 ก้อน เพื่อค้นหาผลลัพธ์ที่เที่ยงตรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

โดยกรณีการทดสอบแบตเตอรี่ของสมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าวได้ใช้ผู้ตรวจสอบภายใน และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ได้แก่ บริษัท UL, Exponent, TÜV Rheinland

สำหรับกรณีปัญหาของ Samsung Galaxy Note 7 ส่วน Battery A พบว่าเกิดจากการดีไซน์ภายในที่มุมส่วนของแบตเตอรี่ด้านขวาบนนั้นอยู่ใกล้กับขอบเครื่องมากเกินไป ส่งผลให้เกิดแรงดันและก็ทำให้เลเยอร์เกิดการบิดงอจึงเกิดเป็นปฏิกริยาไฟฟ้าขึ้นระหว่างขั้วบวกกับขั้วลบ ซึ่งแบตเตอรี่ A ได้ทำการผลิตโดยบริษัท Samsung SDI

ส่วน Battery B ที่มีการออกแบบใหม่แตกต่างจากกรณีของ Battery A ก็ดูเหมือนว่าซัมซุงพบปัญหานั้นแล้ว เพียงแต่ยังไม่แถลงการณ์ อย่างไรก็ตามในกรณี B พบว่าเกิดจากเรื่องราวของแรงดันภายในจากขั้วบวกเกี่ยวกับเซลล์บริเวณตรงกลางแบตเตอรี่แล้วดันขึ้นทะลุแผงกั้นไปสัมผัสขั้วลบจึงเกิดปฏิกริยาขึ้น ส่วนแบตเตอรี่ B ได้ผลิตจากโรงงานในประเทศจีนนามว่า Amperex Technology

ต่อไป Samsung จะทำอย่างไรต่อ ?

Samsung สัญญาว่าต่อไปนี้จะดูแลและปรับปรุงยกเครื่องตรวจสอบมาตรฐานของ QC ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะแบตเตอรี่ก็ได้นำ 8 ขั้นตอนในการตรวจเช็คเพื่อรับรองความปลอดภัย และขั้นตอนดังกล่าวยังนำมาตรวจสอบกรณี Note 7 เช่นกัน

Samsung เรียกกระบวนการทั้งหมดนี้ว่า "8 Point Battery Safety Check" ได้แก่...

  1. การทดสอบความทนทาน
  2. การตรวจสอบภายในภายใต้ข้อมาตรฐานที่กำหนด
  3. การทดสอบข้อผลิดพลาด (Error) และความผลิดปกติ (abnormality) ด้วยรังสีเอ็กซ์
  4. ทดสอบด้วยการชาร์จซํ้าแล้วซํ้าอีก (จาก 0% -100%)
  5. ทดสอบการตรวจจับจุดรั่วไหลของแบตเตอรี่
  6. การทดสอบแยกส่วนของแบตเตอรี่เพื่อประเมินผลคุณภาพของแต่ละชิ้นส่วน
  7. ทดสอบแบตเตอรี่ด้วยสถานการณ์จำลองหากอยู่ในสภาพที่มีแรงดัน
  8. ตรวจเช็คแรงดันไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงภายเมื่อชาร์จตั้งแต่ต้นจนจบ

แม้จะนำ 8 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นมาตรวจเช็คแล้ว ยังได้เพิ่มอีกสองมาตรการเพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้น ได้แก่ Multi-layer Safety Measures Protocol

  1. เพิ่มประสิทธิภาพมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับวัสดุที่ใช้ภายในแบตเตอรี่
  2. ออกแบบพื้นผิวภายนอกของแบตเตอรี่ใหม่เพื่อการป้องกันที่ดีขึ้น
  3. ใช้ซอฟต์แวร์เข้าช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

สุดท้ายผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก เพื่อเป็นคณะที่ปรึกษาเกี่ยวกับแบตเตอรี่โดยเฉพาะ อาทิ

  • Clare Grey, Ph.D., Professor of Chemistry, University of Cambridge
  • Gerbrand Ceder, Ph.D., Professor of Materials Science and Engineering, UC Berkeley
  • Yi Cui, Ph.D., Professor of Materials Science and Engineering, Stanford University
  • Toru Amazutsumi, Ph.D., CEO, Amaz Techno-consultant

หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติม theverge.com, c-net.com, engadget.com

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่