องค์กร (Corporate)  |   วันที่ : 3 มิถุนายน 2562

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

Hitachi จับมือ Hitachi Transport System เปิดตัวบริการการใช้ยานพาหนะขนส่งร่วมกันในประเทศไทย โดยจะเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 นี้เป็นต้นไป บริการดังกล่าวจะอยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ แวนเทค (ประเทศไทย) โดยบริการนี้จะช่วยจัดยานพาหนะได้อย่างเหมาะสมในการจัดส่งสินค้าตามรายการจากผู้ส่ง ตอบโจทย์การช่วยลดต้นทุนและประหยัดเวลาในการจัดส่งสินค้า

บริษัทฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) และบริษัทฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) ได้ร่วมทดสอบและรับรองผลของบริการนี้ ซึ่งมีผลในการเพิ่มประสิทธิภาพ อัตรารอบการใช้งาน ให้ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 15 มาอยู่ที่ร้อยละ 30ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้จาก การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ (Proof of Concept (PoC)) ที่ทำร่วมกับบริษัทยูนิชาร์ม คอร์ปอร์เรชั่น (Unicharm Corporation ในการทดสอบ การนำบริการนี้มาใช้กับการขนส่งโดยตู้คอนเทนเนอร์ในระหว่างเดือนมกราคม 2562 ถึงเดือนมีนาคม 2562 โดยได้เปิดให้บริการกับบริษัทยูนิชาร์ม สยาม-ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ จำกัด และบริษัทฮิตาชิ อินดัสเตรียล เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2562

สำหรับบริษัทจัดส่งสินค้าและดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ บริษัทฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) และบริษัทฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จะเริ่มเปิดให้บริการการจัดส่งโดยตู้คอนเทนเนอร์ในเดือนมิถุนายน 2562 และขยายบริการให้ครอบคลุมการจัดส่งโดยรถบรรทุก โดยมีเป้าหมายจะให้บริการได้ 21,000 คันภายในปีงบประมาณ 2566 และมียอดขายต่อปีที่ 8 พันล้านเยน โดยขยายการส่งมอบบริการไปยังโรงงานและบริษัทกระจายสินค้า บริษัทด้านโลจิสติกส์ และบริษัทจัดส่งสินค้า สำหรับบริการนี้จะตอบโจทย์ด้านนวัตกรรมดิจิทัลในภาคโลจิสติกส์ รวมถึงมีส่วนในการช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมุ่งหน้าสู่การเป็น Value-based Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตามวิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0. โดยเส้นทางไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจอาจก่อให้เกิดความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง ซึ่งอาจนำไปสู่การจราจรแออัด มลพิษทางอากาศ การขาดบุคลากรด้านขับรถ และต้นทุนด้านโลจิสติกส์ที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วประเทศ การบูรณาการด้านโลจิสติกส์และการใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมเป็นความลงตัวที่รัฐบาลไทยมองหาเพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์จากร้อยละ 14 (2559) ให้ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 12 ของจีดีพีภายในปี 2564 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)

ด้วยเหตุนี้ บริษัทฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) และบริษัทฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จึงได้พัฒนาบริการการใช้ยานพาหนะขนส่งร่วมกันสำหรับภาคโลจิสติกส์ของไทย โดยผสมผสานเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของกลุ่มไว้ในบริการนี้ ซึ่งสามารถบูรณาการข้อมูลในด้านต่างๆ อาทิเช่น สถานะการดำเนินงานของยานพาหนะและพื้นที่ว่างที่สามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้ โดยรวบรวมข้อมูลดังกล่าว ณ จุดบริการหลายแห่งไว้บนหน้าสรุปเดียว และสามารถใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหายานพาหนะที่เหมาะสมสำหรับการส่งมอบสินค้าแต่ละรายการ ที่โดยบริการนี้ยังสามารถช่วยค้นหายานพาหนะที่เหมาะสมโดยใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ทั้งนี้ระบบจะจับคู่สถานะต่างๆ อาทิเช่น ประเภทของรถ อุณหภูมิ และความน่าเชื่อถือของคนขับรถที่ได้รับการให้คะแนน ข้อมูลการจราจร และอื่นๆ ตามรายการการจัดส่ง

การเปิดตัวการให้บริการนี้จะช่วยให้ผู้ดำเนินธุรกิจในภาคโลจิสติกส์ได้ประโยชน์จากการใช้ยานพาหนะที่ว่างจากการใช้งานจากจำนวนยานพาหนะทั้งหมดที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้ยานพาหนะขนส่งร่วมกันได้สำหรับสินค้าที่มีปลายทางใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ ยังช่วยลดเวลาการทำงานของคนขับรถและประหยัดค่าน้ำมัน จากการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

นายโคสุเกะ โฮริอุจิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (สิงคโปร์) จำกัก กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ด้วยบริการทางดิจิทัลของเรา เรามุ่งมั่นที่จะผลักดันบริการด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของประเทศไทยผ่านการสรรสร้างร่วมกันของลูกค้าและพันธมิตรของเรา รวมทั้งเทคโนโลยีจากศูนย์ลูมาด้า Lumada Center”

นาย มิทูชิกะ นากาโน กรรมการผู้จัดการ บริษัทฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “กลุ่มบริษัทฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ จะสร้างประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และการขนส่งที่ไว้วางใจได้ทั่วประเทศไทย โดยใช้ประโยชน์จากความรู้ความชำนาญที่เราได้สะสมมาจากทั่วโลกและในประเทศ เราจะเร่งสร้างความร่วมมือกับบริษัทขนส่งในประเทศไทย เพื่อขยายและเสริมความแข็งแกร่งบริการในด้านนี้ให้ยิ่งยวดขึ้นไป”

ดร. สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า“กนอ. ได้รับความร่วมมือจากจากองค์กรขนาดใหญ่ในการเปิดตัวเทคโนโลยีสมัยใหม่ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ เพื่อสร้างเศรษฐกิจเชิงมูลค่า ซึ่งจะสามารถนำความรู้และเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ในนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC อันจะเป็นศูนย์กลางที่สำคัญสำหรับการค้า การลงทุนในภูมิภาค ทั้งนี้ที่ผ่านมา กนอ. ได้รับความร่วมมือจากฮิตาชิด้วยดีเสมอมา ในการส่งเสริมการผลิตอัจฉริยะ สมาร์ทโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งฮิตาชิได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการผลิตอัจฉริยะแล้วในพื้นที่ EEC และได้จัดทำโซลูชั่นสมาร์ทโลจิสติกส์อันทันสมัย โดยจะช่วยในการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมสำหรับนิคมอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนต่อไป”

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่