องค์กร (Corporate)  |   วันที่ : 14 สิงหาคม 2563

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

AIS มีความห่วงใยคนไทยต่อการเสี่ยงถูกโจรกรรมข้อมูล ซึ่งในปัจจุบันแฮ็กเกอร์ได้พัฒนาเล่ห์เหลี่ยมใหม่ๆ ทำให้เหยื่อหลงเชื่อและให้ข้อมูลแก่ตน โดยอาศัยหลักจิตวิทยา ความไม่รู้ หรือความประมาทของเหยื่อ ลอกเลียนแบบองค์กรหรือแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อให้หลงเชื่อและกระทำการบางอย่าง อาทิ เปิดเผยรหัสผ่าน ซึ่งในทางสากลเรียกกลวิธีแบบนี้ว่า Social Engineering หรือ วิศวกรรมสังคม ดังเช่น กรณีสื่อโซเชียลมีเดียชื่อดัง ถูกแฮ็กเกอร์เข้าถึงระบบหลังบ้าน ผ่านการปลอมแปลงเป็นเว็บไซต์ภายใน ก่อให้เกิดความเสียหายรวมกว่า 1 แสนดอลลาร์สหรัฐ

โดยสามารถแบ่งรูปแบบการโจมตีของวิธีวิศวกรรมสังคม ได้ดังนี้

1. Phishing การแอบอ้างเป็นช่องทางการติดต่อจากองค์กร เพื่อล้วงข้อมูลสำคัญจากเหยื่อ
2. Baiting การล่อลวงให้เหยื่อเกิดพฤติกรรมอันตรายทางไซเบอร์ โดยใช้กลวิธีกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของเหยื่อ
3. Scareware การแจ้งเตือนภัยอันตรายปลอม เพื่อกระตุ้นให้เหยื่อเข้าถึงหรือติดตั้งซอฟต์แวร์อันตราย
4. Pretexting การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลสำคัญ
5. Mining Social Media การเรียนรู้และเก็บรวบรวมข้อมูลจากกิจกรรมบนโลกออนไลน์ของเหยื่อ เพื่อนำมาสร้างชุดข้อมูลสำหรับใช้ทำให้เหยื่อหลงเชื่อได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นสิ่งที่อยากให้ปฏิบัติเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานเอง คือ ไม่เปิดอีเมลและไฟล์แนบจากแหล่งที่น่าสงสัย, เปิดใช้การยืนยันแบบ 2 ขั้นตอนสำหรับ Social Network และอีเมลส่วนตัว, อย่ารีบดำเนินการทันทีตามที่มีการแจ้ง, จัดการ Digital Footprint และตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้เหมาะสม รวมไปถึงหมั่นอัปเดตซอฟต์แวร์ป้องกันให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดเสมอ

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มือถือออกใหม่