ไลฟ์สไตล์ (Lifestyle)  |   วันที่ : 16 มีนาคม 2566

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

ในยุคปัจจุบันโซเชียลมีเดียมีบทบาทมากมายในชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่ว่าจะวัยไหนๆ ล้วนต้องใช้โซเชียลมีเดียในการติดต่อสื่อสาร , เสพข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในแต่ละวัน สิ่งแรกที่ต้องทำในตอนเช้า และก่อนนอนของหลายๆคนมักเป็นการจับโทรศัพท์เช็คสื่อมีเดียลต่างๆ

เช่น เฟซบุ๊ค , ทวิตเตอร์ , อินสตาแกรม เรียกได้ว่าเปรียบเสมือนเป็นอวัยวะอีกส่วนหนึ่งของร่างกายไปแล้ว เมื่อโซเชียลมีเดียลเริ่มมีบทบาทต่อชีวิตมากขึ้นขนาดนี้ แล้วเราต้องทำอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองเป็น “โรคเสพติดโซเชียลมีเดียล (Social Addiction)”

“โรคเสพติดโซเชียลมีเดีย (Social Addiction)” คืออะไร?

เป็นการใช้โซเชียลมีเดียเป็นเวลานานจนเกินไป ทำให้มีเวลาในการพักผ่อนน้อย ตัดขาดจากผู้คนรอบข้าง จนอาจทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เช่น การทำงาน , การเรียน และอาจก่อให้เกิดภาวะของโรคซึมเศร้า , โรคเครียด , โรคสมาธิสั้นได้ สามารถเช็คอาการเบื้องต้นได้ดังนี้

  1. ใช้เวลาอยู่กับสื่อโซเชียลมีเดียเป็นเวลานาน
  2. มักมีอาการกระวนกระวาย หรือหงุดหงิดใจเวลาที่ไม่ได้เล่นโซเชียลมีเดีย
  3. ทุกครั้งที่เครียดมักจะใช้โซเชียลมีเดียคลายเครียด
  4. คอยเช็คโซเชียลมีเดียอยู่เสมอไม่ว่าจะตอนทำงาน , เรียน , ทานข้าว หรือทำกิจกรรมต่างๆ
  5. เปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นในโซเชียลมีเดีย

หากเริ่มรู้สึกว่าตนเองมีอาการดังกล่าว วันนี้เราจะพามารู้จักกับ “การบำบัดการเสพติดโซเชียลมีเดีย (Social Media Detox)” ง่ายๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง มีขั้นตอนดังนี้

  1. ตั้งแจ้งเตือนให้น้อยลงหรือปิดแจ้งเตือนโซเชียลมีเดีย
  2. กำหนดเวลาในใช้โซเชียลมีเดีย
  3. หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำ เช่น วาดรูป , ออกกำลังกาย , ฟังเพลง เป็นต้น
  4. ออกไปพักผ่อน หรือท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ
  5. งดเล่นโซเชียลมีเดียต่างๆ ก่อนนอน

โซเชียลมีเดียมีทั้งประโยชน์และโทษมากมาย หากเราใช้อย่างพอดี ไม่ให้โซเชียลมีเดียมีบทบาทกับเรามากจนเกินไปก็จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราเริ่มให้ความสำคัญกับโซเชียลมีเดียมากเกินไป นอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพแล้ว ยังทำให้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และเสียเวลาในการสิ่งต่างๆ อีกด้วย

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่