Human & Environment (Human & Environment)  |   วันที่ : 22 สิงหาคม 2565

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

นักวิจัยจาก Pennsylvania State University และมหาวิทยาลัยในซานตงและเจ้อเจียงของจีน พบว่า ส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ (Application Programming Interface) หรือ API ส่วนใหญ่ที่ใช้คุณสมบัติการตรวจจับความมีชีวิตจากใบหน้า โดยใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า ระบุ Deepfakes ไม่ได้เสมอไป และตัวที่ทำได้ก็มีประสิทธิภาพน้อยกว่าที่อ้างไว้ในการตรวจจับ Deepfakes 

โดยนักวิจัยได้สร้างและใช้เฟรมเวิร์ก สำหรับการโจมตีที่ขับเคลื่อนด้วย DeepFake คือ LiveBugger เพื่อประเมิน API การตรวจสอบความมีชีวิตจากใบหน้าที่ใช้ในเชิงพาณิชย์จำนวน 6 รายการ

LiveBugger พยายามหลอกลวง API โดยใช้รูปภาพและวิดีโอ Deepfake จากชุดข้อมูลสองชุดที่แยกออกจากกัน และสามารถผ่านการตรวจจับจากวิธีการตรวจสอบ 4 วิธีที่ใช้กันมากที่สุดได้อย่างง่ายดาย

ทั้งนี้นักวิจัยได้เสนอให้เสริมความปลอดภัยให้กับเทคโนโลยีด้วยการกำจัดการตรวจสอบที่วิเคราะห์เฉพาะภาพนิ่งของใบหน้าของผู้ใช้ และให้ใช้การจับคู่การเคลื่อนไหวของริมฝีปากกับเสียงของผู้ใช้ในรูปแบบการวิเคราะห์ภาพและเสียงแบบคู่อีกด้วย

เเหล่งที่มา www.psu.edu

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่