www.siamphone.com
เข้าสู่ยุคที่การฟังเพลงนั้น กลายเป็นเทรนด์หรือกระแสไปเเล้ว บางคนแค่ได้ยิน หรือเห็นคำว่า Hi-res บน Music Streaming แอปฯที่ตัวเองฟังอยู่ สมองก็สั่งการให้มองว่าเพราะไปเสียทุกเพลง
แต่เอาเข้าจริงๆ เพลงที่เราฟังอยู่นั้นเป็น Hi-res จริงๆ หรือ ต้องเป็นเสียง หรือย่านความถี่แบบไหน ถึงจะเรียกว่า Hi-res ได้ วันนี้เราลองมาดูกัน
Lossless Audio Format คือ รูปแบบไฟล์เสียงที่ถูกบีบอัดเล็กน้อย แต่ยังคงไว้ซึ่งข้อมูลของไฟล์ต้นฉบับจากผู้สร้างแบบเหมือนเดิมทุกประการ โดยที่ไม่ลดทอนความละเอียด หรือข้อมูลของไฟล์ลงเลยแม้แต่น้อย แบบที่เรียกว่า High-resolution หรือ Hi-res ที่เราคุ้นหูนั่นเอง
ซึ่งนามสกุลไฟล์ในตระกูล Lossless Format แบบคร่าวๆ ก็อย่างเช่น FLAC (Free Lossless Audio Codec) , ALAC (Apple Lossless) เเละ WAVE เป็นต้น
Lossless Format นิยมใช้ในอุตสาหกรรมดนตรีใหญ่ๆ อย่างค่ายเพลง หรือการทำเพลง/ดนตรีประกอบภาพยนตร์ ที่ต้องใช้กระบวนการผลิตแบบ Professional หรือในกลุ่มนักฟังเพลงที่ชื่นชอบการเสพอารมณ์ดนตรีแบบต้นฉบับทุกประการ เป็นต้น
แต่! ต้องบอกก่อนว่า Lossless Format นั้น ปัจจุบันยังไม่มีหูฟังไร้สายตัวใดเลยที่รองรับ ไม่แม้กระทั่ง AirPods Max ของ Apple ที่ราคาเกือบ 20,000 บาทด้วย ต้องฟังผ่านหูฟังที่มีสายและรองรับระบบ Hi-res เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับและสามารถส่งคลื่นเสียงแบบ Hi-res โดยตรงเท่านั้น
นั่นหมายความว่า ต่อให้เราจะ Stream เพลงดังกล่าวบนแพลตฟอร์ม หรืออุปกรณ์ที่บอกว่ารองรับ Hi-res แต่ถ้าฟังผ่านหูฟังไร้สาย นั่นก็แปลว่า "เรายังได้ยินเสียงบนย่านความถี่แบบ Lossy อยู่เช่นเดิม"
ซึ่ง Lossy Audio Format คือ รูปแบบของไฟล์เสียงที่ถูกบีบอัด หรือถูกตัดข้อมูลบางส่วนออก เช่น ย่านความถี่ที่หูมนุษย์ได้ยินยาก เพื่อให้ไฟล์มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมมากกว่าครึ่ง เหตุผลคือเพื่อลดต้นทุนการจัดเก็บไฟล์ และเพื่อให้ง่ายและรวดเร็วต่อการ Streaming
และแน่นอน เมื่อไฟล์มีขนาดเล็กลง คุณภาพของไฟล์ก็จะลดลงตามไปด้วย รวมไปถึงสูญเสียย่านความถี่บางย่านไป แต่ก็แลกมากับความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการจัดเก็บและการเข้าถึง
นามสกุลไฟล์ในตระกูล Lossy Format ก็อย่างเช่น MP3 , AAC (Advanced Audio Codec) โดยเฉพาะไฟล์แบบ MP3 ที่ได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่ยุค 1980 และยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
นั่นเป็นเพราะความกะทัดรัดของชนิดไฟล์ รวมไปถึงการรองรับบนแทบจะทุกอุปกรณ์ และทุกซอฟต์แวร์การ Streaming ดนตรี นั่นเอง ส่วน AAC เปิดตัวภายหลัง MP3 เพื่อตอกย้ำความสำเร็จของ MP3 พร้อมทั้งคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น และ Bitrates ที่ต่ำลง
Lossy Format นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในแพลตฟอร์ม Music Streaming ทั่วไป ที่เน้นให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกับประสบการณ์ในการใช้งานที่รวดเร็ว ไหลลื่น หรือในกรณีการทำเพลงที่ผู้ผลิตมีข้อจำกัดในด้านพื้นที่การจัดเก็บ Lossy Format ยังให้คุณภาพเสียงในแบบที่ยอมรับได้ นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลหลักๆที่ Format ชนิดนี้เป็นที่นิยมในผู้ใช้หมู่มาก
เราสามารถฟังทั้งสอง Audio Format นี้ได้จากที่ใดบ้าง
Lossless Audio Format สามารถฟังได้ที่แพลตฟอร์ม Music Streaming อย่าง Tidal , Amazon HD , Deezer , Qobuz , Apple Music หรือบนอุปกรณ์สำหรับการ Streaming เพลงโดยตรงเลยอย่าง iPod หรือ Sony Walkman เป็นต้น
ส่วน Lossy Audio Format จะเจอได้จากแพลตฟอร์ม Music Streaming ทั่วไป อย่าง Spotify Free ,YouTube/YouTube Music , JOOX และ SoundCloud เป็นต้น
ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องบอกว่า รสนิยมการฟังเพลง เป็นรสนิยมส่วนบุคคล เราสามารถแนะนำ แต่ไม่สามารถชี้นำใครได้ว่า อันไหนดีกว่า และควรไปตัวไหนดี เราต้องลองด้วยตัวเอง ไม่แน่ เราอาจจะถูกใจใน Format แบบ Lossy มากกว่าแบบ Lossless ที่ดูเหมือนจะเพอร์เฟค ไร้ที่ติ ในสายตาของหลายๆ คน ก็เป็นได้
ที่มา : www.premiumbeat.com วันที่ : 31 มีนาคม 2566
เผยสเปค Infinix XPAD GT แท็บเล็ตเกมมิ่ง หน้าจอ 144Hz ขุมพลัง Snapdragon 8885 ชั่วโมงที่แล้ว
รุ่นไหนได้ไปต่อบ้าง! Samsung กำลังทดสอบ One UI 8 (Android 16) Galaxy S25 Ultra ใกล้พัฒนาเสร็จแล้ว7 ชั่วโมงที่แล้ว
Samsung โชว์ออฟใช้ฟังก์ชัน AI ในสมาร์ทโฟน Samsung Galaxy S25 คิดเมนูอาหารให้!!23 ชั่วโมงที่แล้ว
Sony เปิดตัวจอย DualSense ลาย Death Stranding 2 สุดลิมิเต็ด ราคาไทย 2,890 บาท เตรียมเปิดพรีออเดอร์ 22 พ.ค. นี้23 ชั่วโมงที่แล้ว
Titaner Dragon Pearl ปากกาที่ถูกพัฒนามาให้ใช้ได้ยันรุ่นพ่อรุ่นหลาน นาน 100 ปี!!11 พ.ค. 68 09:00
เปิดตัว HONOR X70i มาพร้อมชิปเซ็ต Dimensity 7025 Ultra และกล้องหลัง 108MP!
Samsung Galaxy M56 5G สมาร์ทโฟนบางสุดในรุ่น กล้องหลัง 3 ตัว 50MP กันสั่น OIS
vivo X200s สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ หน้าจอ 6.67 นิ้ว ชิปฯ Dimensity 9400+ พร้อมกล้องหลัง 3 ตัว 50MP
Sony รุ่น WF-C710N หูฟังไร้สายตัดเสียงรบกวนใหม่ล่าสุด ฟังก์ชันแน่น สีสันสุดคูล
เปรียบเทียบสองแท็บเล็ต Alldocube iPlay50 mini vs Alldocube iPlay60 Pad Pro ต่างกันอย่างไร