องค์กร (Corporate)  |   วันที่ : 23 มิถุนายน 2562

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

เผยผลงานสำรวจโครงการ HP New Asian Learning Experience ซึ่งเป็นการศึกษาทัศนคติและบุคลิกลักษณะของพ่อแม่ยุคใหม่ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กในปกครองอย่างไร โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยรอบด้านของผู้ปกครองกลุ่มมิลเลนเนียล จำนวน 3,177 คน จาก 7 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ อินเดีย จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย พบว่า mindsets หรือความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองให้นิยามของการเรียนรู้แตกต่างกัน อยู่ที่ประสบการณ์การเรียนรู้ที่พวกเขาให้คุณค่า การมีส่วนร่วมในการช่วยเด็กเรียนรู้ รวมถึงความคาดหวังและความเป็นห่วงอนาคตของลูกหลาน

“ในฐานะของความเป็นพ่อแม่ เราเข้าใจอย่างดีถึงความสำคัญของการให้การศึกษากับลูกหลานอย่างรอบด้าน เอชพี ได้ดำเนินการทุกด้านให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ปกครองชาวไทย โดยเฉพาะบทบาทของสื่อดิจิทัลและสิ่งพิมพ์ที่จะช่วยให้เกิดผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เอชพี สนับสนุนผู้ปกครองในการพัฒนาลูกหลานให้เป็นผู้นำในอนาคตด้วยการเป็นช่องทางของแหล่งข้อมูลความรู้ เทคโนโลยี และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ถูกต้อง เพื่อให้แน่ใจว่าลูกหลาน ได้รับการพัฒนาทักษะที่ต้องการและเตรียมความพร้อมสำหรับสภาพแวดล้อมของการทำงานในอนาคต” ปวิณ วรพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ เอชพี อิงค์ ประเทศไทย กล่าว

ผลสำรวจโดยรวมชี้ให้เห็นว่า อนาคตที่มั่นคงของเด็ก คือความกังวลสูงสุดของผู้ปกครองทุกคน ร้อยละ 66 กังวลเรื่องค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 42 กังวลเรื่องความมั่นคงในการทำงาน ร้อยละ 54 กังวลเรื่องทักษะที่ถูกต้องต่อบทบาทชีวิตในอนาคต สำหรับผู้ปกครองยุคใหม่ของประเทศไทย ร้อยละ 65 เรื่องค่าครองชีพเป็นสิ่งที่กังวลมากที่สุด และรองลงมาร้อยละ 54 คือห่วงเรื่องการสร้างทักษะที่ถูกต้องต่อบทบาทของเด็กในอนาคต

การสร้างระเบียบวินัยเป็นลักษณะนิสัยสำคัญที่สุดสำหรับผู้ปกครองยุคใหม่ในกลุ่มเอเชีย ในขณะที่ร้อยละ 57 ของผู้ปกครองไทยมองว่าด้านการสร้างสติปัญญาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด นอกจากนี้ ร้อยละ 61 ของครอบครัวไทยยังเน้นเรื่องการพัฒนาทักษะและความสามารถในการปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเตรียมความพร้อมให้อนาคตของลูกหลาน

ผู้ปกครองชาวเอเชียยุคใหม่ต้องการให้ลูกหลานของพวกเขาพัฒนาทักษะทางสังคมอย่างเข้มแข็งควบคู่กับการมีความสุข โดยร้อยละ 83 ผู้ปกครองต้องการให้ลูกหลานมีความสุขเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในขณะที่ผู้ปกครองไทย ร้อยละ 68 ต้องการให้ลูกสามารถทำได้ดีที่สุดในสิ่งที่พวกเขาทำ และร้อยละ 66 ของผู้ปกครองไทย ระบุความมั่นคงของงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด มากกว่าประเทศอื่นๆ

ครอบครัวในเอเชียต้องการใช้เทคโนโลยีสำหรับการศึกษา

HP New Asian Learning Experience Study ยังระบุว่า ผู้ปกครองเชื่อว่าสื่อการเรียนการสอนที่เป็นสิ่งพิมพ์ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กในเชิงบวกมากกว่าการเรียนรู้กับสื่อดิจิทัลเพียงอย่างเดียว การเรียนรู้บนสิ่งพิมพ์กับบนดิจิทัลให้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน และเชื่อว่า สิ่งพิมพ์ให้ผลที่ดีกว่าสำหรับการอ่านเพื่อความเข้าใจ การใช้เวลาในการอ่าน การเรียนคำศัพท์และการจดจำ ในขณะที่แพลตฟอร์มดิจิทัลช่วยเรื่องการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการสร้างวิจารณญาณ

จากผลสรุปโดยรวมจากทุกประเทศ พบว่า การเรียนรู้จากสิ่งพิมพ์ น่าจะดีกว่าสำหรับการพัฒนาทักษะความเข้าใจของเด็กๆ และร้อยละ 50 ของผู้ปกครองยอมรับว่า สิ่งพิมพ์เหมาะที่สุดสำหรับการเรียนคณิตศาสตร์ ในขณะที่ร้อยละ 53 ระบุว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์เหมาะสมที่สุดสำหรับฝึกทักษะการเรียนรู้ทางดนตรีและการฟัง

อย่างไรก็ตาม พวกเขารับรู้ว่าการเรียนแบบผสมผสานของทั้งจากสิ่งพิมพ์และดิจิทัลให้ประโยชน์มากที่สุด ผู้ปกครองไทยร้อยละ 57 ใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับด้านศิลปะ รองลงมาคือการเรียนรู้ด้านภาษาร้อยละ 56 และทักษะดนตรีร้อยละ 41 ในการสำรวจยังพบว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้ปกครองสูงสุดถึงร้อยละ 90 ที่ระบุว่า เหตุผลที่ผู้ปกครองเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของเด็ก คือต้องการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆ

“เป็นที่ชัดเจนจากการสำรวจ ชี้ให้เห็นว่า การใช้สิ่งพิมพ์ ยังคงเป็นวิธี tried-and-tested approach ที่ดีสำหรับช่วยเด็กๆ ดังนั้น วิธีการเรียนรู้บนสิ่งพิมพ์ยังคงความเป็นที่นิยม เพราะผู้ปกครองคิดว่าเป็นวิธีที่จะช่วยให้เด็กๆ มีสมาธิ จดจ่ออยู่กับการเรียนรู้ได้ดีขึ้น และยังพัฒนาทักษะการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองยังเชื่อว่าเด็กๆ มีแนวโน้มมากขึ้นที่จะชอบสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์” ปวิณ กล่าว

การศึกษาในวันนี้กับผลกระทบต่อการทำงานในอนาคต

ผู้ปกครองยุคใหม่วันนี้ทราบดีว่า การศึกษาจะต้องมีวิวัฒนาการปรับเปลี่ยนไปตามเวลา HP New Asian Learning Experience สะท้อนการให้คำนิยามของการเรียนรู้ของครอบครัวไทยว่า จะต้องคำนึงถึงความต้องการของสภาพแวดล้อมการทำงานที่จะเกิดในอนาคตเป็นสำคัญ โดยรวมร้อยละ 88 ของผู้ปกครองไทย ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากประสบการณ์ มากกว่าการเรียนรู้แบบท่องจำที่ร้อยละ 73 และเชื่อว่าการเรียนรู้ทั้งสองประเภทจะมีอิทธิพลต่อความสามารถของเด็กในการเลือกทักษะที่จำเป็นเมื่อพวกเขาเข้าสู่วัยทำงาน

ในบรรดาผู้ปกครองทั้งหมด การเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการเผชิญกับโลกแห่งความจริง ที่เสริมการพัฒนาความสามารถเชิงสร้างสรรค์และวิจารณญาณ ในขณะที่การเรียนรู้แบบท่องจำนั้นเหมาะสำหรับความรู้ที่อาศัยความชัดเจนของความเป็นจริงอันเป็นฐานในการต่อยอดการพัฒนาทักษะอื่นๆ ที่สูงขึ้น

ปัจจุบันนี้ โลกอยู่ในช่วง Experience Age – ยุคที่ขับเคลื่อนด้วยประสบการณ์สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความคิดสร้างสรรค์ จุดประกายความร่วมมือ และเชื่อมโยงผู้คน ความคาดหวังเหล่านี้และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วจะเปลี่ยนวิธีรูปแบบการทำงานของสังคม ซึ่งจะถูกขับเคลื่อนอย่างคล่องตัวด้วยเทคโนโลยีที่น่าทึ่งด้วยการทำงานที่ไร้พรมแดนและการทำงานร่วมกับอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลาย

HP กำลังปฏิรูปการเรียนรู้ผ่านการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีทั้งด้านการพิมพ์และสมรรถภาพของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องพิมพ์ HP DeskJet Ink Advantage และแล็ปท็อป HP Pavilion x360 ที่ช่วยในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ และพัฒนาทักษะในหลากหลายข้ามวัฒนธรรมทั่วโลก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.hp.com

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่