หมวดอื่นๆ (Other) | วันที่ : 11 กันยายน 2557
สำหรับการใช้งานสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตในปัจจุบัน เชื่อว่าหลายๆ คนคงกังวลกับปัญหาเรื่องความปลอดภัย และปัญหาความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะปัญหามัลแวร์ หรือการแฮ็กข้อมูล จากมิจฉาชีพ ซึ่งทำให้สุ่มเสี่ยงเกิดความเสียหาย เพราะอยู่ในยุคที่นิยมส่งข้อมูลสำคัญๆ รวมถึงการบันทึกข้อมูลต่างๆ อาทิ รหัสบัตรเครดิต อีเมลไว้ในโทรศัพท์ เพราะฉะนั้นเราจะดูแล และป้องกันสมารท์โฟนให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพเมื่อใช้งานได้อย่างไร....?
1. เริ่มกันที่วิธีแรกเป็นวิธีที่ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตทุกคนควรที่จะปฏิบัติไว้นั่นคือ การตั้ง Password สำหรับการล็อคเครื่อง เพราะว่าวิธีนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีเบื้องต้นในการป้องกันว่าจะมีแต่เราเท่านั้นที่จะสามารถใช้งานได้ อีกทั้งควรที่จะตั้ง Password ให้มีความคาดเดาได้ยาก
2. นอกจากการตั้ง Password สำหรับล็อคเครื่องแล้ว ควรที่จะตรวจสอบว่าสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตนั้นล็อคหน้าจออัตโนมัติหรือไม่ ซึ่งเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตั้งล็อคคือ 2 - 5 นาที
3. ติดตั้งแอพฯรักษาความปลอดภัย อาทิ แอพฯ ป้องกันมัลแวร์, แอพฯ ทำความสะอาดไฟล์แคช และลบประวัติการใช้งานเว็บบราวเซอร์ เป็นต้น
4. ดาวน์โหลดแอพฯ ที่ต้องการจาก OS Store ของตนเองโดยตรง นอกจากนี้หากควรจะสังเกตถึงที่มา, ผู้พัฒนา, รีวิวจากผู้ใช้งาน รวมถึงเสริท์ชื่อแอพฯ อีกหนึ่งครั้ง เพื่อตรวจดูว่าในชื่อนี้มีกี่แอพฯ และมีผู้พัฒนาเป็นใครบ้าง (วิธีสังเกตแอพฯ ปลอมอ่านบทความได้ที่นี่)
5. อัพเดท OS ของตนเองอยู่ตลอดเวลา เพราะหลายๆ คนคงเคยได้ยินข่าวว่า OS ที่บริษัทต่างๆ ได้พัฒนามาในแต่ละเวอร์ชั่น ได้ถูกแฮกเกอร์แฮกข้อมูล หรือฝังมัลแวร์ไว้ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรมั่นตรวจสอบข่าวสารการอัพเดทอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัย และปรับปรุงการทำงานของสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ระมัดระวังอีเมล หรือข้อความใดๆ ที่ไม่รู้จักแหล่งที่มา นอกจากนี้บางข้อความยังมีลิงค์ที่เชิญชวนให้กดเปิดอ่าน อาทิ คุณได้รับรางวัล, คุณมีเช็คที่ยังไม่ได้รับ กรุณากรอกรหัสบัญชี เป็นต้น นอกจากผู้ใช้งานควรมั่นตรวจสอบค่าบริการโทรศัพท์ของตนเองอยู่เสมอ ว่ามีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่ และถ้าหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบแจ้งผู้ให้บริการเครือข่ายโดยเร็ว
7. หลีกเลี่ยงการเจลเบรก (Jailbreak) เพราะเมื่อเจลเบรกไปแล้ว ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยต่างๆ จะถูกยกเลิก ซึ่งการเจลเบรกจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบปฏิบัติการ รวมถึงฟังก์ชั่น แอพฯต่างๆ ได้โดยตรง ดังนั้นหากผู้ใช้งานไม่มีความรู้ที่เพียงพอจะทำให้สุ่มเสี่ยมเกิดความเสียหายตามมาภายหลังได้
8. หลีกเลี่ยงการตั้งค่าการเชื่อมต่ออัตโนมัติทุกประเภท เช่น Bluetooth, Wi-Fi, NFC และควรที่จะปิดการเชื่อมต่อทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน อย่างไรก็ตามเมื่อต้องการจะเชื่อมต่อสัญญาณ Wi-Fi ผู้ใช้งานควรคำนึงถึงเสมอว่าเครือข่ายสาธารณะ มักไม่มีการป้องกัน และมาตราฐานความปลอดภัยที่มากพอ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินด้วย Wi-Fi (อ่านบทความได้ที่นี่)
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
ที่มา : nakedsecurity.sophos.com วันที่ : 11 กันยายน 2557
vivo X200 FE เปิดตัวในไทย เครื่องเล็กจับใช้งาน พร้อมกล้อง ZEISS ทุกตัว
รีวิว vivo X200 FE สมาร์ตโฟนไซส์กะทัดรัด ประสิทธิภาพระดับโปร
POCO F7 สมาร์ทโฟนพลังเหนือชั้นในดีไซน์ล้ำสมัย ในราคาพิเศษเริ่มต้น 13,xxx
TECNO Spark 40 สมาร์ทโฟนดีไซน์สวยล้ำ จอ 120Hz แบตฯ 5,200mAh ในราคาแค่ 3,3xx บาท
realme C75X สมาร์ทโฟนกันน้ำ IP69 ปรับราคาสุดคุ้มเหลือเพียง 4,599 บาท
realme 15 Pro 5G เตรียมเขย่าวงการ สมาร์ทโฟน AI สุดล้ำ จ่อเปิดตัวในอินเดีย เดือนกรกฎาคมนี้
TCL เปิดตัว NXTPAPER 11 Plus แท็บเล็ตจอใหญ่ 11 นิ้ว ถนอมสายตา ในราคาต่ำหมื่น
HONOR X6c สมาร์ทโฟนบัดเจ็ท แต่มาพร้อมจอลื่นๆ 120Hz ได้กล้องหลังคมชัด 50MP
vivo X200 FE สมาร์ทโฟนไซต์ Compact สเปคแรง ได้กล้องสวยๆ แบบฉบับ ZEISS
HUAWEI Pura 80 Ultra กล้องอย่างว้าว ซูม Optical ระยะ 3.7 กับ 9.4 เท่า ด้วยการสลับเลนส์
รีวิว vivo X200 FE สมาร์ตโฟนไซส์กะทัดรัด ประสิทธิภาพระดับโปร16 ชั่วโมงที่แล้ว
POCO F7 สมาร์ทโฟนพลังเหนือชั้นในดีไซน์ล้ำสมัย ในราคาพิเศษเริ่มต้น 13,xxx19 ชั่วโมงที่แล้ว