องค์กร (Corporate)  |   วันที่ : 8 กุมภาพันธ์ 2562

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

แม้การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นและเดินหน้าต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง แต่ดัชนีชี้วัดการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ครั้งล่าสุดนี้แสดงให้เห็นว่าแผนงานด้านการปฏิรูปทางดิจิทัลของธุรกิจจำนวนมากยังคงอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น นี่คือหลักฐานที่ 78 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำธุรกิจยออมรับว่าการปฏิรูปทางดิจิทัลควรเป็นการดำเนินการในวงกว้างให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร (ประเทศไทย: 90 เปอร์เซ็นต์) ทั้งนี้ มากกว่าครึ่งหนึ่งขององค์กรธุรกิจ (51 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าพวกเขาจะต้องดิ้นรนเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปภายในระยะเวลา 5 ปี (ประเทศไทย: 71 เปอร์เซนต์) และเกือบหนึ่งในสาม (30 เปอร์เซนต์) ยังคงมีความกังวลว่าองค์กรของตนเองจะถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลัง (ประเทศไทย: 33 เปอร์เซ็นต์)

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ร่วมมือกับอินเทล และแวนสัน บอร์น ในการทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำธุรกิจจำนวน 4,600 คน ในระดับผู้อำนวยการขึ้นไปจนถึงผู้บริหารในระดับประธานเจ้าหน้าที่ (C-suite) จากบริษัทธุรกิจตั้งแต่ขนาดกลางไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่อยู่ทั่วโลกเพื่อประเมินความพยายามในการเปลี่ยนแปลงองค์กรของพวกเขา

การศึกษาเผยให้เห็นว่าตลาดเกิดใหม่คือตลาดที่มีความพร้อมและการเติบโตทางดิจิทัลมากที่สุด โดยมีอินเดีย บราซิล และประเทศไทยอยู่ในรายชื่อของการจัดอันดับในระดับโลก ในทางตรงกันข้าม ตลาดที่พัฒนาแล้วกลับเลื่อนไหลลงไปอยู่ข้างหลัง อาทิ ญี่ปุ่น เดนมาร์ก และฝรั่งเศส ที่มีคะแนนความพร้อมด้านดิจิทัลในระดับต่ำสุด ที่ยิ่งกว่านั้น ตลาดเกิดใหม่ยังมีความมั่นใจมากกว่าในศักยภาพของตัวเองว่าจะสามารถ “เปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างสิ้นเชิงมากกว่าจะเป็นผู้ที่ถูกเปลี่ยนแปลง” (53 เปอร์เซ็นต์” เมื่อเทียบกับตัวเลขที่ระดับ 40 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
เบื้องหลังเส้นกราฟ

งานวิจัย DT Index II สร้างขึ้นต่อยอดจาก DT Index ที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 2559 การเปรียบเทียบผลการวิจัยสองปีเน้นให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความคืบหน้าที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า พร้อมด้วยการดิ้นรนขององค์กรธุรกิจในการที่ต้องตามก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนแปลงให้ทัน ในขณะที่เปอร์เซนต์ของจำนวนของผู้ที่เริ่มก้าวสู่ดิจิทัล (Digital Adopters) เพิ่มจำนวนมากขึ้น ยังคงไม่มีความคืบหน้าในระดับบน เกือบสี่ในสิบ (39 เปอร์เซ็นต์) ของธุรกิจยังคงกระจายตัวอยู่ในสองกลุ่มของผู้ที่มีความพร้อมทางดิจิทัลน้อยที่สุดตามการจัดมาตรฐาน (ผู้ที่ถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลังดิจิทัล หรือ Digital Laggards และผู้ตามในเรื่องดิจิทัล หรือ Digital Followers)

“ในอนาคตอันใกล้นี้ ทุกองค์กรธุรกิจต่างจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นองค์กรดิจิทัล แต่งานวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในการเดินทางอีกยาวไกล” ไมเคิล เดลล์ ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องปรับเทคโนโลยีที่พวกเขาใช้งานให้ทันสมัย เพื่อมีส่วนร่วมในโอกาสที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอย่างการปฏิรูปทางดิจิทัล ถ้าจะลงมือก็ต้องเป็นในตอนนี้เลย”

อุปสรรคในการปฏิรูปและความมั่นใจ

ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าผู้นำทางธุรกิจต่างกำลังอยู่ในสภาวะของวิกฤตความเชื่อมั่น โดย 91 เปอร์เซ็นต์ถูกเหนี่ยวรั้งไว้ด้วยอุปสรรคเรื้อรังที่มีมายาวนาน

ห้าอันดับอุปสรรคสูงสุดที่มีต่อความสำเร็จของการปฏิรูปสู่ดิจิทัล
1. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ (อันดับ 1 ในประเทศไทย)
2. การขาดงบประมาณและทรัพยากร
3. การขาดทักษะและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมภายในองค์กร (อันดับ 5 ในประเทศไทย)
4. การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและกฎหมาย (จากอันดับ 9 ในปี 2559)
5. ความไม่สมบูรณ์ของวัฒนธรรมดิจิทัล

เกือบครึ่งหนึ่ง (49 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าองค์กรของพวกเขาต้องต่อสู้เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือภายในอีกห้าปีข้างหน้า เกือบหนึ่งในสาม (32%) ไม่เชื่อว่าองค์กรของตัวเองที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ได้ (อาทิ กฎระเบียบว่าด้วยการป้องกันข้อมูลทั่วไปของสหภาพยุโรป หรือ EU General Data Protection Regulation) หนึ่งในสามไม่เชื่อถือว่าองค์กรของตนจะปกป้องข้อมูลของพนักงานหรือลูกค้า

แผนงานต่างๆ เพื่ออนาคตดิจิทัลที่เป็นจริง

ผู้นำต่างรายงานถึงการจัดลำดับความสำคัญที่คล้ายคลึงกันและการลงทุนเพื่อช่วยการปฏิรูปในอนาคต รวมไปถึงการใหความสำคัญเพิ่มขึ้นในเรื่องของคนทำงาน (workforce) การรักษาความปลอดภัย (security) และระบบไอที ทั้งนี้ สี่สิบหกเปอร์เซ็นต์กำลังพัฒนาทักษะและความสามารถด้านดิจิทัลภายในองค์กร (in-house) อาทิ ด้วยการสอนพนักงานทุกคนสามารถเขียนโค้ดได้ ซึ่งมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2559 ถึง 27 เปอร์เซ็นต์ (ประเทศไทย: 65%)

อันดับสูงสุดของการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีในอีก 1-3 ปีข้างหน้า
1. การรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ (Cybersecurity)
2. เทคโนโลยี Internet of Things
3. สภาพแวดล้อมแบบมัลติ-คลาวด์
4. ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial intelligence
5. แนวการดำเนินงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง (compute centric)

การเดินทางขององค์กรธุรกิจจะเป็นอย่างไรในอนาคตจะขึ้นอยู่กับขั้นตอนที่พวกเขาเลือกที่จะเริ่มต้นในวันนี้ ยกตัวอย่าง Draper ซึ่งเป็นลูกค้าของเดลล์ เทคโนโลยีส์ จากที่เคยมุ่งเน้นไปที่แผนกการวิจัยด้านการป้องกัน ปัจจุบันได้เริ่มต้นที่จะมุ่งไปสู่ภาคส่วนที่เป็นเชิงพานิชย์มากขึ้น อาทิ วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (biomedical science)

“เทคโนโลยีช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาที่ยากที่สุดในโลกนี้ได้ จากโครงสร้างพื้นฐานและบริการที่สนับสนุนนวัตกรรมของเราไปจนถึงเทคโนโลยีการทดลองที่เราใช้เพื่อป้องกันเชื้อโรคเป็นต้น” ไมค์ โครนส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสารสนเทศ Draper กล่าว “เราไม่สามารถขยายขอบเขตการทำงานแล้วเรียกตัวเราเองว่าเป็นองค์กรด้านการวิจัยและวิศวกรรมได้โดยไม่ปฏิรูปปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันสมัยจากภายในสู่ภายนอก”

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่