เทคโนโลยี (Technology)  |   วันที่ : 28 มิถุนายน 2561

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

เชื่อว่าคนไทยทุกคนในตอนนี้ยังคงเฝ้าติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดและภาวนาให้ 13 ชีวิตจากทีมฟุตบอล "หมูป่า" ปลอดภัยและได้รับการช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด และเราก็เชื่อว่าหน่วยต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างทำงานกันเต็มที่ เพื่อส่งอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ ไปยังวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ซึ่งเราก็ได้รวบรวมทุกอุปกรณ์ที่ใช้ในการช่วยเหลือ 13 ชีวิตเอาไว้

หุ่นยนต์ดำน้ำ ROV

หุ่นยนต์ดำน้ำบังคับระยะไกล (ROV) ผลงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทีมงานศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมอากาศและทะเล โดยเป็นอุปกรณ์ที่มีดีกรีแชมป์หุ่นยนต์กู้ภัยโลก 8 สมัย ซึ่งมีหน้าที่หลัก คือ การสำรวจโลกใต้น้ำ และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 100 เมตรผ่านการบังคับด้วยรีโมต โดยผู้บังคับจะมองเห็นภาพต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ VR Headset

 

โดรน (Drone)

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จะส่งหุ่นยนต์ดำน้ำ ROV ในการช่วยเหลือแล้ว ยังคงมีโดรนที่ติดกล้องอินฟาเรด เพื่อใช้สำรวจทางอากาศ จำนวน 2 ลำ อีกด้วย ซึ่งการทำงานสามารถตรวจจับความร้อนได้ในเวลากลางคืน

เครื่องสูบน้ำไฟฟ้า

อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญของการช่วยเหลือทีมฟุตบอล "หมูป่า" นั่นก็คือ เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าขนาดใหญ่แรงดันสูง เพื่อให้ระดับน้ำภายในน้ำลดลง และเพิ่มความสะดวกให้กับหน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือได้มากที่สุด ซึ่งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ทาง กทม. ก็ได้ส่งเครื่องสูบน้ำมาจำนวน 20 เครื่อง และเริ่มติดตั้งในเวลาต่อมาทันที

รถสถานีเคลื่อนที่

เป็นการร่วมมือจากโอเปอเรเตอร์ทั้ง 5 ค่ายใหญ่ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น True, Dtac, AIS, CAT และ TOT ที่ช่วยขยายช่องสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งยังทำการหันเสาสัญญาณไปยังบริเวณของถ้ำหลวง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้งานคลื่นโทรศัพท์ได้อย่างราบลื่น รวดเร็วและกว้างยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ทาง Dtac ก็ได้ส่งรถโมบายล์ขยายสัญญาณมือถือเข้าไปสมทบเพิ่มเติม ขณะที่ TOT ได้ติดตั้งระบบโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตผ่านระบบดาวเทียม IP STAR จำนวน 1 วงจร และ CAT ที่ลากสาย Drop Wire จากปากถ้ำเข้าไปในถ้ำประมาณ 1,300 เมตร เพื่อให้สามารถใช้โทรศัพท์ประจำที่ในการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่หน่วยซีลที่เข้าไปในถ้ำเรียบร้อยแล้ว

อุปกรณ์ช่วยเหลือจากประเทศสวีเดนและอิตาลี

เอ๋ นรินทร ณ บางช้าง อดีตนักร้องดัง ได้ส่งอุปกรณ์ช่วยชีวิตจากประเทศสวีเดนและอิตาลี ซึ่งมีทั้งไฟฉายที่ใช้ได้ทั้งใต้น้ำและบนบกและมีความสว่างกว่าไฟฉายทั่วไปมาก สามารถใช้งานได้ราว 4-5 ชั่วโมง โดยมีอุปกรณ์ที่สามารถทำให้เด็กดำน้ำออกจากถ้ำ โดยไม่ต้องฝึกหายใจแบบนักดำน้ำ ในลักษณะคล้ายหมวกกันน็อค ซึ่งเด็กจะหายใจปกติอยู่ในหมวก รวมไปถึงถังออกซิเจนที่ติดอุปกรณ์เปลี่ยนคาบอนไดออกไซด์เป็นออกซิเจน เพื่อกลับมาหายใจได้ใหม่ได้ทันที ซึ่งประหยัดและอยู่ได้นานกว่าถังออกซิเจนทั่วไปมาก

 

อุปกรณ์สแกนจำลองภาพ 3 มิติ

และอุปกรณ์สุดท้าย คือ Leica Scanner P20 จากการช่วยเหลือของ R.S.K. ซึ่งเป็นอุปกรณ์สแกนจำลองภาพ 3 มิติ ที่สามารถมองเห็นในที่มืด โดยหน้าที่หลักๆ คือ การจำลองภาพภายในถ้ำเพื่อวิเคราะห์และช่วยให้งานของเจ้าหน้าที่ง่ายขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ เราก็ขอให้ทั้ง 13 ชีวิตปลอดภัย และหวังว่าเทคโนโลยีทุกอย่างจะช่วยให้พบเด็กๆ และโค้ชทีมทีมฟุตบอลเยาวชน "หมูป่า" ได้โดยเร็วที่สุด

**ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก ไทยรัฐ**

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่