เทคโนโลยี (Technology)  |   วันที่ : 4 พฤษภาคม 2561

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

มีกรณีศึกษาจากผลวิจัยของสถาบัน Environmental Health Perspectives โดยแสดงให้เห็นว่า "แสงสีฟ้า" มีผลต่อร่างกายของมนุษย์ และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้กับกรณีแสงสีฟ้าในหน้าจอสมาร์ทโฟนเช่นกัน

ในส่วนผลการสำรวจก็ชี้ชัด ผู้ที่ได้รับแสงสีฟ้า "ในระดับสูง" ช่วงกลางคืน มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นถึง 1.5 เท่า และโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า โดยมีการเปรียบเทียบจากแสงสีอื่นๆ เช่นกัน (ใช้แสงประดิษฐ์ในการทดลอง) แต่ปรากฏว่าแสงโทนสีแดงหรือเขียว ไม่มีผลต่อการเติบโตของโรคมะเร็ง

โดย Sánchez de Miguel ที่เป็นหัวหน้าของการวิจัยครั้งนี้ ยังได้ออกมาบอกว่า "แสงสีฟ้า" จะส่งผลไปยังต่อมหลั่งสาร เมลาโทนิน (สารที่จะหลั่งออกมาเวลามนุษย์นอนหลับ) ด้วยการยับยั้งไม่ให้หลั่งออกมาเป็นปกติ ซึ่งไม่เป็นผลดีแน่ๆ หากเล่นอุปกรณ์พกพาก่อนนอน

แม้ว่าการวิจัยนี้จะไม่ได้ทดลองจากอุปกรณ์พกพาจริงๆ แต่ปกติแสงสีฟ้าจะมีอุณหภูมิมากกว่า 3,000 เคลวิน ซึ่งก็เป็นอุณหภูมิที่เท่ากับเหล่าอุปกรณ์พกพาปลดปล่อยออกมาเช่นกัน

แล้วพวกเราควรจะทำอย่างไร ?

  • สำหรับ สมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, หรือแท็บเล็ต ก็แนะนำว่าให้ใช้โหมดกลางคืน เพื่อช่วยลดแสงสีฟ้าจากหน้าจอแสดงผล
  • ใช้ฟีเจอร์ของสมาร์ทโฟน ด้วยการเปิดโหมดปรับฟิลเตอร์เพื่อลดอุณภูมิของหน้าจอ หรือตะดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเสริมมาเพื่อปรับอุณหภูมิแสงบนหน้าจอ

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่