เทคโนโลยี (Technology) | วันที่ : 8 สิงหาคม 2562
ทุกวันนี้ สังเกตได้ว่าจำนวนคนซื้อรถยนต์ส่วนตัวกันน้อยลง ในขณะที่บริการเรียกและแชร์รถกำลังได้รับความนิยมสูงขึ้น มีผู้เล่นใหญ่เข้ามามีบทบาทในภาคขนส่งมวลชนมากขึ้น อย่างไรก็ดี การพัฒนาเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นเพียงสิ่งเล็กๆ เมื่อเทียบกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้ Mobility as a Service หรือ MaaS ได้รับความสนใจและการผลักดันให้เกิดขึ้นจริงได้ในเร็ววัน
ในเชิงอุดมคติ MaaS คือการที่เราสามารถออกเดินทางจากบ้านแล้วมีรถมารับได้ในทันที ซึ่งจะนำเราตรงไปยังจุดหมายปลายทางโดยไม่มีการออกนอกเส้นทางหรือความล่าช้าใด ๆ คอนเซ็ปต์ของมันก็คือการรวมความสะดวกสบายของการนั่งแท็กซี่ เข้ากับประโยชน์ใช้งานที่ครอบคลุมแบบรถประจำทาง แม้ว่าฟังแล้วอาจเป็นไปไม่ได้จริง แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ทำให้มีคนกลุ่มหนึ่งกำลังพยายามพัฒนา MaaS ให้เกิดขึ้นและใช้งานได้จริง
นายฮิโรโซ โยชิโตมิ ประธานบริษัท JUNPUZI ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโตเกียว คือหนึ่งในผู้ที่กำลังพัฒนาไอเดียนี้ โดยบริษัทของเขาเป็นผู้ให้บริการ Convenicle (มีที่มาจากการผสมคำว่า convenient-ความสะดวกสบาย เข้ากับคำว่า vehicle-ยานพาหนะ) ให้บริการระบบการขนส่งตามความต้องการแบบไม่ต้องเสียเวลารอให้กับผู้ให้บริการเอกชนและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศญี่ปุ่น
ที่ผ่านมาบริษัทประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก “ณ ขณะนี้ Convenicle ได้ดำเนินการเข้าสู่ปีที่ 9 แล้ว” นายโยชิโตมิ กล่าว “ณ ปัจจุบัน เราให้บริการผู้โดยสารกว่า 70,000 คนต่อเดือน ใน 42 พื้นที่ รวมถึงเมืองคาชิวะในจังหวัดชิบะ ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองดาวเทียมของโตเกียว”
และตอนนี้ทางบริษัทก็ต้องการจะขยับขยายไปสู่ขั้นต่อไป โดยการใช้เครื่องมือ AI และการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสร้างโมเดล MaaS ที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น สามารถให้บริการสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ซึ่งต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2561 ทางบริษัทก็ได้จับมือกับโตชิบาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีขนส่งมวลชนแห่งอนาคต
โตชิบาเป็นที่รู้จักในฐานะบริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงและประสบการณ์ยาวนานกว่า 140 ปี ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์มาหลากหลายชนิด ตั้งแต่อุปกรณ์ขนาดใหญ่อย่างกังหันลม ไปจนถึงชิ้นส่วนขนาดเล็กอย่างเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งนอกจากประสบการณ์ด้านการผลิตแล้ว โตชิบายังได้สั่งสมองค์ความรู้และทักษะในด้านอื่นควบคู่กันไปด้วย เช่น งานวิจัยด้าน AI ที่บริษัทดำเนินการมาถึง 50 ปี รวมไปถึงสาขาวิชาที่ยากและท้าทายอย่าง precision imaging และภาษาธรรมชาติ ในวันนี้ ทางบริษัทได้ก้าวไปอีกขั้นสู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี cyber-physical systems ซึ่งหลอมรวมโลกกายภาพของภาคการผลิตเข้ากับองค์ความรู้แห่งโลกไซเบอร์ดิจิทัล
และสาขาหนึ่งที่โตชิบามีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก ก็คือ การปฏิรูปเชิงดิจิทัล โดยมี SATLYS เทคโนโลยี AI สำหรับการวิเคราะห์ ดำเนินบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลและการเรียนรู้เชิงลึก ซึ่งได้มีการพัฒนา ทดลอง และปรับปรุงโดยการกรองข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เก็บรวบรวมจากฝ่ายปฏิบัติการผลิตของโตชิบา SATLYS จึงสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วในการระบุ ประเมิน และทำการคาดการณ์ แต่คำถามสำคัญสำหรับโตชิบาก็คือ AI ตัวนี้จะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของ Convenicle ได้หรือไม่?
แล้วปัญหาการทำงานที่มีอยู่นั้นหนักหนาเพียงใด?
“ชื่อเต็มของมันคือ Convenicle บริการรับส่งตามความต้องการ” นายโยชิโตมิ เผย “และเป้าหมายของเราคือ การสร้างระบบขนส่งมวลชนที่ให้บริการเฉพาะเมื่อมีการสำรองที่นั่งเท่านั้น” นั่นนำมาซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของ Convenicle ซึ่งนายเซอิจิ คามิยะ ผู้จัดการฝ่ายวางแผนและพัฒนาโครงการของ JUNPUZI ชี้แจงว่า “โดยปกติรถประจำทางจะมีเส้นทางที่กำหนดตายตัว ดังนั้นผู้ใช้บริการจึงจำเป็นต้องเสียเวลาเดินทางออกนอกเส้นทางโดยไม่จำเป็น แต่ Convenicle ใช้วิธีรวบรวมจุดรับส่งที่มีการจองไว้ล่วงหน้าเพื่อนำมาสร้างเส้นทางที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด จึงง่ายต่อการใช้งานสำหรับผู้บริโภค”
ด้วยวิธีนี้ การสำรองที่นั่งในแต่ละครั้งก็คือข้อมูลจุดหนึ่งในระบบ จึงจำเป็นต้องสร้างเส้นทางและกำหนดเวลาในการรับผู้โดยสารที่สะท้อนตามความต้องการนั้น อีกจุดที่ต้องคำนึงถึงคือผู้โดยสารจะขึ้นและลง Convenicle ตรงจุดไหน แม้จะฟังดูเหมือนไม่ยากเย็นอะไร เพราะในญี่ปุ่นมีแหล่งทิ้งขยะมากมายที่มีการทำเครื่องหมายไว้อย่างชัดเจน และอยู่ใกล้กับย่านที่พักอาศัย จึงสามารถใช้เป็นจุดรับส่งได้สะดวก แต่เนื่องจากจำนวนที่มีมากก็ทำให้กลายเป็นอีกปัจจัยการคำนวณ โดยเฉพาะเมื่อต้องรับส่งผู้โดยสารที่มีจุดหมายปลายทางใกล้เคียงกัน เพื่อจะได้ใช้ขีดความสามารถการทำงานของระบบได้อย่างเต็มที่
ยิ่งไปกว่านั้น การวิเคราะห์เชิงลึกจำเป็นต้องใช้ข้อมูลและ JUNPUZI ก็มีข้อมูลเชิงปฏิบัติการที่เก็บรวบรวมมาเป็นเวลามากถึง 9 ปี นายโยชิโตมิ กล่าวว่า “ในตอนแรกมันยังไม่ชัดเจนว่าเราจะนำข้อมูลเชิงปฏิบัติการมาใช้อย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่ผมมั่นใจมากคือมันจะต้องมีประโยชน์แน่นอน เราจึงตั้งใจเก็บบันทึกข้อมูลไว้” และข้อมูลที่บันทึกไว้นี้ก็ได้ถูกนำมาใช้งานผ่าน SATLYS ในที่สุด
นายฮิโรกิ อุเอดะ นักวิจัยที่ศูนย์เทคโนโลยีซอฟท์แวร์และ AI ของ Toshiba Digital Solutions Corporation บรรยายถึงความท้าทายที่สมาชิกทีมโตชิบาต้องเผชิญ “สมมติว่าคุณมีพื้นที่แห่งหนึ่งที่มีจุดรับส่ง 2,000 จุด คุณก็ต้องประมวลผลการคาดการณ์ทั้ง 2,000 จุด แล้วคูณด้วยจุดหมายปลายทางอีก 2,000 แห่ง จะมีเส้นทางที่เป็นไปได้ถึง 4 ล้านเส้นทาง ซึ่งก็ซับซ้อนมากพอแล้ว แต่นอกจากนั้นก็ยังมีข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้อีก 9 ปีที่ต้องนำมาวิเคราะห์ ต้องบอกเลยว่ามันทำให้ผมปวดหัวมากกับการพยายามคิดหาทางออกที่ดีที่สุดที่ซ่อนอยู่ในข้อมูลปริมาณมหาศาลทั้งหมดนี้”
นายอุเอดะ กล่าวว่า ในตอนแรกโตชิบาพยายามใช้วิธีการง่ายๆ “ขั้นแรก เราให้ JUNPUZI ดูเส้นทางที่มีอุปสงค์การใช้งานสูงสุด 100 เส้นทาง แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือพวกเขาบอกว่า มันยังไม่สามารถมองเห็นแนวโน้มการใช้งานของพื้นที่ปฏิบัติการทั้งหมดได้” ซึ่งนั่นจะเป็นเป้าหมายในขั้นต่อไป
นายยูจิ อิริโมโตะ เล่าถึงวิธีการทำงาน “SATLYS วิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานของ Convenicle จาก JUNPUZI ร่วมกับข้อมูลสภาวะอากาศจากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น และรายละเอียดลักษณะอากาศในแต่ละวัน ซึ่งรวมถึงตัวแปรต่าง ๆ อย่างเช่น “ในวันที่ฝนตก ต้องใช้รถจำนวนมากขึ้น 20%” หรือ “เส้นทางนี้ต้องใช้เวลามากขึ้นสองเท่าในวันอาทิตย์”
ท้ายที่สุด SATLYS จึงได้พยากรณ์ความต้องการสำหรับแต่ละจุดรับส่ง เวลาในการรับส่ง และจำนวนผู้โดยสาร เป็นเวลาล่วงหน้าหลายสัปดาห์ และสร้างการคาดการณ์ที่แม่นยำด้วยการวิเคราะห์อย่างครอบคลุมและทำแผนที่ตามความต้องการ “เราได้วิเคราะห์ความต้องการในทุกพื้นที่ปฏิบัติการและวางแผนภาพข้อมูลด้วยสี ที่บ่งบอกถึงระดับความต้องการ” นายอุเอดะ กล่าว “จากนั้นเราถึงจะสามารถสร้างการคาดการณ์ความต้องการใช้รถ” ผลก็คือ โตชิบาและ JUNPUZI ได้ก้าวมาถึงจุดที่สามารถนำ SATLYS มาศึกษาองค์ความรู้ที่ได้รับจาก Convenicle ในการหาจุดสมดุลระหว่างการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมและความต้องการส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ
นายคามิยะ พอใจกับผลที่ได้จากความร่วมมือที่ผ่านมา และมองเห็นถึงศักยภาพความเป็นไปได้ที่จะผลักดันโครงการให้ไปไกลยิ่งขึ้น “การใช้ SATLYS มาวิเคราะห์และปรับปรุงการคาดการณ์อุปสงค์ส่งผลให้เราสามารถจัดการ Convenicle ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แน่นอนว่า ยังมีสิ่งอื่นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมอีก โดยเฉพาะความคิดเห็นของผู้ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ผู้โดยสารบางคนบอกว่าพวกเขาเลือกกำหนดเวลาขึ้นรถเพื่อจะได้ร่วมเดินทางกับเพื่อน แต่เนื่องจากเส้นทางเปลี่ยนแปลงไปจึงไม่สามารถทำเช่นนั้นได้อีก ซึ่งเราก็ต้องนำปัจจัยเหล่านั้นมาพิจารณาด้วย”
นายโยชิโตมิ ประธานบริษัท JUNPUZI เองก็เห็นด้วยและเริ่มคิดวางแผนถึงขั้นต่อไป “เรายังไม่ไปถึงจุดที่สามารถพูดได้ว่า ผู้โดยสารทุกคนได้รับประสิทธิภาพการทำงานและความสะดวกสบายจากการใช้บริการอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งต่อไปภายภาคหน้า อะไรที่ ‘ดี’ ก็เป็นเรื่องยากที่ต้องคิดพิจารณา”
ทีมโตชิบาเองก็พอใจกับความก้าวหน้าที่เกิดขึ้น “การพัฒนาโครงการนี้โดยใช้ข้อมูลปฏิบัติการที่เราได้จาก JUNPUZI แสดงให้เราเห็นว่า โตชิบามีเครื่องมือที่ต้องการในการนำมาวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว” นายอิริโมโตะ กล่าว “ตอนนี้เราจะปรับปรุงโครงการต้นแบบกันต่อไป โดยเราจะเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศในแต่ละวัน รวมไปถึงข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมในท้องถิ่น และลักษณะเฉพาะในแต่ละพื้นที่เข้าไปด้วย”
นายอุเอดะ มองไกลไปยิ่งกว่านั้นอีก “เมื่อพูดคำว่า ‘ไร้อุปสรรค’ ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่คงนึกถึงสิ่งกีดขวางทางกายภาพสำหรับผู้ทุพพลภาพทางกาย แต่สำหรับบางคน แค่การเคลื่อนที่เพียงแค่ 300 เมตรก็ถือเป็นอุปสรรคได้ Convenicle ซึ่งขับเคลื่อนโดย SATLYS ต้องการที่จะกำจัดอุปสรรคในการเคลื่อนที่สำหรับทุกคน โครงการนี้ถือเป็นแนวทางแห่งอนาคตสำหรับการคมนาคม และเป็นการนำเสนอตัวเลือกที่หลากหลายยิ่งขึ้นให้กับผู้คนในภายภาคหน้า”
ขณะที่การขนส่งมวลชนพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง MaaS มีศักยภาพมากพอที่จะผลักดันให้เกิดการยกระดับความสะดวกรวดเร็วของการบริการขนส่งผู้โดยสาร และความสำเร็จจากความร่วมมือกับ JUNPUZI ก็ส่งผลให้โตชิบาก้าวขึ้นมาเป็นทัพหน้าในการสร้างอนาคตใหม่สำหรับบริการขนส่งมวลชนตามความต้องการ “ทั่วโลกล้วนกำลังให้ความสนใจกับการผลิตโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเดินทางในยุคต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน” นายอิริโมโตะ กล่าว “ขณะนี้มีไอเดียใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่ยังมีองค์กรจำนวนไม่มากนักที่มีผลงานประจักษ์อย่าง JUNPUZI ผมจึงอยากร่วมงานกับ JUNPUZI ต่อไป เพื่อรับมือกับความท้าทายและผลักดันให้เกิดการเดินทางแห่งอนาคตอย่างแท้จริง”
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
วันที่ : 8 สิงหาคม 2562
HMD Fusion สมาร์ทโฟนที่สามารถปรับแต่งและซ่อมเองได้ด้วยมือคุณ!
รีวิว vivo Watch 3 ฟีเจอร์ครบครัน สวยทันสมัย เอาใจคนรักสุขภาพ
ASUS เอาใจลูกค้า Vivobook S อัปเกรดประกันซ่อมถึงที่ (On-Site Service) ให้ 3 ปีเต็ม
Tesla Cybercab รถแท็กซี่ไร้คนขับ ดีไซน์ล้ำ ราคาเปิดตัวต่ำ 1 ล้านบาท คาดขายปี 2026
นักวิจัยพัฒนากระจกสามารถชาร์จพลังงานไฟฟ้า คล้ายแผงโซลาร์เซลล์ได้
Blackview Active 10 Pro มาแล้ว! แท็บเล็ต 5G แบตฯ อึด กล้องเทพ ลดแรงแค่ 7 วันเท่านั้น!
Redmi ฉลอง 11 ปี ปล่อยโลโก้ใหม่! พร้อมเปิดตัว Redmi K80 เรือธงสเปคจัดเต็ม
ทำความรู้จัก HONOR 200 Smart 5G หน้าจอ 120Hz ทนน้ำทนฝุ่น IP64 กล้องหลัง 50MP AI Motion Sensing
iQOO 13 5G ขุมพลัง Snapdragon 8 Elite แบต 6150mAh รองรับ 120W FlashCharge พร้อม Bypass Charging
Samsung Galaxy S25 Series สรุปข่าวลือล่าสุดก่อนเปิดตัวต้นปี 2025
OPPO Enco Air4 และ OPPO Pad 3 Pro คู่หูอุปกรณ์ IoT สุดล้ำที่พร้อมตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์
รีวิว HONOR 200 Smart 5G คุ้มค่าเกินราคา สุดยอดสมาร์ทโฟนสำหรับคนชอบลุย11 ชั่วโมงที่แล้ว