องค์กร (Corporate)  |   วันที่ : 14 มีนาคม 2562

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

BSA สนับสนุนองค์กรธุรกิจแก้ไขปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) โดยโครงการที่เปิดตัวในวันนี้จะสื่อสารกับองค์กรธุรกิจหลายพันแห่ง เพื่อสร้างความเข้าใจถึงประโยชน์ของการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ทั้งทางกฎหมาย การดำเนินธุรกิจ และความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และมุ่งหวังให้องค์กรธุรกิจปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วน

“วันนี้เราให้ความสำคัญในเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) เพื่อช่วยองค์กรธุรกิจลดความเสี่ยงจากการใช้งานซอฟต์แวร์” นายดรุณ ซอว์เนย์ ผู้อำนวยการอาวุโส BSA/พันธมิตรซอฟต์แวร์ ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค กล่าว “เป้าหมายของเราคือการเห็นองค์กรธุรกิจจำนวนมากเข้าใจถึงความจำเป็นในการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วน และเข้าใจว่าการลงทุนในการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายนั้นส่งผลดีต่อความปลอดภัย ชื่อเสียงองค์กร การดำเนินธุรกิจขององค์กร และผลกำไรของพวกเขาด้วยเช่นกัน”

BSA ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐของหลายประเทศในอาเซียน เพื่อช่วยให้กลุ่มธุรกิจต่างๆ เข้าใจถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับจากการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วน ข้อมูลจากไอดีซี (IDC) ประเมินว่าองค์กรธุรกิจจะมีผลกำไรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11 จากการเปลี่ยนมาใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) รวมถึงมีการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ที่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้การใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวยังเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศ ทำให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ สนับสนุนให้องค์กรธุรกิจจำนวนมากเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

“บริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกครบถ้วน จะมีประสิทธิภาพในการการปฏิบัติงานที่สูงกว่า ลดความเสี่ยงที่ข้อมูลองค์กรจะรั่วไหล และเป็นประโยชน์ต่อประเทศ” นายดรุณ กล่าว “องค์กรที่ดีและสามารถสร้างกำไรได้ควรใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้า ตลอดจนข้อมูลทางธุรกิจของตน ยิ่งไปกว่านั้นคือการป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อองค์กรเอง”

สัปดาห์นี้ BSA เปิดตัวโครงการ “Legalize & Protect” ในประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่ง BSA เคยเปิดตัวโครงการที่คล้ายกันนี้มาก่อนแล้วในประเทศเวียดนาม และผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง บริษัทเป้าหมายสำหรับโครงการนี้ล้วนอยู่ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิต ไอที การเงิน การบริการ การก่อสร้าง การดูแลสุขภาพ สินค้าอุปโภคบริโภค วิศวกรรม สถาปัตยกรรมและการออกแบบ

ในเดือนต่อๆ ไป BSA จะจัดกิจกรรมในการให้ความรู้แก่ผู้นำองค์กรธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มนักธุรกิจต่างตระหนักถึงความเสี่ยงของการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ซึ่งรวมถึงกิจกรรมทางการตลาด การสื่อสาร บทความบนโซเชียลมีเดีย และในบางกรณีอาจมีการติดต่อโดยตรงไปยังองค์กรธุรกิจเพื่อส่งเสริมให้พวกเขาดำเนินการ เพื่อให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอยู่นั้นมีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วน

ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค มีอัตราการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) สูงที่สุดในโลกถึงร้อยละ 57

การใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ส่งผลเสียต่อธุรกิจ

ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ซีไอโอ (CIO) ทั่วโลกต่างพบว่าซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) มีความเสี่ยงมากและส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามมา

ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจจำนวนมากมีความเสี่ยงสูงถึงหนึ่งในสามที่จะเผชิญกับการจู่โจมของมัลแวร์ ในเวลาที่ใช้งานหรือติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) รวมถึงใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ด้วย การจู่โจมของมัลแวร์ในแต่ละครั้งสามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรธุรกิจ โดยเฉลี่ยถึง 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอาจใช้เวลาในการแก้ปัญหาดังกล่าวนานถึง 50 วัน นอกจากนี้ หากการจู่โจมของมัลแวร์ดังกล่าวทำให้องค์กรธุรกิจไม่สามารถให้บริการหรือดำเนินงานได้ หรือสูญเสียข้อมูลทางธุรกิจ ย่อมส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงด้วยเช่นกัน ค่าใช้จ่ายในการจัดการกับมัลแวร์ที่มีสาเหตุมาจากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเพิ่มสูงขึ้น โดยสูงกว่า 10,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ (ประมาณ 320,000 ล้านบาท) ต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องที่ถูกมัลแวร์จู่โจม และสร้างความเสียหายให้แก่องค์กรธุรกิจทั่วโลกเกือบ 359,000 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐต่อปี (ประมาณ 114.88 แสนล้านบาท)

BSA ทำงานร่วมงานกับรัฐบาลในประเทศต่างๆ มาอย่างยาวนาน เพื่อให้ความรู้แก่องค์กรธุรกิจเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบจากการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) และความร่วมมือดังกล่าวนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่น่ายินดี ดังจะเห็นได้จากอัตราการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ที่ลดลงในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของ BSA เองยังคงแสดงให้เห็นว่าปัญหาดังกล่าวยังคงมีอยู่ในอัตราที่สูง

“ภูมิภาคอาเซียนเป็นพื้นที่ที่มีพลวัตรทางเศรษฐกิจมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และองค์กรธุรกิจของท้องถิ่นและข้ามชาติต่างกำลังเติบโตและได้รับประโยชน์จากโอกาสอันหลากหลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นายดรุณ กล่าว “แต่สำหรับบริษัทในภูมิภาคอาเซียนที่จะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างแท้จริง พวกเขาจำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ การทำธุรกิจด้วยซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) แสดงให้เห็นการขาดธรรมภิบาลในด้านการบริหารจัดการ และเป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับการทำธุรกิจในระดับสากลและมืออาชีพ

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่