สมาร์ทโฟน (Smartphone)  |   วันที่ : 19 ธันวาคม 2560

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

ทางทีมงานสยามโฟนมีโอกาสได้เดินทางไปเยี่ยมชมโรงงาน และศูนย์ R&D Testing Lab ซึ่งเป็นห้องวิจัยและทดสอบสมาร์ทโฟนพร้อมกับอุปกรณ์ต่างๆ ของหัวเว่ยก่อนนำไปผลิต เพื่อให้ได้สมาร์ทโฟนที่มีคุณภาพ มีความแข็งแรงทนทานทั้งตัวเครื่องและอุปกรณ์ภายในกล่อง โดยที่ห้องทดลองจะมีเครื่องทดสอบหลายประเภท ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้พาเราเข้าไปชมการทดสอบหลักๆ มีอยู่ดังนี้

1. ทดสอบความแข็งแรงในเครื่องหมุน

เป็นการนำสมาร์ทโฟนไปใส่ไว้ในเครื่องที่สามารถหมุนได้รอบทิศทาง เพื่อทดสอบความแข็งแรง ทนทาน หากเครื่องมีการกระแทกไป-มาในระยะประมาณ 50 เมตร

2. ทดสอบ Drop Test

ลักษณะการทดสอบดังกล่าวจะเป็นตู้ในแนวตั้ง การทดสอบการตก หรือที่หลายคนคุ้นชื่อกับคำว่า Drop Test ก็คือการนำสมาร์ทโฟนไปหนีบไว้กับเครื่องที่ทดสอบในแนวดิ่ง จากนั้นก็ปล่อยเครื่องลงที่ความสูงประมาณ 1 เมตร พร้อมกับการจำลองมุมและท่าทางที่จะทำตก เพื่อทดสอบว่าสมาร์ทโฟนดังกล่าวมีความแข็งแรง ทนทานแค่ไหน

3. ทดสอบแรงกด

เป็นการจำลองการทดสอบแรงกด หรือการนั่งทับด้วยเครื่องจักร ใช้วัตถุที่มีความนิ่มน้ำหนัก 25 กิโลกรัม ประมาณ 2,000 ครั้ง ด้วยการปล่อยเครื่องลงมาช้าๆ ซึ่งเป่นการจำลองหากนั่งทับเครื่องจะมีผลอย่างไร

 

4. ทดสอบการเสียบสายชาร์จกับอะแดปเตอร์

ในขั้นตอนนี้เป็นการนำสายชาร์จซึ่งเป็นอุปกณ์ที่เรียกว่ามีความสำคัญกับสมาร์ทโฟน โดยที่จะมีมาให้ในกล่องบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้การใช้งานได้ปลอดภัยและยาวนานจึงมีการทดสอบด้วยเช่นกัน เป็นการใช้เครื่องจักรทดสอบการเสียบสายชาร์จที่เป็นฝั่งของ USB เข้ากับอแดปเตอร์ ถอดเข้า-ออกประมาณ 10,000 ครั้ง เพื่อทดสอบว่าใช้งานได้นานแค่ไหน และมีความแข็งแรง รวมถึงความปลอดภัยมากเพียงใด

5. ทดสอบสายชาร์จด้านที่เป็น USB

การทดสอบแบบนี้เป็นการจำลองการกระแทกที่ด้านซ้ายและขวาของหัวต่อด้วยน้ำหนักข้างละ 1 กิโลกรัมสลับกัน จำนวน 2,000 ครั้ง เพื่อจำลองการคดงอ หรือถอดสายด้วยแรงที่ไม่ปกติ ว่าตัวหัว USB หรือสายจะสามารถทดได้ขนาดไหน

6. ทดสอบความแข็งแรงของสายชาร์จ

เชื่อว่าสายชาร์จสมาร์ทโฟนเป็นอีกอุปกรณ์ที่ค่อนข้างมีความบอบบาง ไม่ว่าจะเป็นเวลาดึงออกมาใช้ หรือเวลาเก็บ ซึ่งในการทดสอบครั้งนี้ก็เพื่อดูว่าสายนั้นสามารถทดแรงเหวี่ยง ดึง หมุนไป-มาได้มากน้อยเพียงใด โดยที่การทดสอบก็นำสายไปผูกไว้กับเครื่อง หมุนไปด้านซ้าย-ขวาแบบ 360 องศา กลับไปกลับมาเรื่อยๆ ซึ่งจะมีผลต่อทั้งตัวสาย และข้อต่อระหว่างสายกับหัว USB ว่าสามารถทนแรงหมุนได้มาขนาดไหน

7. ทดสอบการคดงอด้วยตุ้มน้ำหนัก

การทดสอบในขั้นตอนนี้เป็นการใช้เครื่องหนีบกับสายชาร์จ และปลายสายอีกด้านถ่วงด้วยลูกตุ้มน้ำหนักขนาด 1 กิโลกรัม และทำการบิดไป-มาซ้ายขวา ดูความแข็งแรงของหัวต่อและสายไปพร้อมกัน

8. ทดสอบการบิดงอ

ขั้นตอนนี้จะเป็นการนำสมาร์ทโฟนไปหนีบไว้บนเครื่องจักรบริเวณหัวท้าย จากนั้นเครื่องก็จะทำการบิดซ้าย-ขวาไปมา เพื่อทดสอบความแข็งแรงของตัวเครื่อง และชิ้นส่วนต่างๆ

9. ทดสอบแรงกดบนปุ่ม

ปุ่มกดที่ด้านข้างตัวเครื่องไม่ว่าจะเป็นปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง เพิ่ม หรือลดเสียง ต่างมีความสำคัญต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก การทดสอบครั้งนี้เป็นการจำลองการกดลงที่ปุ่มกว่า 50,000 ครั้ง ดูว่าเครื่องทำงานปกติหรือไม่ และปุ่มใช้งานได้ยาวนานเพียงใด

นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบอื่นๆ ที่มองเห็นด้วยตา เช่น การทดสอบความคงทนต่ออุณหภูมิด้วยเครื่องจากความร้อนสูงสุด 80 องศาเซลเซียส ไปหาความเย็นที่ -40 องศาเซลเซียส สลับไปมากว่า 48 ชั่วโมง หรือจะเป็นการทดสอบความชื้น แรงกดอากาศ ซึ่งถือว่ากว่าจะได้สมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องนั้นไม่ง่ายเลย ยังมีอีกหลายขั้นตอนการก่อนที่จะผ่านกระบวนการทั้งหมดจึงสามารถนำไปผลิตเป็นสมาร์ทโฟนของหัวเหว่ยออกมาให้กับผู้บริโภคได้ใช้ต่อไป และยังมีอีกหลายขั้นตอนก่อนที่จะมาอยู่บนมือเรา

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่