เทคโนโลยี (Technology) | วันที่ : 25 กุมภาพันธ์ 2562
เมื่อเราเป็นพ่อแม่ยุค 4.0 คงต้องเรียนรู้และปรับตัวกันหน่อยแล้ว เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกทุกวันนี้อิทธิพลของโซเชียลเน็ตเวิร์คมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก บางคนถึงขั้นพฤติกรรมนั้นก็เปลี่ยนไปเลย เช่นก่อนรับประทานอาหาร เดิมเราก็ทานกันเลย แต่เดี๋ยวนี้ต้องอัพโหลดลงโซเชียลสักหน่อย หามุมหาช็อตเด็ดกว่าได้กินมีท้องร้องกันบ้างเช่นเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ที่ชอบถ่ายภาพลูกของเราลงสื่อออนไลน์ คำถามคือเด็กๆ เหล่านี้นั้นยินยอมหรือไม่ลองมาฟังเสียงสะท้อนผ่านบทสัมภาษณ์
สำหรับบทสัมภาษณ์นี้มาจากเว็บไซต์ theatlantic.com ก็ได้มีการตั้งหัวข้อข่าวน่าสนใจว่าเมื่อเด็กตระหนักถึงชีวิตของพวกเขาอยู่บนสื่อออนไลน์แล้ว เริ่มจาก Cara เด็กสาววัย 11 ปีที่มีความพยายามรวบรวมความกล้าในการสอบถามสิ่งที่เธอเห็นบน Instagram
เธอเล่าว่าเมื่อมองดูภาพของตนเอง มีการใช้สรรพนามหลายอย่างในการเรียกเธอ และบางรูปเธอเองก็ไม่ได้ชอบนัก ถ้าหากมองในปัจจุบันทุกครั้งที่มีกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไลฟ์สไตล์, การหัดลงมือทำอย่างใดอย่างหนึ่ง, การเรียนหนังสือ หรือการท่องเที่ยว พฤติกรรมพื้นฐานของพ่อแม่เลยคือการถ่ายภาพและอัพโหลดรูปลงสื่อโซเชียลเพื่อเก็บเป็นภาพความทรงจำ และแชร์สู่เพื่อนๆ ให้ได้เห็นถึงความน่ารัก แน่นอนว่าเด็กเหล่านี้ไม่สามาถรับรู้ได้เลยว่าภาพเหล่านั้นจะถูกนำมาทำอะไรต่อ ทว่ามีข้อกังวลอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในประเด็นนี้คือ ภาพเหล่านั้นสามารถถูกค้นหาได้ง่าย ด้วยการแค่พิมพ์ชื่อ นามสกุล หรือแฮชแท็ก โดยภาพส่วนใดส่วนหนึ่งอาจก่อให้เกิดเป็นผลร้ายต่อชีวิตวัยรุ่นของพวกเขาในอนาคตได้ ยกตัวอย่างเช่น คุณอัพโหลดภาพลูกของคุณในขณะที่ทำสิ่งที่ตลก พอเติบโตมาก็อาจถูกคนนอกนำภาพเหล่านั้นมาล้อเลียน ส่งผลให้เกิดความอับอาย
อีกหนึ่งกรณีมีผู้ปกครองโพสต์สอบถามพ่อแม่คนอื่นๆ ด้วยคำถามหนึ่งที่สนใจวิธีหยุดข้อความหรือภาพที่ถูกโพสต์ลงสื่อออนไลน์ สืบเนื่องจากลูกสาววัย 11 ปีได้เจอเรื่องราวของเธอบนโลกออนไลน์ และเธอก็ไม่พอใจจึงขอให้แม่ของเธอนั้นลบออกซะ แต่ไม่สามารถทำได้หมด เพราะเรื่องราวถูกแพร่ออกไปหลากหลายช่องทาง
ส่วน Ellen เป็นเด็กสาววัย 11 ปีก็มีเรื่องแปลกใจเช่นกัน โดยได้ให้เธอลงค้นหาชื่อบนอินเทอร์เน็ต ผลปรากฏว่ามีชื่อของเธอและภาพของเธอ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนที่เธอเรียน, ภาพท่องเที่ยว, กีฬาที่เธอเล่น โดยที่เธอไม่มีบัญชีการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คเลย ซึ่งเธอให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่าแค่อยากรู้ว่าเธอเรียนโรงเรียน หรือบ้านอยู่ที่ไหนก็ใช้อินเทอร์เน็ตนี่ละ คนทั้งโลกก็รู้แล้ว (the rest of the world will know.) และเธอก็ยอมรับว่ามีบางภาพที่เธอไม่ชอบใจ ทำให้เกิดความหงุดหงิด
และเด็กคนอื่นๆ ที่ถูกสัมภาษณ์ก็มีความรู้สึกเหมือนสามคนข้างต้น ซึ่งเมื่อถูกพ่อแม่ของพวกเขานั้นโพสต์ลงสื่ออนไลน์ ต่างก็มีเพื่อนมาคอมเมนต์ บ้างก็ถูกล้อเลียน บ้างก็อิจฉา บ้างก็ถูกคุกคาม โดยพ่อแม่อาจหลงลืมไปว่าพ่อแม่มีโซเชียล แต่เด็กๆ เหล่านี้ก็มีเหมือนกัน เพราะพวกเขาต่างเติบโตมาในยุคที่ Facebook, YouTube, Google, Instagram, Whatsapp รายล้อม เรื่องราวทุกอย่างสามารถแชร์ได้อย่างอิสระ
อย่างไรก็ตามเมื่อเด็กๆ ได้ทราบข้อเท็จจริงเหล่านี้ จึงเกิดความกังวลต่ออนาคตของตนเอง ทำให้แก้ปัญหาด้วยการขออนุญาตพวกเขา (เด็ก) ก่อนทำการโพสต์ลงสื่อออนไลน์ก็เรียกได้ว่าเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ และต้องตระหนักถึงสิทธิส่วนตัวที่ทุกคนพึงมี...เพราะทุกอย่างในสมัยนี้แพร่หลายได้ไวทั้งไม่สามารถติดตามได้
ที่มา : www.washingtonpost.com วันที่ : 25 กุมภาพันธ์ 2562
Blackview tab 16 แท็บเล็ตไฮเอนด์ หน้าจอใหญ่รับชมคอนเทนต์ HD ใช้ปากกาสไตลัสได้
HONOR Magic 5 Ultimate Edition ขั้นสุดของซีรีย์ อัพเกรดจัดหนัก
แอบส่อง vivo V27 5G โชว์ฟีเจอร์กล้อง Aura Light Portrait ขึ้นปก Vogue ไทย
ชี้เป้า! ซัมเมอร์ลดราคา 7 สมาร์ทโฟนจาก Samsung, vivo และ OPPO
Samsung Galaxy A54 และ Galaxy A34 คู่หูจอ AMOLED รีเฟรชเรท 120Hz เปิดพรีออเดอร์ในไทยเรียบร้อย
AI influencer คืออะไร?3 ชั่วโมงที่แล้ว
อยากโกอินเตอร์ เปลี่ยนไปใช้เบอร์ไหนดี ?19 ชั่วโมงที่แล้ว
Lenovo Tab M9 แท็บเล็ตเพื่อความบันเทิง ในราคาเริ่มต้น 5,xxx บาท20 ชั่วโมงที่แล้ว