สมาร์ทโฟน (Smartphone)  |   วันที่ : 8 เมษายน 2566

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

เมื่อไม่นานมานี้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศเดือนเมษาว่า อากาศในประเทศไทยจะร้อนสูงสุด 43 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจจะส่งผลกับการใช้ชีวิต และไลฟ์สไตล์ของใครหลายๆ คน รวมถึงในการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่าง โทรศัพท์มือถือ โดยปกติโทรศัพท์เมื่อใช้งานจะมีความร้อนเกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่หากอุณหภูมิประเทศไทยจะร้อนขนาดนี้ ต้องถนอมเครื่องยังไง ถึงจะเหมาะกับหน้าร้อนนี้นะ?

ความร้อนในโทรศัพท์มาจาก CPU หรือ หน่วยประมวลผลกลาง มีหน้าที่ประมวลผลคำสั่ง (การเลื่อนจอ กดปุ่ม หรือใช้ไมค์) แล้วส่งออกไปยังหน้าจอ กระบวนการนี้เรียกว่า การสื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์และมนุษย์

CPU จะสื่อสารและรับส่งข้อมูลในรูปแบบของ สัญญาณดิจิตอล ใช้หลักการเปิด-ปิด การไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า การปิดกระแสไฟฟ้า แทนที่ด้วยเลข 0 และการเปิดกระแสไฟฟ้าแทนด้วยเลข 1 เรียกว่าเลขฐานสอง เมื่อนำมาประกอบกันเป็นชุดก็จะแทนเป็นรหัสที่มีความหมาย

**หลอดแก้วสูญญากาศ หรือ vaccum tube**

ในยุคแรกเริ่ม CPU จะใช้ หลอดสูญญากาศ (Vacuum Tubes) ทำหน้าที่เป็นสวิตช์เปิดปิดสัญญาณไฟฟ้าเพื่อรับส่งข้อมูล ปัจจุบันได้พัฒนามาเป็น ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นอุปกรณ์กึ่งตัวนำทำหน้าที่เป็นสวิตช์เหมือนหลอดสูญญากาศและมีขนาดเล็กกว่า

ใน CPU หนึ่งตัว มีทรานซิสเตอร์จำนวนมหาศาลประกอบอยู่ข้างใน ยกตัวอย่าง CPU Apple A14 Bionic มี ทรานซิสเตอร์ถึง 11,800,00,00 ตัว โดยตามหลักฟิสิกส์แล้ว เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านวัตถุใดๆ มันจะมีความร้อนเกิดขึ้น นี่เป็นสาเหตุของการเกิดความร้อนในโทรศัพท์

โทรศัพท์มีความร้อนเป็นปกติ โดยอุณหภูมิจะไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส หากใช้งานอย่างหนักหน่วงจะทำให้อุณหภูมิเครื่องสูงขึ้น เช่น ชาร์จไปใช้ไปด้วย หรือเล่นเกมที่ต้องประมวลผลหนัก และใช้งานแอปฯ พร้อมกันนานๆ เมื่อความร้อนสูงขึ้นมากจะเกิดอาการผิดปกติต่างๆ เช่น เครื่องอืดหน่วง , ระบบรวน , ทัชสกรีนติดขัด , แสงหน้าจอวูบเป็นระยะ และเครื่องดับ

วิธีป้องกันปัญหาโทรศัพท์ร้อน

1.ให้หลีกเลี่ยงการใช้งานในสถานที่มีความร้อนสูง อุณหภูมิของสภาพอากาศเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกับความร้อนของโทรศัพท์มือถือ นอกจากความร้อนภายในที่เกิดจากตัวเครื่องเองแล้ว ความร้อนจากภายนอกก็ทำให้เครื่องร้อนและก่อให้เกิดปัญหาได้ ดังนั้นควรเลือกสถานที่ในการใช้งานให้เหมาะสม เช่น หลีกเลี่ยงการใช้งานกลางแดด หรือในสถานที่อบอ้าว

2.พักเครื่องเป็นระยะๆ การใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน แม้จะไม่ได้ใช้งานหนักมาก ในการใช้งานจะเกิดความร้อนเป็นปกติอยู่แล้ว และเมื่อใช้งานเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความร้อนสะสม อุณหภูมิเครื่องจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การพักเครื่อง จะช่วยลดอุณหภูมิสะสม และยังช่วยยืดเวลาในการใช้งานแบตเตอรี่ได้อีกด้วย

3.ปิดแอปฯ ที่กำลังทำงานเบื้องหลัง การทำงานของแอปฯ ส่วนใหญ่มักจะมีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้เพื่อสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้ โดยทำงานอยู่เบื้องหลังตลอดเวลาแม้ไม่ได้เปิดใช้ เป็นการใช้งานทรัพยากรณ์เครื่องอยู่ตลอด การปิดแอปฯ ที่ไม่ได้ใช้งาน เป็นการลดการทำงานของเครื่อง อันเป็นสาเหตุของความร้อนนั่นเอง

4.ถอดเคส เคสเป็นอุปกรณ์สำหรับป้องกันการกระแทกของเครื่อง แต่มีข้อเสียที่ชัดเจนคือการปิดกั้นพื้นผิวเครื่องกับอากาศ ทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี ที่สำคัญในเคสโทรศัพท์ที่มีการใช้วัสดุคุณภาพต่ำจะก่อให้เกิดความร้อนสะสมที่ตัวเคส และยิ่งเพิ่มอุณหภูมิของเครื่องมากขึ้นไป การถอดเคสออกจะช่วยให้การระบายความร้อนทำได้ดีขึ้นและลดการเกิดความร้อนสะสม

5.ไม่ชาร์จไปใช้ไป อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ว่ากระแสไฟฟ้าเมื่อผ่านวัตถุใดๆ ก็จะเกิดความร้อน ระหว่างชาร์จแม้ไม่ได้ใช้งาน จะเกิดความร้อนเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว หากชาร์จไปด้วยใช้ไปด้วย ก็ยิ่งทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น และมีความเสียงที่แบตเตอรี่จะระเบิดสูงหากใช้งานจากแบตเตอรี่ที่ไม่มีคุณภาพ

ทิปเล็กๆ น้อยๆ สำหรับการเตรียมรับมือกับหน้าร้อนของประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะเป็นปีที่ร้อนกว่าหลายปีที่ผ่านมา ไม่ใช่แค่มือถืออย่างเดียว อาจเป็นปัญหาต่อผู้ใช้ด้วย ดังนั้น การควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีถนอมและยืดอายุการใช้งานของมือถือ

ข้อมูล tipsthaiware

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่