หมวดอื่นๆ (Other) | วันที่ : 11 กันยายน 2557
สำหรับการใช้งานสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตในปัจจุบัน เชื่อว่าหลายๆ คนคงกังวลกับปัญหาเรื่องความปลอดภัย และปัญหาความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะปัญหามัลแวร์ หรือการแฮ็กข้อมูล จากมิจฉาชีพ ซึ่งทำให้สุ่มเสี่ยงเกิดความเสียหาย เพราะอยู่ในยุคที่นิยมส่งข้อมูลสำคัญๆ รวมถึงการบันทึกข้อมูลต่างๆ อาทิ รหัสบัตรเครดิต อีเมลไว้ในโทรศัพท์ เพราะฉะนั้นเราจะดูแล และป้องกันสมารท์โฟนให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพเมื่อใช้งานได้อย่างไร....?
1. เริ่มกันที่วิธีแรกเป็นวิธีที่ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตทุกคนควรที่จะปฏิบัติไว้นั่นคือ การตั้ง Password สำหรับการล็อคเครื่อง เพราะว่าวิธีนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีเบื้องต้นในการป้องกันว่าจะมีแต่เราเท่านั้นที่จะสามารถใช้งานได้ อีกทั้งควรที่จะตั้ง Password ให้มีความคาดเดาได้ยาก
2. นอกจากการตั้ง Password สำหรับล็อคเครื่องแล้ว ควรที่จะตรวจสอบว่าสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตนั้นล็อคหน้าจออัตโนมัติหรือไม่ ซึ่งเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตั้งล็อคคือ 2 - 5 นาที
3. ติดตั้งแอพฯรักษาความปลอดภัย อาทิ แอพฯ ป้องกันมัลแวร์, แอพฯ ทำความสะอาดไฟล์แคช และลบประวัติการใช้งานเว็บบราวเซอร์ เป็นต้น
4. ดาวน์โหลดแอพฯ ที่ต้องการจาก OS Store ของตนเองโดยตรง นอกจากนี้หากควรจะสังเกตถึงที่มา, ผู้พัฒนา, รีวิวจากผู้ใช้งาน รวมถึงเสริท์ชื่อแอพฯ อีกหนึ่งครั้ง เพื่อตรวจดูว่าในชื่อนี้มีกี่แอพฯ และมีผู้พัฒนาเป็นใครบ้าง (วิธีสังเกตแอพฯ ปลอมอ่านบทความได้ที่นี่)
5. อัพเดท OS ของตนเองอยู่ตลอดเวลา เพราะหลายๆ คนคงเคยได้ยินข่าวว่า OS ที่บริษัทต่างๆ ได้พัฒนามาในแต่ละเวอร์ชั่น ได้ถูกแฮกเกอร์แฮกข้อมูล หรือฝังมัลแวร์ไว้ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรมั่นตรวจสอบข่าวสารการอัพเดทอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัย และปรับปรุงการทำงานของสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ระมัดระวังอีเมล หรือข้อความใดๆ ที่ไม่รู้จักแหล่งที่มา นอกจากนี้บางข้อความยังมีลิงค์ที่เชิญชวนให้กดเปิดอ่าน อาทิ คุณได้รับรางวัล, คุณมีเช็คที่ยังไม่ได้รับ กรุณากรอกรหัสบัญชี เป็นต้น นอกจากผู้ใช้งานควรมั่นตรวจสอบค่าบริการโทรศัพท์ของตนเองอยู่เสมอ ว่ามีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่ และถ้าหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบแจ้งผู้ให้บริการเครือข่ายโดยเร็ว
7. หลีกเลี่ยงการเจลเบรก (Jailbreak) เพราะเมื่อเจลเบรกไปแล้ว ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยต่างๆ จะถูกยกเลิก ซึ่งการเจลเบรกจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบปฏิบัติการ รวมถึงฟังก์ชั่น แอพฯต่างๆ ได้โดยตรง ดังนั้นหากผู้ใช้งานไม่มีความรู้ที่เพียงพอจะทำให้สุ่มเสี่ยมเกิดความเสียหายตามมาภายหลังได้
8. หลีกเลี่ยงการตั้งค่าการเชื่อมต่ออัตโนมัติทุกประเภท เช่น Bluetooth, Wi-Fi, NFC และควรที่จะปิดการเชื่อมต่อทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน อย่างไรก็ตามเมื่อต้องการจะเชื่อมต่อสัญญาณ Wi-Fi ผู้ใช้งานควรคำนึงถึงเสมอว่าเครือข่ายสาธารณะ มักไม่มีการป้องกัน และมาตราฐานความปลอดภัยที่มากพอ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินด้วย Wi-Fi (อ่านบทความได้ที่นี่)
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : nakedsecurity.sophos.com วันที่ : 11 กันยายน 2557
สรุปจุดเด่นและสเปค TECNO CAMON 40 Pro สมาร์ทโฟนที่คุ้มค่า อัปเดต OS นาน 3 ปี ลดราคาเหลือเพียง 6,9...
HONOR 400 Pro ปรากฏตัวบน Geekbench ยืนยันใช้ชิปเซ็ตเรือธง Snapdragon 8 Gen 3
HONOR 400 หลุดสเปคเด่น! ชิปเซ็ต Snapdragon 7 Gen 3, กล้อง 200MP, จอสว่าง 5000 นิต คาดเปิดตัวพฤษภา...
CMF Phone 2 Pro เพิ่มกล้องทั้ง Telephoto และ Ultra-Wide ชิปเซ็ตแรงขึ้น Dimensity 7300 Pro
OnePlus Nord CE5 ผ่านการรับรอง BIS เผยสเปคเด่น แบตฯ 7100mAh เตรียมเปิดตัวมิถุนายนนี้ที่อินเดีย
vivo ประกาศวันเปิดตัว vivo Y300 GT พร้อมเผยดีไซน์และฟีเจอร์เด่น!
OPPO K13 5G เปิดตัวแรงจัดเต็ม ชิปฯ Snapdragon 6 Gen 4 แบตฯ 7000mAh พร้อมชาร์จไว 80W
สรุปจุดเด่นและสเปค vivo V50 Lite 5G หน้าจอ 120Hz มาตรฐานถึกทนครบ RAM 24GB แบตฯ 6500mAh ชาร์จเร็ว 90W
realme Buds Air7 Pro เปิดตัวดีไซน์สุดหรู พร้อม ANC ที่พัฒนาขึ้น และแบตเตอรี่ที่อึดกว่าเดิม
realme GT7 สมาร์ทโฟนชิปเซ็ต Dimensity 9400+ แบตเตอรี่อย่างใหญ่ 7200mAh
OnePlus 13T หายไปนาน! กลับมาเร็วแรงบน Snapdragon 8 Elite พร้อมตัวเครื่องแบบกะทัดรัด
หลุดภาพ Sony Xperia 1 VII บนเว็บไซต์ไต้หวัน เผยดีไซน์ และสีสันใหม่
vivo Watch 5 สมาร์ทวอทช์ทรงกลม น้ำหนักเบาลง ใช้ได้นานขึ้นถึง 22 วัน23 ชั่วโมงที่แล้ว