คุณเฮนรี่ หม่า รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศของ WeBank ในสิงคโปร์ ได้เปิดโลกอนาคตแห่งวงการ 'Open Banking' แก่บรรดาผู้เข้าร่วมงาน Money 20/20 และพร้อมกันนี้ยังได้ประกาศเปิดตัวกระบวนทัศน์ '3O' Paradigm แนะนำบริการยุค Open Banking รวมถึงแนวทางที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดการกับปัญหาท้าทายที่ตามมา
Gartner ได้กำหนดให้คำว่า 'Open Banking' เป็นธุรกิจแพลตฟอร์มที่มีการแชร์ข้อมูล อัลกอริทึม บันทึกรายการธุรกรรม และกระบวนการต่าง ๆ ไว้ในระบบนิเวศ เพื่อให้บริการแก่ผู้มีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า พนักงาน นักพัฒนาภายนอก บริษัทฟินเทค และเวนเดอร์
คุณเฮนรี่ เชื่อว่า โมเดล Open Banking นี้เปิดโอกาสให้ธนาคารต่าง ๆ สามารถผนวกศักยภาพด้านผลิตภัณฑ์ ความเสี่ยง และเทคโนโลยี เข้าไปในอุตสาหกรรมเฉพาะเจาะจง ขณะที่ทางธนาคารเองก็สามารถเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้ตรงยิ่งขึ้น
สิ่งนี้นับเป็นความก้าวหน้าที่ให้ประโยชน์ต่อทุกฝ่าย เพราะในฝั่งของธนาคารนั้นสามารถให้บริการทางการเงินที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าในสถานการณ์ต่าง ๆ มากที่สุด ส่วนธุรกิจพันธมิตรที่ไม่มีความเชี่ยวชาญและศักยภาพในสายการเงินนั้น ก็สามารถให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ ธนาคารทั้งหลายจึงสามารถเข้าถึงตลาดลองเทลที่ปกติแล้วภาคธนาคารเข้าไม่ถึงหรือไม่ก็เข้าถึงไม่ครอบคลุมมากพอ พร้อมส่งเสริมให้บริการทางการเงินมีความทั่วถึงยิ่งขึ้น
'Open Banking' ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากบรรดาธนาคารจีนในช่วงปีที่ผ่านมา (2561) ซึ่งธนาคารหลาย ๆ แห่งก็ได้มีการเปิดตัวแพลตฟอร์ม Open Banking โดยใช้เทคโนโลยี API
อย่างไรก็ดี คุณเฮนรี่ หม่า มองว่า Open Banking เป็นมากกว่าเทคโนโลยี API โดยเขาได้สร้างสรรค์กระบวนทัศน์ '3O' Paradigm นี้ขึ้นเพื่อสะท้อนแนวคิดดังกล่าว ได้แก่ 'Open Platform', 'Open Innovation' และ 'Open Collaboration'
ปัจจุบัน WeBank กำลังเดินหน้ากระบวนทัศน์ '3O' Paradigm ในเชิงรุก พร้อมใช้เทคโนโลยีสุดล้ำของทางธนาคารเพื่อรองรับกรณีการใช้งานต่าง ๆ ในแวดวงการเงิน เช่นเดียวกับเทคโนโลยีของบรรดาพันธมิตรในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริการด้านกฎหมาย สื่อ ความบันเทิง บริการสาธารณะและบริการภาครัฐ ตลอดจนธุรกิจค้าปลีก โดย WeBank มีเป้าหมายเพื่อเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ เป็นผู้บุกเบิกในแวดวงเทคโนโลยี และเป็นผู้สร้างระบบนิเวศธุรกิจที่มีความร่วมมือหลายฝ่าย
อย่างไรก็ดี ความก้าวหน้าของ Open Banking ก่อให้เกิดภัยเสี่ยงและปัญหาท้าทายตามมา ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงทางไซเบอร์ การเชื่อมโยงกับบรรดาพันธมิตรที่ทั้งหลากหลายและมีจำนวนมาก ความต่อเนื่องทางธุรกิจ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และวัฒนธรรมองค์กร
การแก้ไขปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยกลไกประเมินความเสี่ยงทางไซเบอร์แบบครบวงจร และนำเทคโนโลยีทันสมัยอย่าง 'Open Consortium Chain' ไปใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเชื่อมโยงกับเหล่าพันธมิตร พัฒนาแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจที่ครอบคลุม วางระบบแบบกระจายด้วยบล็อกเชนพร้อมโซลูชันคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และบ่มเพาะวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อให้เกิดการตัดสินใจที่ว่องไวและแยกจากศูนย์ ทั้งหมดนี้เชื่อว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดีและสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของยุค Open Banking ที่ WeBank
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.webank.com วันที่ : 27 มีนาคม 2562
POCO M7 Pro 5G ชิปเซ็ต Dimensity 7025 Ultra กล้อง Sony LYT-600 ชัด 50MP
ใช้ชีวิตสมาร์ทๆ กับ Xiaomi 14T และ Xiaomi 14T Pro สมาร์ทโฟนที่คุณต้องมี!!
ทำความรู้จัก OPPO A3x ปรับราคาลงอีก มือถือน่าใช้งาน 2025 เริ่มต้นแค่ 3,399 บาท
HONOR Pad V9 แท็บเล็ตจอ 11.5 นิ้ว รีเฟรช 144Hz ชิปเซ็ต Dimensity 8350
Lenovo เตรียมเปิดตัวแล็บท็อป ThinkBook Plus จอม้วน-ยืดได้เอง รุ่นแรกของโลก
ศึกษาการลดหย่อนภาษีด้วยประกัน ลดภาระได้อย่างมีประสิทธิภาพ7 ม.ค. 68 17:00