สมาร์ทโฟน (Smartphone) | วันที่ : 27 มิถุนายน 2559
ต้องบอกว่าเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสมาร์ทโฟนจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารยุคการติดต่อสื่อสารไร้สายเจนเนอเรชั่นที่ 5 หรือแม้แต่ที่บางผู้ผลิตได้ยกเลิกการใช้พอร์ตหูฟังขนาด 3.5 มม. แล้วหันไปใช้พอร์ต USB Type-C แทนรวมถึงเมื่อช่วงต้นปี vivo สร้างสถิติโลกเปิดตัวสมาร์ทโฟน Ram 6GB และหลังจากนั้นก็มีแบรนด์อื่นเปิดตัวตามมาอีกไม่น้อย อย่างไรก็ตามเรามาลองแชร์ความคิดเห็นกันหน่อย ในหัวข้อที่ไหนๆ ก็มาถึง 6GB ทำไมไม่ 8GB ไปเลย หรือว่าให้พัฒนาแบตเตอรี่ถึกทนกว่านี้เถอะ เรามาแชร์ความคิดเห็นกันครับ
หมายเหตุ : หากใครสงสัยว่าทำไมถึงอยู่ดีๆ มาถกประเด็นสมาร์ทโฟน Ram 8GB ผู้เขียนนำเรื่องราวมาจากข่าวลือของ : ลือ LeEco Le Max 2 รุ่นอัพเกรด จะมาพร้อม Snapdragon 821 และ RAM 8GB !!!
โดยส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าโลกของสมาร์ทโฟนนั้นมาเร็วไปเร็วอะไรที่คิดว่าใหม่บางทีเวลาผ่านไปอีกหน่อยก็ไม่ใช่เรื่องว้าวแล้ว ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใดอันโดดเด่นสักแค่ไหน ที่ช่วยอำนวยความสะดวก หรือเพิ่มทางเลือกใหม่ในการใช้งาน ก็ไม่มีประโยชน์เนื่องจากกินพลังงานจากแบตเตอรี่สูง หรือยิ่งชาร์จยิ่งเสื่อมลง เป็นต้น เพราะปัจจัยที่ทำให้สมาร์ทโฟนใช้งานได้ นั่นก็คือแบตเตอรี่ครับ
แบตเตอรี่มีหลักการทำงานอย่างไร (มีคำบรรยายภาษาไทย)....?
ขอบคุณคลิปวิดีโอจาก TED-Ed
เพราะฉะนั้นผู้ผลิตจึงควรเพิ่มศักยภาพแบตเตอรี่ให้ดีกว่าปัจจุบันแม้ว่าจะมีจุดเด่นอะไรต่างๆ มากมาย หากแบตเตอรี่หมดก็ไม่สามารถใช้งานได้อยู่ดีจำต้องพึ่งพาวเวอร์แบงค์กันเสมอ ถ้าพก 10,000 mAh ก็หนักอีก ราคาก็สูงเช่นกัน ดังนั้นดีกว่าไหมทลายข้อจำกัดนี้ได้ แบตเตอรี่จะไม่ต้องหมดไวและเสื่อมสภาพลงจากการชาร์จไม่ถึง 100 ครั้ง
อย่างไรก็ดีในส่วนของแบตเตอรี่สมาร์ทโฟน ก็ยังไม่มีข่าวคราวล่าสุดมาอัพเดทมากครับซึ่งอย่างที่ทุกคนเคยอ่านกันว่าแบตเตอรี่นั้นสามารถชาร์จเร็วบ้าง แต่แก้ไขปัญหาปลายเหตุและเพื่อตอบโจทย์ชีวิตที่เร่งรีบเท่านั้น หรือแม้แต่การชาร์จด้วยแสงอาทิตย์ โดยทุกเรื่องราวก็มีแต่เรื่องเดิมๆ ทว่าเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาผู้เขียนเจอบทความหนึ่งของเว็บไซต์ pocket-lint.com ที่รวบรวมข่าวสารการพัฒนาของแบตเตอรี่ ต้องบอกว่าแต่ละอย่างน่าสนใจมากครับเลยขอนำมาเล่าสู่กันฟัง
ใกล้หมดยุคแบตเตอรี่ประเภท lithium-ion เข้าสู่ lithium-air หรืออีกชื่อlithium-oxygen
อย่างที่ทุกคนทราบแบตเตอรี่ประเภท lithium-air กลายเป็นทางเลือกใหม่น่าสนใจไม่น้อยเลย ซึ่งมีนํ้าหนักน้อย พลังงานมากกว่าแบตประเภทเดิมที่ใช้กันเพรามีความหนาแน่นสูง ด้านต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า หลักการทำงานคือใช้ก๊าซออกซิเจนที่อยู่รอบตัวเรา มาทำปฏิกริยาเคมีเพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้า ซึ่งพลังงานที่ได้สามารถเทียบเคียงพลังงานที่ได้จากน้ำมันเบนซินเลย
อย่างไรก็ดีแบตเตอรี่ประเภทดังกล่าว (lithium-air) ก็มีทีมนักวิจัยจากมหาวิยาลัยดัลลัส นำทีมโดย ดร. Kyeongjae Cho ค้นพบตัวเร่งปฏิกิริยาใหม่ และเมื่อรวมกับอิเล็กโทรไลท์ภายในแบตเตอรี่ ส่งผลให้สามารถเพิ่มความจุขึ้น 10 เท่า นํ้าหนักน้อยกว่าเดิม 5 เท่า เมื่อนำไปใส่เป็นแบตเตอรี่ให้รถยนต์จะวิ่งได้ไกลถึง 400 mile หรือประมาณ 643 กิโลเมตรเลยทีเดียว ทว่ากว่าจะใช้งานได้จริงกินระยะเวลาอีก 10 ปีเลยในการนำมาใช้เชิงพาณิชย์
หมายเหตุ : ขอขอบคุณข้อมูลจาก utdallas.edu
แค่ปลูกต้นไม้ก็สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้แล้ว แต่ไม่ควรชาร์จตอนรดนํ้าต้นไม้เสร็จนะ
ทางเลือกพลังงานสีเขียว โดยผลงานดังกล่าวมีชื่อว่า Bioo Plant Charger ซึ่งหลักการทำงาน คือใช้การสังเคราะห์แสงของต้นไม้มาสร้างกระแสไฟฟ้าด้วยกลไกที่อยู่ใต้ต้นไม้ ต้นทุนของกระบวนการนี้จึงมีเพียงต้นไม้ น้ำ และดินเท่านั้น ส่วนการชาร์จต่อหนึ่งวันได้แค่ 2 ถึง 3 เครื่องเท่านั้น
พวกเราเริ่มชาร์จแบตเตอรี่ซํ้าไปซํ้ามา จนไม่รู้สึกว่าเสื่อมสภาพลงเลย ?
ไม่เสื่อมสภาพลงเลย แค่คำนี้ก็ร้องว้าวแล้วครับ เพราะผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน ก็จะต้องพบเจอปัญหาแบตเตอรี่หมดไวทั้งที่เพิ่งชาร์จมาเท่านั้น จึงจะขอพาไปทำความรู้จักเทคโนโลยีดังกล่าวที่เกิดขึ้นเพราะความบังเอิญ
กล่าวคือ ทีมมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียกำลังวิจัยแบตเตอรี่ Lithium-ion ที่ไม่ต้องอาศัยของเหลวในการชาร์จประจุ เพื่อแก้ปัญหาการเก็บและขนส่งแบตเตอรี่ เนื่องจากมีของเหลวเป็นส่วนประกอบทำให้แบตเตอรี่ไวต่ออุณหภูมิและเปลวไฟ โดยใช้เจลอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte Gel) แทนน้ำและใช้เส้นลวดนาโนทองคำ (Gold Nanowires) การนำทองคำมาเคลือบอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของลวดนาโน ไม่ให้ขาดง่ายและเสียคุณสมบัติเก็บประจุไฟฟ้า จากนั้นก็เคลือบด้วยสารแมงกานีสไดออกไซด์ แทนที่ Lithium ในการกักเก็บพลังงานไฟฟ้า
ทดลองโดยการชาร์จ 200,000 ครั้ง ในระยะเวลา 3 เดือนผลปรากฏว่ามีการสูญเสียพลังงานเล็กน้อย แต่แบตเตอรี่ดังกล่าวก็ยังไม่เป็นแบตฯ ที่แท้จริงเพราะยังไม่มีขั้วบวกขั้วลบ แค่ใช้เทคนิคการเชื่อมขั้วหนึ่งเข้าด้วยกัน แต่ข้อเสียคือเนื่องจากค้นพบด้วยความบังเอิญจึงทำให้ไม่รู้หลักการทำงานอย่างครบวงจร อีกทั้งทองยังมีราคาแพงจึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย
ต่อไปนี้ชาร์จสมาร์ทโฟนแค่อาทิตล์ละหนึ่งครั้งก็เพียงพอแล้ว
พลังงานที่ว่านี้เป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Pohang University of Science and Technology ซึ่งนำเชื้อเพลิงออกไซด์แบบแข็ง (Solid Oxide Fuel Cell) มาเป็นแหล่งพลังงาน ก็สามารถให้พลังงานมากกว่า lithium-ion และยังคงทนกว่าด้วยในด้านประจุไฟฟ้า ทำให้สมาร์ทโฟนจะชาร์จแบตฯ เพียงหนึ่งครั้งต่อาทิตย์ และโดรนก็ใช้งานได้มากชั่วโมงขึ้น แถมยังมีข่าวลือว่าอาจพบกับแบตฯ ดังกล่าวใน Samsung Galaxy S8 ด้วย จริงหรือไม่ต้องติดตามกันต่อไปครับ
ไม่ต้องรอนานเป็นชั่วโมงแล้ว เพราะแค่หนึ่งนาที แบตเตอรี่ก็เต็ม
ถึงแม้จะหนึ่งนาทีแต่ก็ต้องดูปัจจัยประกอบอื่นๆ ด้วยครับเช่น ความจุของแบตเตอรี่หรือกำลังชาร์จไฟ เป็นต้น โดยผลงานนี้เป็นของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดประเทศสหรัฐอเมริกา ที่พัฒนา แบตเตอรี่อลูมิเนียม-ไอออน (Aliuminium-Ion) แบบใหม่ ต้นทุนถูกและปลอดภัยกว่า กว่าแบตเตอรี่ประเภทลิเธียม-ไอออน (Lithium-Ion) เช่น แบตเตอรี่อลูมิเนียม-ไอออนแม้จะโดนเจาะเข้าตรงกลางจนทะลุก็ไม่เกิดไฟลุกไหม้ และยังทนต่อการบิดงอ ทำให้มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในสมาร์ทโฟนจำพวกโค้งงอได้ (Flexible Smartphone)
ส่วนขั้วของแบตเตอรี่ทำจากอลูมิเนียมกับแกรไฟต์ (Graphite) จากการทดสอบพบว่าแบตเตอรี่อลูมิเนียม-ไอออนก็มีรอบการใช้งาน (Charge Cycle) มากถึง 7,500 รอบโดยที่ไม่สูญเสียปริมาณความจุของแบตเตอรี่เลย
จุเพิ่มได้มากขึ้น 3 เท่า ใช้ระยะเวลาชาร์จ 6 นาทีเต็ม...
สำหรับงานวิจัยดังกล่าวเป็นของ MIT ร่วมกับมหาวิทยาลัยชิงหัว ประเทศจีน ด้วยการนำหลักการของสร้างขั้วไฟฟ้าจากอนุภาคนาโน (Nanoparticles) และมีลักษณะโครงสร้างเหมือนกับไข่ คือ มีขั้วบวกที่เป็นเปลือกหุ้มขั้วลบอยู่ ทีมวิจัยเรียกว่าเปลือกแข็งและไข่แดง (solid shell-and-yolk) ส่งผลให้ถึงแม้ภายในจะเปลี่ยนแปลงขนาดไหน ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อขั้วบวก ทำให้เพิ่ม Cycle life หรือวงจรการชาร์จได้นานขึ้น เช่นเดียวกับความจุและพลังงาน
นํ้าค้างก็ชาร์จแบตเตอรี่ได้นะ และเกิดขึ้นเพราะความบังเอิญอีกเช่นกัน
ความบังเอิญดังกล่าวเกิดขึ้นจากงานวิจัย MIT ที่จะหาประโยชน์จาก การประยุกต์ใช้ปรากฏการณ์การควบแน่นของไอน้ำในอากาศมาผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจ่ายพลังงานให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
โดยขณะนั้นทีมงานกำลังศึกษา และปรับปรุงวัสดุที่มีพื้นผิวที่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี เพื่อใช้กับตัวเร่งควบแน่นในกระบวนการอุตสาหกรรม ด้วยแผ่นทองแดงที่ผ่านขั้นตอนทำผิวแบบพิเศษ เพื่อลดการเกาะผิวของหยดน้ำ และทำเป็นชุดแผ่นระบายความร้อน ซึ่งแผ่นดังกล่าวถูกวางชิดกัน และพบว่าหยดน้ำที่ควบแน่นบนผิวแผ่นทองแดงสามารถจะโดดข้ามจากแผ่นหนึ่งไปอีกแผ่นหนึ่ง
อธิบายได้ว่า เมื่อมีความร้อนระหว่างการควบแน่น พลังงานส่วนหนึ่งกับพลังงานพันธะ ภายในหยดน้ำที่สร้างแรงตึงผิวบางส่วนถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ และหากพลังงานจลน์มีมากพอ ก็สามารถทำให้หยดน้ำกระโดดไปหาหยดข้างเคียงกัน เพื่อรวมตัวให้ใหญ่ขึ้น ประเด็นสำคัญคือการกระโดดของหยดน้ำที่นำประจุไฟฟ้าแผ่นหนึ่งไปอีกแผ่นหนึ่ง ส่งผลให้มีการถ่ายเทประจุกลายเป็นกระแสไฟฟ้า
อย่างไรก็ดีการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเทคนิคนี้ ข้อจำกัดคือกำลังไฟที่ได้มีพลังงงานน้อยอยู่มาก โดยทดสอบด้วยคู่แผ่นทองแดง 1 ตร.ซม ให้พลังงาน 15 pW เท่านั้น และเมื่อปรับแต่งอุปกรณ์กำลังงานดีขึ้นก็ยังคงได้ค่าเพียง 1 uW (ต่อแผ่นทองแดง 1 ตารางเซนติเมตร)
โดยทีมงานยกตัวอย่าง หากใช้คู่แผ่นทองแดงขนาดกว้างและยาว 50 เซนติเมตร จะต้องใช้เวลา 12 ชั่วโมงสามารถสร้างกระแสไฟฟ้า เพื่อชาร์จไฟให้สมาร์ทโฟนจนเต็ม (ไม่ได้กล่าวว่าความจุแบตเตอรี่เท่าใด)
คงต้องบอกว่านี่ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ผู้เขียนคิดว่าน่าจะมีข้อจำกัดอยู่มาก แต่เมื่อมองถึงประโยชน์ก็น่าสนใจไม่น้อย ถ้าเราต้องไปอยู่ในพื้นที่ในป่า ก็สามารถใช้เทคนิคดังกล่าวชาร์จแบตฯ ได้โดยสะดวก แต่ต้องดูด้วยครับว่าอุปกรณ์ชาร์จนั้นเป็นอย่างไร
สุดท้ายดูเหมือนอะไรๆ ก็สามารถถูกหยิบยกมาเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ หรือเสริมประสิทธิภาพเช่นการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน, การใช้เสียงเพื่อชาร์จ, การใช้นํ้าค้างเพื่อเป็นแหล่งพลังงาน หรือแม้แต่โซเดียม หรือเหมือนรูปด้านบนที่สมาร์ทโฟนวางอยู่บนทราย กับรูปด้านล่างที่ใช้เสียงที่เกิดขึ้นรอบตัว มาชาร์จแบตเตอรี่ได้ คงต้องบอกว่าเหลือเพียงความสำเร็จเท่านั้นดังนั้นเราต้องติดตามกันไปครับ โดยผู้เขียนคาดว่าไม่นานมีข่าวดีแน่นอน เนื่องจากทุกทรัพยากรก็มีเพรียบพร้อม เหลือเพียงหนทางสู่ความสำเร็จ
คนอื่นคิดอย่างไรบ้างครับ เราควรมีสมาร์ทโฟน Ram 8GB หรือถึงเวลาแล้วที่ต้องพัฒนาแบตเตอรี่ให้ออกมาใช้งานเชิงพาณิชย์เสียที และถ้าใครมีความคิดเห็นต่างลองแชร์ไอเดียกันว่าโลกของสมาร์ทโฟนควรจะมีอะไรอีกบ้าง พร้อมบอกเหตุผลประกอบสักหน่อย.....อ่านเรื่องราวอื่นๆ
ทำนายเบอร์มือถือ เบอร์สวย เบอร์มงคล
รับซื้อมือถือ รับเครื่องถึงบ้าน
บูลอาเมอร์ ฟิล์มกระจกกันรอยมือถือ
วันที่ : 27 มิถุนายน 2559
รีวิว vivo X200 Series สายคอนเสิร์ตต้องโดน ซูมชัดเหมือนติดขอบเวที
พรีวิว vivo X200 Series สมาร์ตโฟนกล้อง ZEISS หน้าจอเรียบเนียน แต่แอบโค้งนิดหน่อย 4 มุม
vivo Y300 5G หน้าจอ AMOLED-120Hz ทนน้ำทนฝุ่น IP64 ชาร์จเร็ว 80W ลำโพง Hi-Res
vivo Y200 5G สมาร์ทโฟนน้องเล็กสายแกร่ง พร้อมท้าทุกการใช้งาน ยาวนาน 4 ปีเต็ม
vivo X200 Series เตรียมพาชาวไทยบันทึกทุกเรื่องราวให้ ‘ชัด’ กว่าที่เคยผ่านเลนส์ ZEISS เร็วๆ นี้
OPPO Find X8 Series สมาร์ทโฟนแฟลกชิปพลัง AI ซูมไกล 120 เท่า ด้วย AI Telescope Zoom
iQOO 13 5G ขุมพลัง Snapdragon 8 Elite แบต 6150mAh รองรับ 120W FlashCharge พร้อม Bypass Charging
ทำความรู้จัก HONOR 200 Smart 5G หน้าจอ 120Hz ทนน้ำทนฝุ่น IP64 กล้องหลัง 50MP AI Motion Sensing
Motorola ก้าวสู่ยุคใหม่แห่ง AI ด้วย Moto AI และ Smart Connect
iQOO 13 5G เจ้าของความแรง Snapdragon Elite 8 + RAM สูงสุด 16GB เคาะราคาในไทย 27,900 เท่านั้น
รีวิว HONOR 200 Smart 5G คุ้มค่าเกินราคา สุดยอดสมาร์ทโฟนสำหรับคนชอบลุย12 ชั่วโมงที่แล้ว