ซอฟต์แวร์ (Software)  |   วันที่ : 16 กรกฎาคม 2555

ปรับขนาดตัวอักษร - ก+ก

แชร์

ไอซีที รอเอกสารชี้แจงความชัดเจนจากคณะกรรมการตรวจรับแท็บเล็ตก่อน หลังผลสุ่มตรวจแท็บเล็ต ป.1 พบ ต่ำกว่ามาตรฐานที่ยอมรับ 7 เครื่อง หรือพอดีกับที่กำหนดไว้ตอนแรก...  

เมื่อวันที่ 15 ก.ค. มีรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพแท็บเล็ต ป.1 ตามโครงการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา หรือ แท็บเล็ต ป.1 กับ บริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ โดยมีเจ้าหน้าที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เข้ามาช่วยคณะทำงานตรวจรับแท็บเล็ต ป.1 ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือ ไอซีที สุ่มตรวจสอบมาตรฐานทางเทคนิค เครื่องแท็บเล็ตจำนวน 500 เครื่อง จากจำนวนทั้งหมดที่ได้รับมอบมาแล้ว 59,000 เครื่อง โดยล่าสุดพบว่า มีจำนวน 7 เครื่อง ที่คุณภาพไม่ได้มาตรฐานเกี่ยวกับตัวเครื่อง เช่น ระบบสัมผัส หรือ ทัชสกรีน ทำงานช้า และเกิดปัญหา หน้าจอ ติดๆ ดับๆ ซึ่งจำนวนแท็บเล็ต 7 เครื่องที่เสียเท่ากับมาตรฐานที่คณะกรรมการตรวจรับสามารถยอมรับได้

ทั้งนี้ การตรวจรับแท็บเล็ต ป.1 ของคณะกรรมการตรวจรับใช้หลักเกณฑ์ เอ็มไอแอล -เอสทีดี -105 อี ที่เป็นมาตรฐานสากล  โดย 150,000 เครื่องที่ตรวจสอบ อุปกรณ์หลักเสียได้ไม่เกิน 7 เครื่อง ส่วนอุปกรณ์เสริมเสียได้ไม่เกิน 14 ชิ้น หากเกินจะต้องส่งกลับทั้งหมด ส่วนการตรวจสอบคุณภาพอุปกรณ์เสริม เช่น หูฟัง และ ที่ชาร์ตแบตเตอรี่ พบว่า มีอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน 3 ชิ้น ขณะที่การสุ่มตรวจสอบล็อตสอง ยังไม่ได้เริ่มต้น เพราะอยู่ระหว่างการรอบริษัท เซิ่นเจิ้น สโคป ส่งมอบแท็บเล็ต ป.1 ให้ครบจำนวนที่ต้องสุ่มตรวจใหม่

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า ขณะนี้ ยังไม่ได้รับหนังสือรายงานผลการตรวจรับแท็บเล็ต ป.1 จากคณะกรรมการตรวจรับพัสดุการจัดซื้อแท็บเล็ต ป.1 ซึ่งมีนายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา เป็นประธานคณะกรรมการฯ โดยคาดว่าจะได้รับหนังสืออย่างเป็นทางการในต้นสัปดาห์หน้า พร้อมยืนยันว่ากระทรวงไอซีทีให้เวลาสุ่มตรวจแท็บเล็ต 5 วันทำการ นอกจากนี้ ยังต้องดำเนินการตามคณะกรรมการตรวจรับหากพบว่าแท็บเล็ตได้หรือไม่ได้มาตรฐานอย่างไร  

นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาศ รักษาการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. กล่าวว่า ระยะเวลาสุ่มตรวจสอบเครื่องแท็บเล็ตส่งผลให้เกิดโอกาสที่เครื่องที่ไม่มีคุณภาพจะหลุดรอดไปถึงมือเด็กได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ มองว่าในการบริหารต้องการให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่หน่วยราชการจะได้รับ เพราะต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการใช้จ่าย อีกทั้ง ทุกฝ่ายคาดหวังว่าจะได้ของที่มีคุณภาพตามคุณสมบัติตามที่เคยระบุไว้ หากไม่ตรวจรับให้เข้มงวด และปล่อยผ่านออกไปจะกลายเป็นภาระใหญ่ โดยเฉพาะการซ่อมบำรุงที่จะเกิดขึ้นมาภายหลัง เพราะหากใช้ประโยชน์ไม่ได้เต็มที่ก็อาจทำให้เกิดการสูญเสียประโยชน์ ขาดประสิทธิภาพ สิ้นเปลืองงบประมาณ

ขอขอบคุณภาพ และเนื้อหาจาก : www.thairath.co.th

ติดตามข่าวสารมือถือได้ที่
www.facebook.com/siamphonedotcom

ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ

มือถือออกใหม่