เทคโนโลยีนิวเคลียร์ได้ถูกพัฒนาให้มีความใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น ในโรงพยาบาลหรือสถานประกอบการต่างๆ ได้มีการใช้เทคโนโลยีชนิดนี้อย่างแพร่หลาย ทั้งด้านการแพทย์การศึกษาวิจัย อุตสาหกรรมและด้านการเกษตร โดยหลังจากพระราชบัญญัติ พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ.๒๕๕๙ เริ่มมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ในฐานะหน่วยงานด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีของประเทศ จึงได้ร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการพัฒนาประเทศ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันโดยมุ่งเน้นให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป
ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เปิดเผยว่า “การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฯ ในครั้งนี้จะนำมาซึ่งความร่วมมือในการดำเนินงานด้านวิชาการและการบริการต่างๆ อาทิ การเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมระงับเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี มาตรการวิทยาทางรังสี การรับรองผลการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยเครื่องกำเนิดรังสี การจัดการกากกัมมันตรังสี การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการพัฒนาบุคลากรด้านนิวเคลียร์และรังสี ด้านความปลอดภัยสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ รวมทั้งจะเป็นการส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ การวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ และการประยุกต์ใช้ในเชิงสันติ ตลอดจนเทคโนโลยีสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และงานบริการ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจในอนาคต อีกทั้งจะยังสนับสนุนทั้งในด้านการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร รวมถึงการสร้างเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ และความร่วมมือในการใช้ประโยชน์และการแลกเปลี่ยนข้อมูลของทั้งสองหน่วยงาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานส่วนที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
ดร.พรเทพ นิศามณีพงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า “นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ระหว่าง สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติและสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เกิดขึ้นในวันนี้ เพราะในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์นั้น จำเป็นจะต้องมีการบูรณาการความร่วมมือเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสี ที่มุ่งเน้นให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม การลงนามครั้งนี้ ได้ครอบคลุมถึงการตรวจสอบคุณภาพเครื่องกำเนิดรังสี การตรวจสอบความปลอดภัยในการควบคุมปริมาณรังสีที่ใช้ทางการแพทย์ เพื่อให้คุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยของประเทศไทยมีมาตรฐานที่สอดคล้องกับสากล ทั้งนี้ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีศักยภาพและความพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญในการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบคุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัย เป็นการเพิ่มช่องทางให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ โรงพยาบาล และสถานประกอบการอุตสาหกรรมอื่นๆ ในอนาคต”
“จุดเด่นของบริการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยโดย สทน. นั้นจะเน้นที่การให้บริการที่รวดเร็ว ฉับไว โดยใช้เวลาในกระบวนการตรวจสอบรวมและออกใบรับรองมาตรฐานการตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ สามารถเข้าทำการตรวจนอกเวลาทำการได้ โดยเรามีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกทั้งในด้านการนัดหมาย และการบริการอื่นๆ”
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทร.๐๖๑ ๓๘๕ ๒๓๒๘
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.oap.go.th วันที่ : 4 พฤษภาคม 2560
POCO M7 Pro 5G ชิปเซ็ต Dimensity 7025 Ultra กล้อง Sony LYT-600 ชัด 50MP
ทำความรู้จัก Infinix HOT 50i หน้าจอ 120Hz เก็บข้อมูลจุใจ 256GB ราคาใหม่ พร้อมสีใหม่สดใส
ใช้ชีวิตสมาร์ทๆ กับ Xiaomi 14T และ Xiaomi 14T Pro สมาร์ทโฟนที่คุณต้องมี!!
HMD Arc มือถือระบบ Android 14 (Go edition) ดีไซน์สวย ทนทาน ทรงประสิทธิภาพ
5 อันดับสมาร์ทโฟนยอดนิยม มีคนดูมากที่สุดบนเว็บไซต์ Siamphone.com ในปี 2024
HONOR Pad V9 แท็บเล็ตจอ 11.5 นิ้ว รีเฟรช 144Hz ชิปเซ็ต Dimensity 8350
OPPO เตรียมเปิดตัว OPPO Reno13 Series 5G สมาร์ทโฟน AI รุ่นล่าสุด10 ชั่วโมงที่แล้ว
ความสำคัญของไดชาร์จรถยนต์ แหล่งหล่อเลี้ยงระบบสำคัญในรถ16 ชั่วโมงที่แล้ว