บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และพันธมิตร จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “สอนไพทอนอย่างไรให้นักเรียนมัธยมศึกษาทำโครงงานอย่างง่ายได้” สำหรับอาจารย์ไทย เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาทักษะเชิงดิจิทัลที่จำเป็นในอนาคตแก่เยาวชน ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “ASEAN Digital Innovation” ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างมูลนิธิอาเซียนและ ไมโครซอฟท์ เอเชีย แปซิฟิก โดยมีวัตถุประสงค์ในการเตรียมความพร้อมแก่บุคลากรในภูมิภาคอาเซียนจากทุกภูมิหลังด้วยทักษะเชิงดิจิทัลที่สำคัญอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 15-35 ปี
เยาวชนคืออนาคตของประเทศไทย
วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการจ้างงานมากขึ้นในอนาคต ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่ออนาคตให้กับเยาวชนทุกคนจากทุกภูมิหลัง ด้วยทักษะและความรู้เชิงดิจิทัลที่จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย
ข้อมูลจากรายงานวิจัยที่จัดทำขึ้นร่วมกันโดยไมโครซอฟท์ เอเชีย แปซิฟิก และไอดีซี ในหัวข้อ “Future Ready Business: Assessing Asia Pacific’s Growth Potential Through AI” ระบุว่าอาชีพที่มีอยู่ในปัจจุบันจะไม่มีอยู่อีกต่อไปในอนาคต และยังได้พบเห็นความต้องการที่มีต่อบทบาทของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และความต้องการนั้นไม่ได้จำกัดเพียงในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเท่านั้น ผลสำรวจดังกล่าวพบว่าภายใน 3 ปีข้างหน้า ทักษะที่ผู้บริหารธุรกิจในประเทศไทยมองหาจากพนักงานมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ ทักษะเชิงความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะเชิงดิจิทัล
การเตรียมความพร้อมเยาวชนสู่อนาคตยุค AI
โครงการ “ASEAN Digital Innovation” มีวัตถุประสงค์ในการเข้าถึงบุคลากรและเยาวชนจำนวน 46,000 คนใน 7 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม และเตรียมความพร้อมให้กับพวกเขาด้วยทักษะเชิงดิจิทัลที่จะช่วยให้พวกเขาเติบโตในการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุค 4.0 และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว พันธมิตรในระดับท้องถิ่นจากทั้ง 7 ประเทศจึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะและความรู้ให้กับอาจารย์จำนวนกว่า 500 คน ผ่านการใช้ประโยชน์จากหลักสูตรการเรียนรู้ที่ถูกออกแบบขึ้นเป็นพิเศษ
เพื่อสานต่อโครงการดังกล่าวในประเทศไทย ไมโครซอฟท์ได้ร่วมมือกับสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันเชนจ์ ฟิวชั่น จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “สอนไพทอนอย่างไรให้นักเรียนมัธยมศึกษาทำโครงงานอย่างง่ายได้” แก่อาจารย์จำนวนกว่า 50 คน เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการฝึกอบรมทักษะด้านเทคโนโลยีให้กับบุคคลากรทางการศึกษา (train the trainers) จากความมุ่งมั่นในการเตรียมความพร้อมแก่ชาวไทยสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลของไมโครซอฟท์ โดยภายในงาน มีอาสาสมัครเยาวชนจาก Coder Dojo ชมรมนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์รุ่นเยาว์ที่มาร่วมให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำแก่อาจารย์ภายในห้องเรียนด้วย
นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ที่ไมโครซอฟท์ เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าเทคโนโลยีสามารถเป็นกำลังขับเคลื่อนความครอบคลุมทางสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง จากการเตรียมพร้อมเยาวชนด้วยทักษะเชิงดิจิทัล ทำให้เราสามารถเพิ่มโอกาสเชิงเศรษฐกิจให้กับพวกเขาได้สำเร็จ และในขณะเดียวกัน ยังทำให้เราสามารถจัดการกับภาวะขาดแคลนแรงงานที่มีความสามารถซึ่งเป็นปัญหาที่อุตสาหกรรมต่างๆ ที่กำลังปฏิรูปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลต้องประสบ นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ยังมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการระดับภูมิภาค ‘ASEAN Digital Innovation’ ที่จะนำมาซึ่งการเติบโตเชิงเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างมีนัยสำคัญ”
คุณศิรินุช ศรารัชต์ ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “โครงการ ‘ASEAN Digital Innovation’ เกิดจากความมุ่งมั่นของไมโครซอฟท์ในการสนับสนุนการจัดฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนจากทุกภูมิหลัง โดยเฉพาะเยาวชนผู้หญิง ในการประกอบอาชีพในอนาคต เพราะเราเชื่อมั่นว่าการศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เท่าเทียมและมีคุณภาพจะส่งเสริมให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหา ซึ่งล้วนแต่เป็นทักษะที่สำคัญเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จในอาชีพการงานในทุกภาคอุตสาหกรรม”
นางสาวกาญจนา สิทธิรัตนยืนยง อาจารย์ผู้เข้าร่วมการอบรมฯจากโรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม จ.บุรีรัมย์ กล่าวว่า “ก่อนหน้านี้ ดิฉันไม่เคยมีทักษะด้านการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอนมาก่อนเลยแม้แต่น้อย แต่เมื่อภาษาดังกล่าวได้ถูกรวบรวมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอนโดยกระทรวงศึกษาธิการ ดิฉันจึงได้เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะดังกล่าว สำหรับความรู้ที่ได้รับจากการอบรมในครั้งนี้ ดิฉันได้วางแผนไว้ว่าจะนำไปเผยแพร่ให้กับนักเรียนอย่างแน่นอน โดยเริ่มจากการสอนวิธีเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอนในระดับเบื้องต้น และต่อยอดด้วยการเปิดโอกาสให้นักเรียนเขียนโครงงานโดยใช้ภาษาไพทอนเพื่อให้พวกเขาได้ฝึกปฏิบัติแบบลงมือทำจริง”
นายวุฒิชัย กัณหา อาจารย์ผู้เข้าร่วมการอบรมฯจากโรงเรียนบ้านแพ้ววิทยา(ตี่ตง) จ.สมุทรสาคร กล่าวว่า “การศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์ในระบบเดิมเน้นสอนให้เด็กท่องจำทฤษฎีและเรียนรู้แค่สิ่งที่อยู่ในตำรา ซึ่งผมเชื่อว่าถ้าเด็กไม่มีกระบวนการคิดหรือเรียงลำดับขั้นตอนในการทำงาน เด็กจะไม่สามารถนำความรู้ไปต่อยอดในการเรียนหรือประกอบอาชีพในอนาคตได้ ในฐาะนะครูยุค 4.0 ผมจึงพยายามแสวงหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนของผม ซึ่งผมรู้สึกว่าการเรียนภาษาไพทอนซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย นอกจากจะเสริมทักษะด้านดิจิทัลยังจะทำให้เด็กๆ ได้ฝึกกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์และพัฒนาทักษะด้านการแก้ไขปัญหา และถ้าเราสอนให้เด็กเข้าใจถึงกระบวนการในเชิงปฏิบัติได้อย่างถ่องแท้ เด็กๆ จะสามารถนำทักษะนี้ไปปรับใช้กับวิชาอื่น และการทำงานในอนาคตได้”
รศ.ดร.นพ. ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “หนึ่งในบทบาทที่สำคัญของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล คือการให้บริการด้านวิชาการและความรู้สู่สังคม เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการ ‘สอนไพทอนอย่างไรให้นักเรียนมัธยมศึกษาทำโครงงานอย่างง่ายได้’ สามารถสะท้อนบทบาทของทางสถาบันฯเป็นอย่างดี ทั้งนี้ เราต้องขอขอบคุณทางไมโครซอฟท์เป็นอย่างยิ่งที่ทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้สำเร็จ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการอบรมในครั้งนี้จะช่วยทั้งด้านการเสริมสร้างทักษะเชิงดิจิทัลและขยายขอบเขตจินตนาการของคุณครู ซึ่งจะถูกนำไปพัฒนาและต่อยอดเพื่อเป็นประโยชน์แก่เยาวชนไทยต่อไป”
ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2562 ไมโครซอฟท์มีความมุ่งมั่นที่จะฝึกอบรมทางด้านดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ดึงความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ และเสริมทักษะเชิงดิจิทัล ให้กับอาจารย์จำนวน 500 คน และนักเรียนจำนวน 50,000 คน ทั่วประเทศไทย
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.microsoft.com วันที่ : 30 เมษายน 2562
รีวิว POCO X7 Pro มือถือตัวแรง ดันสุดได้ทุกเกม ขุมพลัง Dimensity 8400-Ultra หน้าจอ 120Hz กันน้ำ I...
Smart Home กับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อชีวิตยุคใหม่
Hohem iSteady M7 ไม้กันสั่นสำหรับมือถือ พร้อมกล้อง AI Tracker ติดตามและจดจำเป้าหมายได้แม่นยำ
Samsung เดินหน้าขยายการใช้ AI Home ทั่วทุกมุมบ้าน ส่งจอสุดล้ำบุกเครื่องใช้ไฟฟ้า
LAVA เปิดตัวสมาร์ทโฟน 5G รุ่นใหม่ LAVA Yuva 2 5G ราคาประหยัด พร้อมกล้องหลัก 50 ล้านพิกเซล
รีวิว iQOO 13 5G สมาร์ทโฟนตัวแรง ดีไซน์สวย ที่มาพร้อมลูกเล่นไฟ Monster Halo
vivo เปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ vivo Y29 5G มาพร้อมกับความทนทานระดับ Military Grade!
HMD Arc มือถือระบบ Android 14 (Go edition) ดีไซน์สวย ทนทาน ทรงประสิทธิภาพ
เผยข้อมูล POCO X7 5G ใช้ชิปเซ็ต MediaTek Dimensity 7300 Ultra หน้าจอ 120Hz รองรับชาร์จเร็ว 45W!
HMD Key สมาร์ทโฟนสุดประหยัด หน้าจอ 6.52 นิ้ว แบตเตอรี่ 4000mAh
เปิดปีใหม่กับโปรใหญ่สุดคุ้มกับ Lazada ให้ช้อปแก็ตเจ็ตสุดล้ำจาก HUAWEI10 ชั่วโมงที่แล้ว
HMD Key สมาร์ทโฟนสุดประหยัด หน้าจอ 6.52 นิ้ว แบตเตอรี่ 4000mAh8 ม.ค. 68 15:00