ดีแทค ร่วมงาน “5G ปลุกไทยที่ 1 อาเซียน” พร้อมเสนอแนะมุมมองผลักดัน 5G ด้วยรูปแบบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชนสู่กลไกความร่วมมือร่วมกันทุกภาคส่วน รัฐบาล-เอกชน สู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสร้างจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน 5G ของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน
นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวในงานเสวนา 5G ปลุกไทยที่ 1 อาเซียนว่า “ดีแทคเสนอ 5G ต้องมีการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในส่วนการพัฒนาจัดสร้างและใช้งานโครงสร้างพื้นฐาน 5G รวมไปถึงการพัฒนาไปสู่ธุรกิจการบริการในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในระยะยาวและช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจและประเทศไทย”
ภาครัฐมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน (Infrastructure Sharing) หรือจัดทำหน่วยงานกลางรับผิดชอบในรูปแบบ Infrastructure Company ซึ่งดีแทคพร้อมที่จะประสานงานและสนับสนุนภาครัฐทุกหน่วยงาน
อุปสรรคอีกข้อทีสำคัญต่อการให้บริการ 5G คือราคาคลื่นความถี่ที่มีราคาสูง แผนการจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Roadmap) รวมถึงแผนการปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ (Spectrum refarming) ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีความชัดเจนว่า แต่ละคลื่นจะสามารถนำมาใช้งานได้เมื่อไหร่ เพราะการเข้าสู่ 5G อุตสาหกรรมต้องใช้คลื่นจำนวนมากทั้งย่านคลื่นความถี่ต่ำ-กลาง-สูง ไม่ใช่แค่ย่านใดย่านหนึ่ง
นอกจากนั้น ความร่วมมือจะเป็นหลักสำคัญในการทำให้เกิด 5G ในประเทศไทย ดีแทคชูความร่วมมือกับทุกภาคส่วนจะเป็นจุดสำคัญในการแจ้งเกิด 5G ในไทย โดยดีแทคได้ร่วมมือทดสอบ 5G ระหว่าง 3 องค์กร คือ ดีแทค ทีโอที และ CAT ในส่วนของ 1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resource sharing) ทั้งอุปกรณ์โครงข่ายและคลื่นความถี่ต่างๆ 2.การนำความรู้มาร่วมกัน (Knowledge sharing) โดยการนำความรู้ความเชี่ยวชาญโทรคมนาคมของแต่ละฝ่ายมาแบ่งปันและต่อยอดการทดสอบร่วมกัน และ 3. การแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน (Experience sharing) ทำให้แต่ละฝ่ายไม่ต้องเริ่มต้นใหม่แต่สามารถนำประสบการณ์ที่ได้มารวมกันเพื่อพัฒนาไปข้างหน้า รวมถึงศึกษาถึงข้อจำกัดและอุปสรรคทั้งในด้านเทคโนโลยีและระเบียบข้อกฎหมายต่างๆ ทั้งนี้ ดีแทคยังเดินหน้าสนับสนุนความร่วมมือต่างๆ กับทางสำนักงาน กสทช. และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดสนามทดสอบ 5G ทั้งพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและพื้นที่ EEC ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา เพื่อทดสอบการใช้งานจริง (Use case) และต่อยอดสู่การนำมาใช้ให้บริการเชิงพาณิชย์ต่อไป
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.dtac.co.th วันที่ : 4 เมษายน 2562
Tecno Pova 7 และ Pova 7 Pro ดีไซน์แสง Delta Light แบตเตอรี่จุใจ 6000mAh
Nothing Phone (3) มาพร้อมลูกเล่นจอ Glyph Matrix ขับเคลื่อนด้วย Snapdragon 8s Gen 4
Redmi K80 Ultra สมาร์ทโฟนขุมพลัง Dimensity 9400+ แบตเตอรี่ใหญ่ 7410mAh ชาร์จเร็ว 100W
Xiaomi MIX Flip 2 ฟลิปโฟนรุ่น 2 กล้อง LEICA เพิ่มเติมด้วยสเปค Snapdragon 8 Elite
Samsung Galaxy M36 5G ใช้ชิปเซ็ต Exynos 1380 กลับมาใช้ดีไซน์โมดูลกล้องแบบนูนขึ้น
Ai+ แบรนด์สมาร์ทโฟนใหม่ จ่อเปิดตัว 8 ก.ค. นี้ ชูจุดเด่นผลิตในอินเดีย ราคาเริ่มต้นไม่ถึง 2,xxx บาท
Redmi K Pad แท็บเล็ตสายกะทัดรัด แต่แรงด้วยชิป Dimensity 9400+ หน้าจอลื่นระดับ 165Hz
Xiaomi Watch S4 41mm สมาร์ทวอทช์ดีไซน์เล็กเหมาะกับผุ้หญิง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วยชิป Xring T1
vivo X200 FE สมาร์ทโฟนกะทัดรัด กล้อง ZEISS ถ่ายสวยซูมชัด ประกาศวันเปิดตัวในไทย
vivo X200 FE สมาร์ทโฟนไซต์ Compact สเปคแรง ได้กล้องสวยๆ แบบฉบับ ZEISS
Redmi K80 Ultra สมาร์ทโฟนขุมพลัง Dimensity 9400+ แบตเตอรี่ใหญ่ 7410mAh ชาร์จเร็ว 100W
พรีวิว Samsung Galaxy Z Flip7 FE สมาร์ทโฟนจอพับ Fan Edition รุ่นแรก24 ชั่วโมงที่แล้ว