ซอฟต์แวร์ (Software)  |   วันที่ : 20 สิงหาคม 2562

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าบริษัท Huawei ณ ตอนนี้ได้ไกลกว่าเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยเต็มไปด้วยสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงมีหลากหลายผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ จนกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทว่าเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ทางบริษัทมีพายุเข้าเรื่องปัญหาทางการค้า อันเกิดจากข้อพิพาทในประเทศสหรัฐอเมริกา จนทำให้ทางแบรนด์ไม่สามารถดำเนินการค้าได้ ผลกระทบสำคัญแพลตฟอร์ม Android จนนำไปสู่การตั้งคำถามว่าลูกค้าจะเป็นอย่างไร แต่หัวเว่ยก็มีทางแก้เสมอ

จากปัญหาดังกล่าว หลังจากนายดอนัลด์ ทรัมป์ ประกาศสั่งห้ามไม่นานก็มีข่าวลือหนาหูเกี่ยวกับแพลตฟอร์มใหม่ของ Huawei เอง ท้ายที่สุดทางแบรนด์พัฒนาสำเร็จโดยใช้ชื่อว่า HarmonyOS หลายคนอาจสงสัยว่าทำหัวเว่ยพัฒนาได้ไวมาก ความเป็นจริงแล้วแพลตฟอร์มดังกล่าวถูกพัฒนามาแล้วเป็นระยะเวลากว่าสองปี นั่นหมายความว่าหัวเว่ยได้มองการณ์ไกล เพราะก็สามารถต่อยอดได้ ทำไมเราถึงปล่อยให้มีแค่สองแพลตฟอร์มคือ iOS/Android ทั้งยังมีศักยภาพในระดับสูง รวมถึงกลุ่มผู้ใช้ที่แน่นหนา

อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่แข่งขันกันเกี่ยวกับแพลตฟอร์มปฏิบัติการ ในอดีตมีทั้ง Symbian, Windows Phone, Tizen, Blackberry แต่ท้ายที่สุดก็ไปไม่รอด ทว่าแตกต่างจาก HarmonyOS นั้นมีความน่ากลัว และอาจสอดแทรกเป็นแพลตฟอร์มทางเลือกที่ 3 มาดูวิเคราะห์กันว่าทำไม

ก่อนจะไปวิเคราะห์เรามาทำความรู้จักแพลตฟอร์ม HarmonyOS

HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติการที่เรียบง่ายแต่เปี่ยมประสิทธิภาพโดยทางแบรนด์จะเริ่มนำไปใช้กับอุปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ เช่น สมาร์ทโฟน, สมาร์ทวอช, สมาร์ททีวี ระบบอินโฟเทนเมนท์ในรถยนต์ และลำโพงอัจฉริยะ ซึ่งทางแบรนด์มุ่งหวังว่าจะช่วยให้ผู้บริโภคที่ใช้งานผลิตภัณฑ์หัวเว่ย ได้รับประสบการณ์การใช้งานได้ต่อเนื่อง ปลอดภัย รองรับทุกอุปกรณ์ นอกจากนี้ความพิเศษคือหากมีแอปพลิเคชั่นใดก็ตาม แค่พัฒนาเพียงครั้งเดียวก็สามารถใช้งานได้กับทุกดีไวซ์

ประเด็นน่าสนใจ ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS กลายเป็นว่าไม่ใช่สมาร์ทโฟน แต่คือโทรทัศน์ของแบรนด์ Honor และเป็นครั้งแรกเช่นกัน ไฮไลท์คือระบบปฏิบัติการดังกล่าวกับโหมด Magic-link ให้คุณใช้สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต พิมพ์ค้นหาช่อง หรือโปรแกรมคอนเทนต์ที่ตั้งค่าไว้เลย ส่งผ่านการแสดงผลไปยังทีวีได้เลยระดับความละเอียด FullHD แน่นอนว่าไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งข้อดีของแพลตฟอร์มดังกล่าว

ทำไมแพลตฟอร์ม HarmonyOS ถึงน่ากลัวการแพลตฟอร์มในอดีต

1. ไม่ได้พัฒนาเพื่ออุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งเฉพาะ : ในทุก ๆ แพลตฟอร์มทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Symbian, Android, iOS, Windows Phone, BlackBerry หรือ Firefox ต่างถูกพัฒนาเพื่ออุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งเฉพาะเท่านั้น ถ้าจะนำไปใช้งานอุปกรณ์ใดจะต้องเขียนชุดคำสั่งแยก ทั้งไม่สามรถแชร์ข้อมูลร่วมกันได้ ซึ่งขัดแย้งกับเทรนด์ปัจจุบันคือ ใช้งานง่าย แชร์ได้ทุกอย่าง

2. กลุ่มผู้ใช้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก : แน่นอนว่าบริษัท Huawei นั้นเปรียบเหมือนหน้าตาของประเทศจีน หากนับเฉพาะกลุ่มบริษัทเทคโนโลยี ซึ่งได้มีเทคโนโลยี, นวัตกรรม กลุ่มบริษัทย่อย และการลงทุนต่าง ๆ อย่างหลากหลาย หากโฟกัสเฉพาะสมาร์ทโฟนก็มีวางจำหน่ายมากประเทศ จึงเป็นอีกหนึ่งข้อได้เปรียบก็ว่าได้ แม้ในประเทศจีนเองส่วนของหัวเว่ยก็โดดเด่นมากกว่าแบรนด์อื่น อ้างอิงจากผลสำรวจของ counterpointresearch.com: ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2019 ได้คว้าอันดับหนึ่งคิดเป็นส่วนแบ่งทางการตลาด 34% แน่นอนว่าหากได้ชิมลางเมื่อไหร่ และทางแบรนด์พัฒนาให้ HarmonyOS โดดเด่นกว่าแอนดรอยด์อย่างแท้จริง ก็สามารถเพิ่มส่วนแบ่งได้ เพราะผู้คนนิยมใช้ ทิศทางของโลกก็ไม่แน่เช่นกัน จากกระแสของ ปากต่อปาก เพียงแต่ผ่านช่องทางออนไลน์!

3. ความทะเยอทะยานที่แรงกล้า : หากเราสังเกตช่วงเวลาที่ผ่านมา ย้อนกลับไปประมาณ 5 ปี เราอาจไม่คุ้นเคยกับแบรนด์ Huawei ซ้ำว่าจะได้ยินแบรนด์ Xiaomi หรือ OnePlus มากกว่าซะอีก ทว่าสองแบรนด์ดังกล่าวกับกลายเป็นไม่โดดเด่น และเข้าถึงยากหากต้องการจะใช้งาน แตกต่างจาก Huawei ที่จับจองได้ไม่ยากเย็น ทั้งด้านของราคาและสเปกที่คุ้มค่า จึงได้รับกระแสตอบรับในระยะเวลาอันรวดเร็ว

แน่นอนเมื่อโดดเด่นขึ้นมา พวกเขาไม่หยุดอยู่แค่นั้น ทว่าได้ใช้ความทะเยอทะยานเป็นแรงผลักดัน สร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ พร้อมมองหาช่องทางการกระจายสินค้า กำหนดแผนการตลาดอย่างชัดเจนจนท้ายที่สุดก็ประสบความสำเร็จ ทำให้มีความน่าเชื่อถือ และลบภาพว่าเป็นบริษัทที่มาจากจีน

4. ความได้เปรียบทางการค้า : จากทั้ง 3 ข้อ ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลได้ว่า บริษัท Huawei ได้สร้างจุดยืนของตนเองอย่างชัดเจน พร้อมทรัพยากรเพียบพร้อม และการสนับสนุนจากรัฐบาลจึงไม่แปลกว่า ทำไมแพลตฟอร์มนี้จะน่ากลัวกว่าที่คิด

แล้วทำไมแพลตฟอร์ม Tizen กับ Windows 10 Mobile ถึงไม่เปรี้ยงปร้าง

เริ่มจากระบบปฏิบัติการ Tizen ย้อนไปเจ็ดปีที่แล้ว เมื่อเปิดตัวครั้งแรกก็ระบุว่าจะเป็นแพลตฟอร์มสำหรับทุกอุปกรณ์ ชูจุดเด่นที่แตกต่างจากแอนดรอยด์คือ อินเทอร์เฟชที่ไหลลื่น, เบากว่าไม่หนักเครื่อง และไม่สิ้นเปลืองพลังงานของแบตเตอรี่ หลังจากนั้นมาทาง Samsung ก็ตั้งเป้าพัฒนาให้กลายเป็น OS ทางเลือกอันดับสามของโลกให้ได้ แต่สุดท้ายก็ตกม้าตายเรื่องแอปพลิเคชั่นและกลุ่มผู้ใช้ที่มีจำกัด เนื่องจากในยุคนั้นซัมซุงยังไม่เป็นที่รู้จักเหมือนในปัจจุบัน

ส่วน Windows 10 Mobile ก่อนจะใช้ชื่อดังกล่าว ได้เคยใช้ชื่อเรียกว่า Windows Phone ซึ่งจะให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์เหมือนคอมพิวเตอร์ เพียงแต่ใช้ในอุปกรณ์พกพา ทว่าสุดท้ายก็ตกม้าตายเรื่องแอปพลิเคชั่น, อินเทอร์เฟชที่ใช้งานยุ่งยากเช่นกัน จนทาง Microsoft วางกลยุทธ์ใหม่พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น Windows 10 กับขุดเด่นใช้งานได้ทุกอุปกรณ์เช่นกัน สุดท้ายก็ไปไม่รอด เนื่องจากผู้ใช้ยังจำภาพเดิมได้

สุดท้ายแพลตฟอร์ม HarmonyOS จะเป็นเช่นใด คงต้องติดตาม เพราะปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกก็เกื้อหนุนแล้ว เหลือแต่ความโดดเด่นของระบบปฏิบัติการนี้เท่านั้นเอง ว่าจะสามารถครองใจผู้ใช้งานได้หรือไม่ รวมถึง0tตีโจทย์แอปพลิเคชั่นได้อย่างไร ถึงแม้ว่าดีแต่เชื่อใจได้หรือไม่ ยังคงเป็นสองคำถามที่ค้างคา ?

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่