www.siamphone.com

ข่าว

OPPO เปิดตัวนวัตกรรมเทคโนโลยีการถ่ายภาพบนสมาร์ทโฟน

สมาร์ทโฟน (Smartphone)   |   วันที่ : 26 สิงหาคม 2564

OPPO จัดงาน OPPO Future Imaging Technology Launch Event ประจำปี 2021 ในรูปแบบออนไลน์ เผยโฉมความก้าวหน้าสุดล้ำของเทคโนโลยีการถ่ายภาพผ่านสมาร์ทโฟนที่มุ่งเน้นการอัปเกรดเซ็นเซอร์ โมดูล และอัลกอริธึม OPPO ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและการเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีการถ่ายภาพที่ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถ "บันทึกภาพความงดงามในชีวิต ได้อย่างง่ายดาย

นวัตกรรม ที่เปิดตัวในงานนี้ ประกอบด้วย เซ็นเซอร์ RGBW รุ่นใหม่ของ OPPO, ระบบซูมออปติคอลแบบต่อเนื่อง 85-200 มม. , เทคโนโลยีระบบป้องกันภาพสั่นไหว (OIS) แบบ 5 แกน และกล้องใต้หน้าจอ (under-screen camera) รุ่นใหม่ของ OPPO พร้อมชุดอัลกอริธึม AI ที่เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะ การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้มาใช้

เซ็นเซอร์ใหม่: เซ็นเซอร์ RGBW รุ่นใหม่ที่พัฒนาความไวแสงพร้อมประสิทธิภาพด้านสีที่เหนือชั้น

เซ็นเซอร์ RGBW รุ่นใหม่ของ OPPO มีการปรับปรุงความไวแสงให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน ด้วยการใช้พิกเซลย่อยสีขาว (W) เพิ่มเติม เทคโนโลยี DTI ที่ล้ำสมัย และอัลกอริธึมพิกเซล 4-in-1 ที่ OPPO พัฒนาขึ้นเอง ผลลัพธ์จากนวัตกรรมเหล่านี้ส่งผลให้เซนเซอร์ใหม่สามารถจับแสงได้มากกว่าเซนเซอร์รุ่นก่อนถึง 60% ในขณะที่ลดสัญญาณรบกวนลงได้ถึง 35%  เพื่อให้ภาพที่คมชัดสว่าง และเด่นชัดขึ้นในสภาพแสงน้อย

เซ็นเซอร์ RGBW รุ่นใหม่นี้สร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตและการประมวลผลขั้นสูง สามารถเพิ่มระดับพลังการประมวลผลที่จำเป็นต่อการทำงานของอัลกอริธึมที่ซับซ้อน และเพิ่มปริมาณข้อมูลที่ดึงออกมาได้สูงสุดผ่านพิกเซลสีขาวของเซ็นเซอร์ โดยอัลกอริธึมพิกเซล 4-in-1 ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ OPPO ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแสดงสีของเซ็นเซอร์ได้อย่างเด่นชัด ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ความผิดเพี้ยนของสี และลายมัวเร นอกจากนี้ เทคโนโลยีการแยกพิกเซล DTI สุดล้ำบนเซ็นเซอร์ใหม่ยังช่วยป้องกันการแทรกซ้อนของพิกเซลและปรับปรุงคุณภาพของภาพให้ดีขึ้นอีกด้วย

นอกจากมีการพัฒนาความสามารถการถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยแล้ว เซ็นเซอร์ RGBW รุ่นใหม่ ยังทำให้ภาพบุคคลหรือพอร์เทรตมีความคมชัดมากขึ้น ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ ด้วยการปรับผิวของตัวแบบ และคอนทราสต์ โดยเซ็นเซอร์ใหม่นี้จะนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ OPPO ที่จะวางจำหน่ายตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2564

โมดูลใหม่: ระบบซูมออปติคอล 85-200 มม. แบบต่อเนื่อง รองรับการซูมที่ราบรื่นไม่มีสะดุด และเทคโนโลยี OIS แบบ 5 แกน รับประกันการสแน็ปช็อตที่คมชัดยิ่งขึ้น

โมดูลที่เปิดตัวใหม่ครั้งนี้คือระบบซูมออปติคอล 85-200 มม. แบบต่อเนื่อง ซึ่งมีการออกแบบโมดูลโครงสร้างพื้นฐานที่ระดับฮาร์ดแวร์ขึ้นใหม่ทั้งหมด:

  • ใช้เทคโนโลยีเลนส์ G+P (แก้ว + พลาสติก) เป็นครั้งแรก โดยเปิดตัวเลนส์แก้ว Aspheric ที่บางเฉียบและมีความแม่นยำสูง 2 ชิ้น เพื่อเพิ่มเอฟเฟกต์ด้านออปติคอลอย่างเด่นชัด เช่น การลดแสงเล็ดลอด
  • การประยุกต์ใช้นวัตกรรมของเซ็นเซอร์ตรวจจับสนามแม่เหล็กในอุโมงค์ (เซ็นเซอร์ TMR) ช่วยให้เลนส์ภายในโมดูลกล้องเคลื่อนที่ได้อย่างมีเสถียรภาพและแม่นยำยิ่งขึ้น
  • มอเตอร์เหนี่ยวนำที่ได้รับการอัพเกรดใหม่จะเพิ่มระดับการเลื่อนมุมกล้องขึ้นลงแบบไดนามิกซึ่งระบบเลนส์สามารถเคลื่อนไหวได้ และรองรับระบบซูมออปติคอลแบบต่อเนื่องด้วยกำลังขยายที่สูงขึ้น

นวัตกรรมที่กล่าวมานี้ รองรับการซูมออปติคอลแบบต่อเนื่องที่ความยาวโฟกัสเทียบเท่าระหว่าง 85 มม. ถึง 200 มม. โดยสามารถจับภาพที่คมชัดในทุกระดับกำลังขยาย ตั้งแต่ภาพบุคคลในระยะใกล้ ไปจนถึงภาพทิวทัศน์ที่ห่างไกล โดยไม่จำเป็นต้องคร็อปภาพ ผู้ใช้สามารถเพลิดเพลินกับการปรับโฟกัสที่ราบรื่นตลอดช่วงการซูม พร้อมคุณภาพของภาพที่เทียบเท่ากับกล้องมืออาชีพ นอกจากนี้ เทคโนโลยีนี้ยังช่วยแก้ไขปัญหาที่เจอได้บ่อย ๆ เช่น การกระโดด ความคลาดเคลื่อนของไวต์บาลานซ์ หรือการแสดงสีบางสีเข้มเกินจริง ซึ่งอาจพบได้ในระบบซูมของกล้องหลายตัวทั่ว ๆ ไป

เทคโนโลยีใหม่จาก OPPO อย่างระบบ OIS แบบห้าแกน ช่วยให้โปรเซสเซอร์ของระบบสามารถรับข้อมูลการเคลื่อนไหวจากไจโรสโคป วิเคราะห์ และแยกย่อยข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ ตามลำดับผ่านอัลกอริธึม จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังส่วนประกอบที่เคลื่อนย้ายได้ทั้งสองชิ้น ได้แก่ เลนส์ และเซ็นเซอร์ภาพ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยball-bearing motors และ shape memory alloys

เมื่อมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างน้อย ภาพจะคงความเสถียรได้จากการใช้ OIS ที่สามารถขยับเลนส์ได้ ทั้งในแนวนอน (X) และแนวตั้ง (Y)  อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างมาก ระบบจะใช้ OIS แบบขยับเซ็นเซอร์ได้ – ซึ่งสามารถขยับทั้งในแนวนอน (x) แนวตั้ง (y) และการหมุนรอบ – ร่วมกับการชดเชยอัลกอริธึม เพื่อให้เกิดความเสถียรในห้าแกนของช่องว่างที่เกิดขึ้น

คุณสมบัติใหม่ทั้งหมดนี้ช่วยให้เกิดมุมการสั่นไหวสูงสุดที่ ±3° ซึ่งสูงกว่าเทคโนโลยี OIS แบบเดิมบนอุปกรณ์โมบายถึงสามเท่า ในขณะที่เซ็นเซอร์ยังสามารถขยับด้วยความแม่นยำระดับ 2μm  สำหรับการถ่ายภาพในเวลากลางคืนหรือภาพเคลื่อนไหว เทคโนโลยีอัลกอริธึมที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ OPPO สามารถช่วยปรับปรุงความเสถียร ความคมชัด และประสิทธิภาพการแสดงสีให้ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน เพิ่มประสิทธิภาพการชดเชยการสั่นสะเทือนได้ถึง 65%  โดยเทคโนโลยี OIS แบบ 5 แกน จะนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ OPPO ที่วางจำหน่ายตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2565

อัลกอริธึมใหม่: อัลกอริธึมที่ OPPO พัฒนาขึ้นเองสำหรับรองรับกล้องใต้หน้าจอรุ่นใหม่ เพื่อส่งมอบความสมดุลระหว่างหน้าจอและคุณภาพของกล้องอันสมบูรณ์แบบ

สุดท้าย OPPO ยังได้เปิดตัวโซลูชั่นกล้องใต้หน้าจอรุ่นใหม่สำหรับสมาร์ทโฟนในอนาคต มีการใช้ pixel geometry ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถแสดงผลภาพด้วยความละเอียดสูงถึง 400-PPI ในพื้นที่กล้องใต้หน้าจอ และด้วยการใช้สายไฟแบบโปร่งใส และการออกแบบใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้คือคุณภาพการแสดงผลที่ละเอียดยิ่งขึ้น

พร้อมประสบการณ์การรับชมที่ราบรื่นยิ่งขึ้น ด้วยวงจรพิกเซลแต่ละวงจรขับเคลื่อนเพียง 1 พิกเซล (“1-to-1”) ในหน้าจอและเทคโนโลยีการชดเชยอัลกอริธึมที่แม่นยำของ OPPO ทำให้ควบคุมสีและความสว่างของทั้งหน้าจอได้แม่นยำยิ่งขึ้น โดยมีค่าเบี่ยงเบนเพียง 2% และยืดอายุการใช้งานหน้าจอได้ยาวนานขึ้นถึง 50%

นอกจากนี้ สถาบันวิจัย OPPO ในสหรัฐอเมริกา ยังได้พัฒนาชุดอัลกอริธึม AI ด้านภาพ ประกอบด้วย การลดการเลี้ยวเบน, การป้องกันการควบแน่น, HDR และ AWB เพื่อปรับปรุงคุณภาพการถ่ายภาพของกล้องใต้หน้าจอให้ดียิ่งขึ้น โดย OPPO ยังคงทดสอบ AI diffraction reduction model ด้วยการใช้ภาพหลายหมื่นภาพมาช่วยลดปัญหาได้อย่างแม่นยำ ทำให้ผู้ใช้สามารถจับภาพได้ชัดเจนและดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น

เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการถ่ายภาพที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของผู้บริโภคทั่วโลก OPPO ได้เพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาในระดับโลกอย่างไม่หยุดยั้ง โดยปัจจุบัน OPPO มีสถาบันวิจัย 6 แห่ง ศูนย์วิจัยและพัฒนา 5 แห่ง และแล็บที่วิจัยด้านภาพ (Imaging Lab) หลายสิบแห่งทั่วโลก รวมถึงแล็บแห่งใหม่ในไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย และแล็บในเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทำหน้าที่สร้างสรรค์เทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพของ OPPO ขึ้นเองเพื่อนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ซีรีส์ Reno ในอนาคต

วันที่ : 26 สิงหาคม 2564

Tags :
1,854
อ่าน

แบ่งปันบทความ

ข่าวล่าสุด

ไฮไลท์ข่าว

หมวดข่าว

None AMP version