www.siamphone.com
เทคโนโลยี (Technology) | วันที่ : 12 กรกฎาคม 2561
ต่อจากช่วงที่ 1 ที่พูดถึงประวัติความเป็นมาและความสำเร็จของ Huawei ไปแล้ว (คลิ๊กที่นี่) ในตอนนี้เราจะมาเจาะลึกอีกส่วนที่กว่าจะมาเป็นสมาร์ทโฟน Huawei นั้นต้องผ่านขั้นตอนการผลิตอย่างไร และผ่านการทดสอบสุดโหดอะไรบ้างกว่าจะออกสู่ตลาด
สำหรับห้องวิจัยและพัฒนา (R&D Center) ของ Huawei นั้นตั้งอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งความใหญ่โตก็กว้างถึง 10,000 ตารางเมตร ที่ประกอบไปด้วยห้องปฏิบัติการ 23 แห่งภายใน 1 พื้นที่ เพื่อใช้ในการทดสอบสมาร์ทโฟนรุ่นต่างๆ ซึ่งจะเน้นไปทางด้านประสบการณ์การใช้งานและนวัตกรรม โดยมีถึง 5 ห้องการทดสอบหลักๆ ที่เราจะพูดถึง ดังนี้
1. Automation Test Center
มาเริ่มต้นกันที่ห้องทดสอบอัตโนมัติที่ทำงานเปรียบเสมือนกับพนักงาน 10,000 คน เพื่อให้การทดสอบเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งยังเป็นการการันตีถึงคุณภาพและความเสถียรภาพของสมาร์ทโฟนอีกด้วย โดยห้องวิจัยนี้มีเครื่องทดสอบมากกว่า 800 เครื่องสำหรับทดสอบสมาร์ทโฟนมากกว่า 5,000 เครื่องในเวลาเดียวกัน ซึ่งยังทำงานตลอดทั้งวันทั้งคืนไม่มีวันหยุดแบบ 7 วัน ครบ 24 ชั่วโมง
สมาร์ทโฟนทุกเครื่องต้องผ่านการทดสอบเป็นล้านๆ ครั้งจากการทดสอบกว่า 1,000 ชั่วโมงก่อนที่จะเปิดตัวออกสู่สาธารณะ ซึ่งสิ่งที่เป็นเป้าของการทำงานในส่วนนี้ คือ การพัฒนาซอร์ฟแวร์ที่ไร้ข้อผิดพลาดให้รวดเร็วมากที่สุด
2. Communication Protocol Test Laboratory
อีกหนึ่งสิ่งที่พิเศษของ Huawei คือด้านการสื่อสารที่มีเป้าหมายหลักเป็นการใช้งานได้กับทุกเน็ตเวิร์คบนโลกนี้ ไม่เว้นแม้แต่ในสหรัฐอเมริกา ที่ครอบคลุมเครือข่ายกว่า 1,000 แบบ จากเครือข่ายผู้ให้บริการขนาดใหญ่ได้กว่า 20 ราย ซึ่งสิ่งที่ใช้ทดสอบจะประกอบด้วยการสลับเครือข่ายไปมาระหว่าง 2G, 3G, LTE (4G) และอื่นๆ มากมาย รวมไปถึงฟีเจอร์ใหม่ เช่น การวิดีโอคอลแบบ 4G HD, VoWiFi, VoLTE, Carrier Aggregation (CA) และ MIMO
นอกจากนี้ ห้องวิจัยดังกล่าวยังเป็นห้องวิจัยเดียวที่ระบบ Wi-Fi มีการผสานการทำงานของทั้ง CDMA และ GUTL เข้าด้วยกัน
3. Reliability Laboratory
มาถึงห้องทดสอบที่ใครหลายคนต้องชอบแน่นอน เพราะเป็นการทดสอบการใช้งานสมาร์ทโฟนจากการจำลองในชีวิตประจำวัน (เทียบเป็นเวลาจริงมากกว่า 1 ปี) เพื่อปรับปรุงความทนทานและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เช่น
ทั้งนี้ การทดสอบทั้งหมดจะเป็นไปตามมาตรฐานของทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และประเทศอื่นๆ
4. Antenna Laboratory
สำหรับ Antenna Lab เป็นการทดสอบและปรับปรุงคุณภาพของสัญญาณทางโทรศัพท์ เพื่อไม่ให้เกิดอาการ "Death-Grip" หรือช่วงที่สัญญาณขาดๆ หายๆ รวมไปถึงการเชื่อมต่อข้อมูลและใช้ GPS อย่างรวดเร็วและเสถียร โดยห้องวิจัยนี้ ประกอบไปด้วย ห้องทดสอบที่ไร้การสะท้อนของคลื่นไมโครเวฟ (ETS Microwave Anechoic Chamber), ห้องทดสอบการสะท้อนกลับของคลื่น และห้องทดสอบที่มีความแม่นยำสูงสุด ซึ่งการทดสอบทั้งหมดนี้ถือเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก
5. Audio Laboratory
เดินทางมาถึงห้องทดสอบอย่างสุดท้ายกับการทดสอบระบบเสียง เพื่อพัฒนาความคมชัดของเสียงที่ผู้ใช้งานควรได้รับในสภาวะที่มีการรบกวนจากเสียงแวดล้อม ไม่ว่าจะใช้การโทรหรือฟังเพลงอยู่ก็ตาม โดยห้องวิจัยนี้เป็นห้องวิจัยในประเทศจีนแห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ผ่านเกณฑ์การลดเสียงรบกวน 3PASS noise test system
สายการผลิต (Product Line)
และในการไปประเทศจีนครั้งนี้ ทาง Huawei ก็ไม่ลืมที่จะพาเราเข้าไปถึงสายการผลิตสมาร์ทโฟน (Product Line) ตั้งแต่การประกอบเมนบอร์ดจนถึงการส่งเข้ากล่องเพื่อเตรียมวางจำหน่าย แต่ก็น่าเสียดายที่เราไม่สามารถบันทึกภาพหรือนำอุปกรณ์ทุกอย่างเข้าไปได้ขณะรับชม ซึ่งเราก็เน้นการจำล้วนๆ เพื่อบอกต่อข้อมูลมาบอกโดยสรุปกัน (ภาพด้านล่างเป็นภาพเพื่อประกอบบทความเท่านั้น)
ตั้งแต่ที่เราก้าวเข้าไปในโรงงาน ทุกอย่างก็กลายเป็นความลับสุดยอด ตั้งแต่การห้ามนำสิ่งของที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดเข้าไปในโรงงาน ไปถึงการเปลี่ยนเป็นชุดยูนิฟอร์มพนักงานหัวเหว่ยที่ต้องสวมใส่ตามกฏระเบียบ เมื่อผ่านจุดตรวจสิ่งของ สิ่งแรกที่เราเห็นก็มีแต่หุ่นยนต์และเครื่องจักรที่ทำงานกันตลอดเวลา ซึ่งมีพนักงานที่เป็นคนจริงๆ น้อยกว่าที่คิดไว้
มาถึงจุดแรกจะเป็นการผลิตเมนบอร์ดและนำชิปเซ็ตต่างๆ ฝังเข้าไปในอุปกรณ์นั้น ซึ่งทั้งหมดจะทำงานด้วยหุ่นยนต์ที่ถูกตั้งค่าเอาไว้ภายในตู้นิรภัยที่เรียงกันเป็นแนวนอนแถวยาวไปจนสุดทาง (ประมาณ 150 เมตร)
การเรียงกันของตู้นิรภัยเหมือนเป็นการส่งงานต่อไปเรื่อยๆ แบบอัตโนมัติของหุ่นยนต์ เช่น ตัวแรกมีหน้าที่ฝังชิปเซ็ต เมื่อเสร็จแล้วก็จะส่งต่อไปยังหุ่นอีกตัวเพื่อฝัง ROM และ RAM และก็จะทำงานต่อไปเรื่อยๆ จนประกอบเป็นเครื่องที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
ทั้งนี้ ทุกขั้นตอนการทำงานของหุ่นยนต์จะมีพนักงานคอยตรวจสอบอยู่ตลอดเวลาว่ามีสิ่งใดผิดพลาดหรือมีอะไรแก้ไขหน้างานหรือไม่ อย่างการทดสอบฟังเสียงลำโพง ก็จะมีตู้เฉพาะให้พนักงานรับฟังเสียงของสมาร์ทโฟนว่าผิดปกติอย่างไร, การใช้งาน UI หน้าตาของระบบปฏิบัติการ ระบบสัมผัสต่างๆ ที่ต้องให้พนักงานคอยดูว่าเหมาะสมกับการใช้งานในชีวิตประจำวันหรือไม่ หรือการ Drop Test ในระยะ 30 เซนติเมตร หากไม่มีอะไรขัดข้องก็จะส่งไม้ต่อให้หุ่นยนต์ทำงานต่อไป
และในจุดสุดท้ายของการผลิตก็จะมีพนักงานคอยบรรจุลงกล่องลังพร้อมวางจำหน่าย โดยมีหุ่นยนต์ขับเคลื่่อนอัตโนมัติคอยรับกล่องดังกล่าวเพื่อส่งไปยังคลังเก็บสินค้า เตรียมส่งออกไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก
สรุปการทำงานของสายการผลิต (Product Line)
วันที่ : 12 กรกฎาคม 2561
iQOO 13 5G ขุมพลัง Snapdragon 8 Elite แบต 6150mAh รองรับ 120W FlashCharge พร้อม Bypass Charging6 ชั่วโมงที่แล้ว
รีวิว HONOR 200 Smart 5G คุ้มค่าเกินราคา สุดยอดสมาร์ทโฟนสำหรับคนชอบลุย10 ชั่วโมงที่แล้ว
Sonos จัดเต็มส่งท้ายปีกับโปรโมชั่น 12.12 ให้คุณช้อปฟินด้วยส่วนลดสูงสุดกว่า 30%11 ธ.ค. 67 07:00
Infinix ปล่อยเซอร์ไพรส์ HOT 50 Pro+ Series สีสันพิเศษ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุข10 ธ.ค. 67 21:41
เตรียมเปิดตัว HUAWEI MatePad 12 X แท็บเล็ตฟังก์ชันเรือธง ผสานการทำงานกับอุปกรณ์เสริมอย่างไร้รอยต่อ10 ธ.ค. 67 19:29
iQOO 13 5G ขุมพลัง Snapdragon 8 Elite แบต 6150mAh รองรับ 120W FlashCharge พร้อม Bypass Charging
รีวิว HONOR 200 Smart 5G คุ้มค่าเกินราคา สุดยอดสมาร์ทโฟนสำหรับคนชอบลุย
Infinix ปล่อยเซอร์ไพรส์ HOT 50 Pro+ Series สีสันพิเศษ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุข
เตรียมเปิดตัว HUAWEI MatePad 12 X แท็บเล็ตฟังก์ชันเรือธง ผสานการทำงานกับอุปกรณ์เสริมอย่างไร้รอยต่อ
iQOO 13 5G เจ้าของความแรง Snapdragon Elite 8 + RAM สูงสุด 16GB เคาะราคาในไทย 27,900 เท่านั้น
HONOR X9c Smart สมาร์ทโฟนกล้องหลังคู่ 108MP ชิปเซ็ต Dimensity 7025-Ultra
ทำความรู้จัก HONOR 200 Smart 5G หน้าจอ 120Hz ทนน้ำทนฝุ่น IP64 กล้องหลัง 50MP AI Motion Sensing
OPPO Reno 13 Series ชิปเซ็ต Dimensity 8350 กันน้ำกันฝุ่น IP69 และชาร์จเร็ว 80W!
OPPO Enco Air4 และ OPPO Pad 3 Pro คู่หูอุปกรณ์ IoT สุดล้ำที่พร้อมตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์
iQOO 13 5G ขุมพลัง Snapdragon 8 Elite แบต 6150mAh รองรับ 120W FlashCharge พร้อม Bypass Charging