หมวดอื่นๆ (Other) | วันที่ : 6 มิถุนายน 2562
ทีมเยาวชนจากประเทศไทย นำโดยนางสาวภูริน ติ๊บแก้ว นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร นายณัฐพร พรสวัสดิ์ และนายกัณฐ์ เตโชสกลดี จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คว้ารางวัลผลงานดีเด่น (Outstanding Performance Award) และรางวัลผู้สอนยอดเยี่ยม (Excellent Instructor Award) จากเวทีการแข่งขันด้านไอซีทีระดับโลก ในงาน Huawei ICT Competition 2018-2019 Global Final ณ เมืองเซิ่นเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน
สำหรับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันภาคปฏิบัติ (Practice Competition) ประเภท Network Track เป็นของทีมนักศึกษาจากประเทศมาเลเซียและแอลจีเรีย ประเภท Cloud Track เป็นของทีมจากประเทศเปรูและมหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์เทคโนโลยีกุ้ยหลินของจีน ส่วนการแข่งขันภาคนวัตกรรม เป็นของทีม I'm an Expert! จากมหาวิทยาลัยส้างไห่เจียวทง
สำหรับการแข่งขัน Huawei ICT competition ในปีนี้นั้นจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ภายใต้แนวคิด Connection • Glory • Future ประกอบด้วยการแข่งขันภาคปฏิบัติและภาคนวัตกกรม สำหรับการแข่งขันในภาคปฏิบัติทั้งในประเภท Network Track และ Cloud Track จัดขึ้นสำหรับพันธมิตรสถาบัน Huawei ICT Academies จากทั่วโลกและสถาบันการศึกษาขั้นสูงที่สนใจเข้าร่วม ส่วนการแข่งขันภาคนวัตกรรมจะใช้ระบบการลงทะเบียนโดยเชิญชวนให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเข้าร่วมในโครงการ Innovation Talent Center ภายใต้ระบบ Huawei ICT Academy โดยการแข่งขันนี้ดำเนินมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา และมีนักศึกษาสนใจเข้าร่วมกว่า 100,000 คน จากมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา 1,600 แห่งใน 61 ประเทศ และมีผู้ผ่านเข้าไปแข่งขันในรอบสุดท้าย 49 ทีมจาก 30 ประเทศ
มร. หม่า เยว่ รองประธานบริหาร ประธานบริหารฝ่ายขายทั่วโลก กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ และประธานของกลุ่มคู่ค้าและพันธมิตรของหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้กล่าวในสุนทรพจน์ระหว่างพิธีมอบรางวัลและปิดการแข่งขันว่า “การสร้างระบบนิเวศที่มีคนเก่งๆ เป็นรากฐานสำหรับกลยุทธ์ของหัวเว่ย ในระบบนี้ คนเก่งที่มีความสามารถถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรม ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา เราได้ทุ่มเทความพยายามมากมายเพื่อฝึกอบรมคนเก่งด้านไอซีทีด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้และแนวปฏิบัติสู่ความสำเร็จ เราได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษา องค์กรสมาคมต่างๆ และพันธมิตรในอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันบ่มเพาะผู้ที่มีศักยภาพด้านไอซีที โดยดึงเอาประสบการณ์ที่เรามีในด้านไอซีทีมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการลงทุนสร้างคนเก่งขึ้นมาเพื่อเตรียมพร้อมกับความท้าทายและความไม่แน่นอนในอนาคต ปัจจุบัน เราเองก็มุ่งหวังที่จะวางมาตรฐานการพัฒนาและรับรองคุณสมบัติในระดับโลกให้กับผู้มีความสามารถด้านไอซีที”
ในการแข่งขัน Huawei ICT Competition หัวเว่ยได้จัดแพลตฟอร์มให้นักศึกษาได้เข้ามาแข่งขันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะปฏิบัติและการประยุกต์ใช้งานไอซีที รวมถึงตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรม ตลอดจนเปิดโอกาสให้เกิดการเชื่อมโยงกันระหว่างคนเก่งๆ จากประเทศต่างๆ ส่งเสริมความความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษาขั้นสูง หน่วยงานด้านการฝึกอบรมและองค์กรภาคธุรกิจต่างๆ เพื่อผลักดันการศึกษา การเติบโตและการจ้างงานในหมู่คนเก่งด้านไอซีที
มร. ตู๋ เค่อเว่ย อธิบดี ศูนย์แลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการของจีน กล่าวว่า “การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเป็นหลักการพื้นฐานที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างคนจีนและชาวต่างชาติ และการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่าง การแข่งขัน Huawei ICT Competition เป็นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างจีนและประเทศอื่นๆ ทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวัฒนธรรม สร้างบุคลากรที่มีความสามารถด้านไอซีทีให้มากขึ้น และช่วยให้การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลกก้าวหน้ายิ่งขึ้น”
การแข่งขันในปีนี้มีผู้เข้าร่วมมากกว่าปีที่ผ่านๆ มาและมีจำนวนประเทศที่เข้าร่วมมากขึ้น มีความครอบคลุมและเน้นนวัตกรรมมากขึ้น ทั้งนี้ หัวเว่ยได้มอบคอร์สอบรมฟรีและสื่อการเรียนรู้ ตลอดจนโอกาสในการแลกเปลี่ยนไอเดีย การเรียนรู้และการเตรียมตัวผ่านระบบไลน์ให้กับผู้เข้าร่วมทุกคนอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการแข่งขันนี้ หัวเว่ยหวังว่าวิธีนี้จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันในด้านการศึกษา และเพื่อให้ผู้คนได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัลกันมากขึ้น
ในการจัดแข่งขัน Huawei ICT Competition อย่างต่อเนื่องทุกปี หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะดึงนักวิชาการ องค์กรภาครัฐ สถาบันในอุตสาหกรรม พันธมิตรด้านการฝึกอบรมและองค์กรธุรกิจให้เข้ามาร่วมในโครงการนี้ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยยกระดับทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษา ส่งเสริมความร่วมมือในภาคการศึกษาและอุตสาหกรรมให้กว้างออกไป เพื่อไปสู่ความสำเร็จในระดับที่สูงขึ้นไป หัวเว่ยยังคงพัฒนามาตรฐาน เสริมสร้างความร่วมมือ และบ่มเพาะคุณค่าให้กับผู้ที่มีศักยภาพ เพื่อวางรากฐานให้กับระบบนิเวศคนเก่งด้านไอซีทีที่แข็งแกร่งและสมบูรณ์ ภายในปี 2566 หัวเว่ยตั้งเป้าที่จะผลิตบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีทีให้ได้ 700,000 คน เพื่อลดทอนช่องว่างของคนเก่งด้านไอซีที เร่งกระบวนการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในอุตสาหกกรมต่างๆ และนำดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กรเพื่อโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : www.huaweiacad.com วันที่ : 6 มิถุนายน 2562
เตรียมเปิดตัว HUAWEI MatePad 12 X แท็บเล็ตฟังก์ชันเรือธง ผสานการทำงานกับอุปกรณ์เสริมอย่างไร้รอยต่อ
เปิดตัว HUAWEI FreeBuds Pro 4! หูฟังไร้สายรุ่นแรกที่ใช้ HarmonyOS NEXT
HUAWEI MatePad Pro 13.2 (2025) แท็บเล็ตระดับพรีเมียมรุ่นใหม่ ตอบโจทย์ทั้งการวาดภาพและการทำงาน
Huawei เผยโฉม IdeaHub รุ่นเรือธงพร้อมอัดโปรเด็ดหนุนผู้นำจออัจฉริยะเพื่อออฟฟิศยุคใหม่
รีวิว HUAWEI Watch D2 สมาร์ทวอทช์ที่ยกระดับการตรวจวัดความดันโลหิตด้วย ABPM ตัวแรกของโลก
Redmi Watch 5 สมาร์ทวอทช์รุ่นแรกรันบน HyperOS 2 หน้าจอสี่เหลี่ยม AMOLED กว้าง 2.07 นิ้ว
iQOO 13 5G เจ้าของความแรง Snapdragon Elite 8 + RAM สูงสุด 16GB เคาะราคาในไทย 27,900 เท่านั้น
เตรียมเปิดตัว HUAWEI MatePad 12 X แท็บเล็ตฟังก์ชันเรือธง ผสานการทำงานกับอุปกรณ์เสริมอย่างไร้รอยต่อ
HMD Fusion สมาร์ทโฟนที่สามารถปรับแต่งและซ่อมเองได้ด้วยมือคุณ!
รีวิว HONOR 200 Smart 5G คุ้มค่าเกินราคา สุดยอดสมาร์ทโฟนสำหรับคนชอบลุย13 ชั่วโมงที่แล้ว